xs
xsm
sm
md
lg

บลจ. ยูโอบีแนะกระจายการลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก เน้นกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



นางสาววรรณจันทร์ อึ้งถาวร รองกรรมการผู้จัดการ สายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด (บลจ. ยูโอบี) ได้ให้มุมมองว่า ภาพรวมเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี แม้ว่าเศรษฐกิจหลักของโลกอย่างสหรัฐฯ จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่การชะลอตัวลงดังกล่าวคาดว่าจะไม่รุนแรงถึงระดับภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง (Hard Landing) ทั้งนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มดำเนินการลดดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ก็จะช่วยคลายความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง เพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดทุนโดยรวม และทำให้สภาวะเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะสมดุลได้
สำหรับเศรษฐกิจของยุโรปมีการฟื้นตัวดีกว่าที่คาดไว้หลังจากประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยเล็กน้อย (Mild recession) โดยธนาคารกลางยุโรปมีการปรับดอกเบี้ยนโยบายลงหลังทิศทางเงินเฟ้อในยุโรปลดลง สำหรับมุมมองทิศทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศฝั่งเอเชีย ตัวเลขเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่ดีขึ้นและเริ่มส่งสัญญานฟื้นตัวโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จากภาครัฐตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ระดับราคาหุ้นเอเชียที่ยังไม่แพงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจต่อการลงทุนในภูมิภาคและอาจดึงดูดเม็ดเงินให้ไหลกลับสู่ตลาดเอเชียหากธนาคารกลางสหรัฐปรับดอกเบี้ยนโยบายลงและค่าเงินในภูมิภาคเอเชียมีเสถียรภาพมากขึ้น

บลจ.ยูโอบี คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่ำกว่าคาดและมีการฟื้นตัวที่ไม่ครอบคลุมทุกภาคเศรษฐกิจ โดยปัจจัยหลักที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยวซึ่งฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สูงขึ้น และการใช้จ่ายภาครัฐที่เริ่มเบิกจ่ายได้เพิ่มขึ้นหลังจากการผ่านงบประมาณประจำปี อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างที่เริ่มส่งสัญญาณในเชิงลบมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญการแข่งขันจากต่างประเทศที่มีความสามารถเชิงแข่งขันสูงกว่า และผลิตสินค้าได้สอดคล้องกับความต้องการในตลาดโลกมากกว่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคการส่งออก เศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงและการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยจำเป็นต้องปรับตัวอย่างเข้มข้นเพื่อพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับคืนมา ซึ่งกระบวนการปรับตัวนี้จำเป็นต้องใช้เวลา นอกจากนี้ภาคครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็กยังประสบปัญหาระดับหนี้สินอยู่ในระดับสูงและจำเป็นต้องลดระดับหนี้ลง จึงส่งผลกระทบให้กำลังซื้อเพื่อใช้จ่ายบริโภคอุปโภค รวมถึงการลงทุนลดลง ประกอบกับสถาบันการเงินเริ่มได้รับผลกระทบจากระดับหนี้เสีย Non-Performing Loan (NPL) ที่เพิ่มขึ้น จนจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการให้กู้ยืม ส่งผลให้ภาวะการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจขนาดกลาง-เล็กตึงตัวเพิ่มขึ้น

สำหรับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดของเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 บลจ.ยูโอบี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปดังกล่าวจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีและอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0-1.5 จากราคาพลังงาน และสาธารณูปโภค แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลงจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ทางด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้นมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 1 ยังถือเป็นระดับที่มีความกดดันต่อเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ

การฟื้นตัวต่ำกว่าคาดของเศรษฐกิจไทย และอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ อีกทั้งภาวะการเงินที่ตึงตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยของประเทศขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะปรับลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี จะส่งผลกดดันต่อเงินทุนเข้าออก และค่าเงินบาทซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงเกินไป ดังนั้น คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ในช่วงเดือนธันวาคมปีนี้ และคาดการณ์เป้าหมายดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ 1443 จุด โดยมีมุมมองเชิงบวกกับหุ้นกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายภาครัฐ การท่องเที่ยว การกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และ สาธารณูปโภค เป็นต้น

จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น บลจ. ยูโอบี จึงมีมุมมองว่า การเติบโตของเศรษฐกิจในกรณีพื้นฐาน (Base Case) จะเป็นไปในลักษณะที่มีการชะลอตัวแบบไม่รุนแรง (Soft Landing) ซึ่งการบริหารความเสี่ยงท่ามกลางสภาวะที่มีความไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และนักลงทุนไม่ควรที่จะกลัวการลงทุนมากไป พร้อมแนะนำเน้นการคัดสรรหลักทรัพย์ที่จะลงทุนและการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ บลจ. ยูโอบี แนะนำให้ปรับลดน้ำหนักการถือครองเงินสดและเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนทั่วโลกเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจในช่วงวัฏจักรดอกเบี้ยนโยบายขาลง โดยเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระดับ Investment Grade ที่มีคุณภาพเพื่อลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ในระยะข้างหน้าที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว ในขณะเดียวกัน บลจ. ยูโอบี มีมุมมองที่ระมัดระวังมากขึ้นต่อการลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศเอเชียโดยเฉพาะประเทศจีนที่แม้ว่าจะมีมูลค่าที่น่าสนใจแต่ตลาดได้รับรู้ปัจจัยบวกไปพอสมควรแล้ว และการฟื้นตัวในระยะข้างหน้ายังต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้น


นายกุลฉัตร จันทวิมล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายพัฒนาธุรกิจ บลจ. ยูโอบี ได้ให้ความเห็นต่อการจัดพอร์ต การลงทุนว่า ปัจจัยที่ต้องติดตาม มีดังนี้
1. ผลของการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวและการปรับลดการสนับสนุนด้านการคลังในช่วงปีที่ผ่านมาจะเริ่มสะท้อนให้เห็นในภาคส่วนต่างๆ ซึ่งทำให้จัดสรรการลงทุนต้องมีความระมัดระวังเพิ่มเติม
2. อัตราเงินเฟ้อที่แม้ว่าจะปรับตัวลดลงแล้วแต่ต้องติดตามดูพัฒนาการว่าจะสามารถปรับตัวลดลงได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่
3. ความเสี่ยงด้านการเมืองที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของ การเลือกตั้งของสหรัฐฯ, การเปลี่ยนแปลงขั้วทางการเมืองในฝั่งยุโรป รวมไปถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง อาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนได้

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของตลาดหรือต้องลงทุนในระหว่างรอจังหวะการลงทุน บลจ. ยูโอบีแนะนำ กองทุนรวมตลาดเงิน คือ กองทุนเปิด ไทย แคช แมเนจเม้นท์ (TCMF) ระดับความเสี่ยง 1 ที่มีนโยบายมุ่งเน้นลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ และ/หรือเงินฝาก หรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ทั้งภาครัฐ และ/หรือภาครัฐวิสาหกิจ ที่มีความมั่นคงและมีสภาพคล่องสูงเป็นหลัก

และหากสามารถรับความเสี่ยงและต้องการกระแสรายได้จากการลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก แนะนำลงทุนในกองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอลอินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ (UGIS) และกองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ เอฟเอ็กซ์ ฟันด์ (UGISFX) ระดับความเสี่ยง 5 ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ PIMCO GIS Income Fund (Class I) (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสรายได้ในระดับสูงโดยการบริหารการลงทุนอย่างรอบคอบ และมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาว มีหลักการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก โดยกองทุน UGIS มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ ส่วนกองทุนUGISFX อาจพิจารณาลงทุนใน Derivative เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน ซึ่งรวมถึงการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedging) หรือไม่ก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
กองทุนแนะนำสำหรับนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวจากการลงทุนแบบผสมทั้งในหุ้น ตราสารหนี้ ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท โกลบอล แอลโลเคชั่น ฟันด์ (UOBSGA) ระดับความเสี่ยง 5 ลงทุนในหน่วยลงทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ BGF Global Allocation Fund ที่จดทะเบียนในประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปเพียงกองทุนเดียว โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศทั่วโลกในสภาวการณ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งมีการบริหารจัดการโดย BlackRock (Luxembourg) S.A.กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

กองทุนแนะนำสำหรับนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวจากการลงทุนในหุ้น แนะนำลงทุนในหุ้นทั่วโลกในอุตสาหกรรมที่ได้รับปัจจัยบวกจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ได้แก่
กองทุนเปิด ยูไนเต็ด อิควิตี้ ซัสเทนเนเบิล โกลบอล ฟันด์(UESG) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ RobecoSustainable Global Stars Equities IL EUR (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียวโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์การลงทุนมุ่งหวังสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวและส่งเสริมการลงทุนด้าน ESG โดยกองทุนหลักมีการนำปัจจัยด้าน ESG เข้ามาพิจารณาใช้ในกระบวนการลงทุน (ESG integrated) กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โรโบติกส์ & อาร์ติฟิเชียล อินเทลลิเจนซ์ อีทีเอฟ (UBOT) ระดับความเสี่ยง 6 กองทุนลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ Global X Robotics & Artificial Intelligence ETF (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนหลักเป็นกองทุนรวมประเภท ETF ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ

กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย (UOBSA) ระดับความเสี่ยง 6 ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ คือ กองทุน United Asia Fund Class T SGD Acc กองทุนหลักจัดตั้งและบริหารจัดการโดย UOB Asset Management (Singapore) มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรุก (active management) และกองทุนหลักมีการนำ AI-Augmentation เข้ามาเป็นเครื่องมือร่วมกับการบริหารของผู้จัดการกองทุน เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน โดยกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน
กำลังโหลดความคิดเห็น