xs
xsm
sm
md
lg

กสิกรฯ เปิดกองการันตีเงินต้น ลุ้นผลตอบแทนแบบขั้นบันได

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



นายวจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์, CFA, Chief Investment Officer บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยว่า บลจ.กสิกรไทยคาดภาพรวมเศรษฐกิจโลกปีนี้ยังขยายตัวได้ดี แม้ว่าจะมีความผันผวนในระยะสั้นอยู่บ้าง อย่างไรก็ดี หลักการกระจายการลงทุนยังเป็นวิธีที่เหมาะสมในช่วงที่ตลาดยังมีความผันผวนและคาดการณ์ได้ยาก ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทยได้เพิ่มทางเลือกการลงทุนผ่านกองทุนที่มีการรับประกันเงินต้น พร้อมรับผลตอบแทนแบบขั้นบันได (Step-up) เพื่อโอกาสทำกำไรที่มากกว่า ภายใต้ชื่อว่า “กองทุนเปิดเค การันตีสเตปอัป A หรือ K Guaranteed Step-up A Fund (KGSTEPA)” โดยเปิดเสนอขายครั้งเดียว ในระหว่างวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2567 

นายวจนะกล่าวต่อไปว่า กองทุน K Guaranteed Step-up A (KGSTEPA) มีอายุโครงการประมาณ 4 ปี 9 เดือน โดยมีนโยบายลงทุนที่เน้นกระจายการลงทุนในหลากหลายประเภทสินทรัพย์ทั่วโลก เพื่อให้สินทรัพย์แต่ละประเภททำหน้าที่สร้างผลตอบแทนในสภาวะตลาดที่แตกต่างกัน ทั้งพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน และหุ้น ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทยได้ร่วมมือกับ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ในยุโรป ได้แก่ Amundi Asset Management ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในยุโรป ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุน (Outsourced Fund Manager) และ Credit Agricole ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในยุโรป ทำหน้าที่เป็นผู้ประกันเงินลงทุนของกองทุน (Guarantor) นอกจากนี้ กองทุน KGSTEPA ยังมีสภาพคล่องสูง โดยผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ 


สำหรับการขายคืนและการรับประกันเงินต้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 ขายคืนก่อนครบอายุโครงการ หาก NAV ปรับตัวขึ้น ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนตาม NAV ที่ปรับขึ้น (จุด A/B) แต่หาก NAV ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ NAV ที่รับประกัน ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนตาม NAV ที่ปรับลง (จุด C) โดยไม่ได้รับการประกันเงินต้น เนื่องจาก ถือหน่วยลงทุนไม่ครบอายุโครงการ กรณีที่ 2 ถือหน่วยลงทุนครบอายุโครงการ 4 ปี 9 เดือน หาก NAV ปรับตัวขึ้น ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนตาม NAV ที่ปรับขึ้น (จุด D) แต่หาก NAV ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ NAV ที่รับประกัน (จุด E) ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนตาม NAV ที่รับประกัน (ตามรูปตัวอย่างการขายคืนและการประกันเงินลงทุน)

“ภาพการลงทุนในช่วงนี้ตลาดกำลังอยู่ในช่วงปรับคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยของ Fed ว่าจะเลื่อนออกไปจากเดิมที่เดือนมิถุนายน และลดเหลือเพียง 1-2 ครั้งในปีนี้ ดังนั้น การลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวจึงอาจจะยังมีความผันผวนอยู่ แต่จะได้ประโยชน์จากการที่อัตราผลตอบแทน (Yield) ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับสูง และหากในระยะถัดไป Fed ปรับลดดอกเบี้ย จะได้ผลตอบแทนจากกำไรส่วนต่างราคา (Capital Gain) สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่เด้งขึ้นมาสูงสุดในรอบ 6 เดือน มองว่ากดดันตลาดหุ้นในระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนยังให้น้ำหนักกับการประกาศงบการเงินไตรมาส 1 โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง และคาดจะเห็นบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ ฟื้นตัวในปีนี้เช่นกัน” นายวจนะกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น