xs
xsm
sm
md
lg

KTAM บุกหุ้นนอกตลาด เปิดกอง “KT-GPEQ-UI”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTAM)เปิดเผยว่า ปัจจุบันกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่มีรายได้เกิน 100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และอยู่ในตลาดหลักทรัพย์มีไม่ถึง 15% ของจำนวนบริษัททั้งหมด แสดงให้เห็นว่าอีกประมาณ 85% ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ คือโอกาสการลงทุนใน Private Equity ที่กว้างมากกว่า และอาจสามารถสร้างโอกาสการเติบโตได้มากขึ้น นอกจากนั้น ขนาดของสินทรัพย์นอกตลาด ยังถือว่ามีขนาดเล็กกว่าสินทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายเท่าตัว ซึ่งมีโอกาสที่ขนาดของสินทรัพย์นอกตลาดจะโตได้มากขึ้นในอนาคต เราจึงได้เปิดเสนอขาย กองทุนเปิดเคแทม โกลบอลไพรเวทอิควิตี้ ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KT-GPEQ-UI) โดยเสนอขายครั้งแรกระหว่างวันที่ 1 – 16 ต.ค. นี้ ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท

นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชันพิเศษสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนช่วง IPO โดยการลงทุนทุก 1 ล้านบาท จะได้รับหน่วยลงทุน KTSTPLUS-A มูลค่า 700 บาท (ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด) พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมการขายพิเศษสำหรับยอดเงินลงทุน โดยแบ่งเป็น เงินลงทุนต่ำกว่า 5 ล้านบาท/รายการ เรียกเก็บ 1.50% เงินลงทุนตั้งแต่ 5 - 20ล้านบาท/รายการ เรียกเก็บ 1% และเงินลงทุนตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป เรียกเก็บ 0.75%

Private Equity เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกชนิดหนึ่ง ที่กองทุนและนักลงทุนจะเข้าไปซื้อหุ้นในธุรกิจที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ โดยข้อดีของ Private Equity จะเป็นการลงทุนที่เข้าไปหาโอกาสการเติบโตของกลุ่มธุรกิจที่ยังไม่ได้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่กว้างกว่าการลงทุนเพียงแค่หุ้นในตลาดหลักทรัพย์อย่างมาก และลงทุนผ่านพอร์ตโฟลิโอที่บริหารแบบเชิงรุกโดยที่เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทที่เข้าไปลงทุน และทำการขายออกในราคาที่สูงกว่าเดิมโดยจะเน้นการลงทุนในระยะยาวเป็นหลัก

สำหรับกองทุน KT-GPEQ-UI (ความเสี่ยงระดับ 8+) เป็นกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น และเป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ EQT Nexus Fund SICAV - ENXF SICAV - I, Class I EUR-Z (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV โดยกองทุนหลักจะ มุ่งสร้างผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงจากการเติบโตของเงินลงทุนในระยะปานกลางถึงระยะยาว โดยเน้นลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด ผ่านการลงทุนในกองทุนที่ถูกจัดตั้งมาแล้วหรือกำลังจะจัดตั้งในอนาคต โดยมุ่งเน้นในกองทุนที่เป็น flagship ที่ EQT เป็นผู้บริหาร ผู้ให้คำแนะนำ และผู้ดำเนินการ ซึ่งจะมีการกระจายตัวทั้งประเภทของกลยุทธ์และอายุโครงการของกองทุน

โดย EQT ซึ่งทำหน้าที่เป็น General Partner หรือผู้บริหาร EQT Nexus (กองทุนหลัก) มีผลงานที่แสดงถึงความสำเร็จในการพัฒนาบริษัททั่วทุกมุมโลก ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม โดย EQT ก่อตั้งในปี 1994 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวีเดน และมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการมูลค่ากว่า 242,000 พันล้านยูโร ซึ่งนับว่าติด 3 อันดับแรกของบริษัท Private Equity ที่ใหญ่ที่สุดทั่วโลก และเป็นบริษัทด้าน Private Equity ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

กองทุนหลักของ KT-GPEQ-UI มีวิธีการสร้างพอร์ตโฟลิโอโดยผ่าน 4 คุณลักษณะ ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์ โดยใช้ประโยชน์จากโอกาสทั่วทุกระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์นอกตลาด 2) ภูมิศาสตร์ ด้วยการวางน้ำหนักหลักในกลุ่มตลาดพัฒนาแล้ว (DM) โดยเอนไปทางฝั่งอเมริกาเหนือ และอาจเข้าถึงฝั่งตลาดกำลังพัฒนา (EM) ตามจังหวะและโอกาส 3) อุตสาหกรรม มุ่งเน้นกระจายน้ำหนักในอุตสาหกรรมหลักๆ รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีทิศทางการเติบโตเป็นการเฉพาะ และ 4) ปีที่กองทุนเริ่มลงทุน (Vintage Year) โดยจะกระจายการลงทุนทั่วทุกวัฏจักรของธุรกิจ ผ่านการลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรม ด้วยมุมมองระยะยาว (ที่มา: EQT Fund Management, as of December 2021)

“กองทุน KT-GPEQ-UI มีจุดเด่นที่สามารถสร้างโอกาสการเติบโตให้แก่พอร์ตการลงทุน จากการที่เข้าถึงการลงทุนในหุ้นนอกตลาดได้ง่าย โดยผ่านกองทุนที่บริหารโดย EQT ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในหุ้นนอกตลาด และการเข้าร่วมลงทุน ควบคู่กับกองทุนอื่นๆ ที่บริหารโดย EQTพร้อมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสที่มากขึ้น จากการลงทุนทั่วทุกภูมิภาคและอุตสาหกรรม รวมถึงกระจายตัวทั่วทุกประเภทของหุ้นนอกตลาด รวมถึงธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสสร้างมูลค่าระยะยาว จากการที่ EQT จะทำการเข้าซื้อกิจการและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อเข้าไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทเหล่านั้น โดยจะซื้อบริษัทที่ดี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาวต่อไป ดังนั้น กองทุน KT-GPEQ-UI จึงนับว่าเป็นอีกทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง และต้องการเพิ่มศักยภาพของผลตอบแทนให้กับพอร์ตโฟลิโอ” นางชวินดา กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น