xs
xsm
sm
md
lg

บางจากศึกษาโอกาสลงทุนSMR รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้ายุค AI

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



บางจากฯสั่งบริษัทลูก BCPG เร่งศึกษาความเป็นไปได้และหาโอกาสการลงทุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของ AI ยอมรับโลกยุคAI แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านพลังงานทำได้ยากขึ้น เนื่องจากAI มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมหาศาล 
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (BCP) กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ “AI, Energy and Environment” ในงาน Greenovative Forum ครั้งที่ 14 "Crafting Tomorrow's Future with Sustainable Energy and AI"ว่า ในช่วง2ปีที่ผ่านมา การก้าวสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI)ในช่วง 2ปีนี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาซับซ้อนและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้มีอย่างแม่นยำและรวดเร็ว ทำให้การทำงานและการใช้ชีวิตง่ายขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว แต่ก็ต้องแลกกับการใช้ทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น โดยAI ต้องการใช้ไฟฟ้ามากเฉลี่ย 300-1,000เมกะวัตต์ขณะที่Data Center (Cloud) มีการใช้ไฟฟ้า 30-100เมกะวัตต์ ขณะเดียวกันก็ต้องการใช้น้ำเพื่อการหล่อเย็นให้อุปกรณ์ด้วย

ดังนั้น ยิ่งโลกมีการใช้AI เพิ่มมากขึ้น ทำให้การเปลี่ยนผ่านพลังงาน(Energy Transition)ทำได้ยากขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานที่มากขึ้น กลายเป็น Energy Additionalแทน

สำหรับเชื้อเพลิงที่มาตอบโจทย์ การใช้พลังงาน AI นั้น พบว่าในช่วง 3เดือนที่ผ่าน บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google Microsoft และAmazon ได้ลงทุนซื้อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้พลังงานสะอาดที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการใช้เงินมากกว่าแผนที่วางไว้ถึง3เท่า

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้กลุ่มบางจากเริ่มทดลองนำAIใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้นและต่อยอด ทำให้การทำงานได้ง่ายขึ้น โดย AI จะสร้างประโยชน์เป็นอย่างมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและร่นระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ช่วยวางอผนเข้าสูาNet Zeroง่ายขึ้น แต่กระบวนการพัฒนาและใช้งาน AI ต้องการพลังงานมหาศาลเช่นกัน ส่งผลต่อการใช้น้ำและพลังงาน ทำให้ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติมากขึ้นรวมถึงพลังงานนิวเคลียร์ที่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกรวมถึงแนะนำแนวคิดเรื่อง DNA Data Storage ซึ่งเป็นการปฏิวัติระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เพียงแต่มีความกะทัดรัดและทนทานสูง แต่ยังช่วยลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิม

ขณะเดียวกันการพัฒนาและยกระดับความสามารถของมนุษย์ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี ก็เป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องหาจุดร่วมที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนและเสริมสร้างประโยชน์ซึ่งกันและกัน

อย่างไรก็ดี พบว่าบางประเทศมีการลงทุนData Centerเพิ่มขึ้น ทำให้เริ่มมีปัญหาไฟฟ้าตึงตัว จนต้องหันกลับมาผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์อีกครั้ง ดังนั้น บางจากเห็นโอกาสทางธุรกิจ และระหว่างการศึกษาความเป็นไปในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) โดยให้บริษัทลูก คือ BCPG ศึกษารายละเอียดและโอกาสการลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพและความต้องการใช้ไฟฟ้าสะอาดสูงเพื่อซัพพอร์ตธุรกิจData Center (AI)
 


นายชัยวัฒน์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการผลิตน้ำมันอากาศยานยั่งยืน(SAF)ว่า โครงการผลิตSAFจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส2/2568 เบื้องต้นบริษัท มีการทำสัญญาขายน้ำมันSAFแล้ว 70-80%ของกำลังการผลิตที่ 1ล้านลิตรต่อวัน ส่วนที่เหลือจะส่งออก ขณะที่ราคาSAFผันผวนเหมือนราคาน้ำมัน

นางสาวชญานิศ โควาวิสารัช Senior Consultant, Net Zero, ERM (สหราชอาณาจักร) ว่า AI มีศักยภาพอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ และสามารถช่วยแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ตั้งแต่ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นการกำกับดูแลที่เป็นระบบและการวางแผนกลยุทธ์อย่างเร่งด่วนจึงมีความสำคัญ เพื่อให้การพัฒนา AI เป็นไปอย่างยั่งยืนและเหมาะสม

ในงาน Greenovative Forum ครั้งที่ 14 "Crafting Tomorrow's Future with Sustainable Energy and AI" มีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและความรู้เกี่ยวกับบทบาทสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการสร้างอนาคตที่เป็นมิตรกับการจัดการด้านพลังงาน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน 
มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 600 คน
กำลังโหลดความคิดเห็น