xs
xsm
sm
md
lg

“ฮาตาริ” ยุคใหม่ไอเดียกระฉูด ดึงสตูดิโอออกแบบดัง "อิตาลี “ โชว์“Habits Design Studio”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



“ผู้จัดการรายวัน 360 องศา” ได้มีโอกาสพูดคุยกับนักบริหารรุ่นใหม่ โดยมี ทัศน์ลักษณ์ พานิชตระกูล, ชัญญา พานิชตระกูล และ วรันธร วนวิทย์ ฃึ่งเป็นทายาทสตรีรุ่นใหม่จากค่ายพัดลมฮาตาริ ถือเป็นผู้บริหารใหม่ไฟแรง มีความคิดก้าวหน้า แถมมีแนวคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ และมีไอเดียที่จะบุกเบิกคิดต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมพัดลมไทย ภายใต้แบรนด์ "ฮาตาริ" แบรนด์ที่เป็นสินค้าคนไทยเต็มร้อย หวังก้าวสู่แบรนด์อินเตอร์ทุกรูปแบบอย่างครบวงจร ล่าสุดเร่งพัฒนารูปดีไซน์พัดลมเพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งสีสันความทันสมัย คุณภาพสินค้า แถมราคาที่แสนประหยัด ใช้งานคงทน จนพัดลมฮาตาริเป็นสินค้าที่ต้องมีทุกบ้านบุกตลาดทั้งใน และต่างประเทศ       ล่าสุดได้จัดกิจกรรมของฮาตาริขึ้น โดยดึงนักออกแบบที่อยากเติมไฟ หรือคนทั่วไปที่อยากเปิดโลกการออกแบบโดยเริ่มต้นจากของใกล้ตัว เราขอชวนปักหมุดนิทรรศการ Hatari x Habits Design Studio: DESIGNING THE WIND ณ บ้านตรอกถั่วงอก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ โดยผู้เข้าชมสามารถเข้าชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ จึงขอเชิญชวนให้นักศึกษา ผู้สนใจเข้าร่วมงาน
      
นับเป็นครั้งแรกที่ฮาตาริจัดกิจกรรมในรูปแบบนี้ ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจและแรงบันดาลใจ อยากให้ผลิตภัณฑ์พัดลม “ฮาตาริ” อยู่ในใจของผู้บริโภค ด้วยการสื่อสารยุคใหม่ โดยรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ดีไซน์มีความโดดเด่นทันสมัย ราคาโดนใจผู้บริโภค
       
เบื้องหลัง ‘พัดลมไทย’ ขึ้นชั้นดีไซน์โลก
ฮาตาริ และ Habits Design Studio
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ‘พัดลม’ คือของคู่บ้านที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะมีไลฟ์สไตล์แบบไหน พัดลมถือ เป็นหนึ่งในงานออกแบบที่แฝงตัวอยู่ในชีวิตประจําวันจนเราอาจไม่ทันได้สังเกต และพานไม่เคยตั้งคําถามว่าเบื้องหลังกว่าที่พัดลมตัวหนึ่งจะถูกออกแบบผลิตจนถึงมาตั้งคลายความร้อนในบ้านเรานั้นมีเส้นทางเป็นอย่างไร

ในการจัดงาน "DESIGNING THE WIND" คือการแสดงถึงความร่วมมืออันยาวนานระหว่าง Hatari กับ Habits Design Studio เพื่อสร้างสรรค์นิทรรศการที่ก้าวข้ามขีดจำกัดในการออกแบบพัดลม โดยการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ของ Habits ร่วมกันกับการแก้ปัญหาทางเทคนิคของ Hatari เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่รวมทั้งฟังก์ชันการใช้งานและดีไซน์ที่ร่วมสมัยให้เข้ากันได้อย่างลงตัว
           
ปิ๊งไอเดียโชว์นวัตกรรมออกแบบพัดลม
ทั้งนี้ ในงานนิทรรศการ DESIGNING THE WIND ได้สะท้อนและเปิดมุมมองว่าเปิดประตูสู่ความสงบสุขกับ "สายรมณ์ (WIND EMOTION)" งานศิลปะติดตั้งที่เปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นโลกจินตนาการที่เงียบสงบ สามารถสัมผัสสายลมอ่อนโยนผ่าน "PANORAMA" ด้วยนวัตกรรม Augmented Reality ซึ่งผสมผสานเทคโนโลยีและดีไซน์ได้อย่างลงตัว เพื่อสร้างประสบการณ์ที่จะกระตุ้นจินตนาการของคุณ ให้สายลมเย็นจากพัดลมฮาตาริพัดพาคุณไปสู่โลกที่เต็มไปด้วยความสุข
      
ภายในงานนี้จะได้เห็นแนวคิดในการนำเสนอวิธีการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มความสะดวกในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ โดยผู้เข้าชมนิทรรศการ DESIGNING THE WIND เป็นการยืนหยัดในวิสัยทัศน์ของผู้ผลิตพัดลมฮาตาริในการทุ่มเทการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างประสบการณ์การดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
       
เทรนด์เปลี่ยน “พัดลม” ต้องปรับ
สำหรับพัดลมฮาตาริ เป็นแบรนด์พัดลมคู่คนไทยมายาวนานกว่า 30 ปี ก่อตั้งมาเมื่อ พ.ศ. 2533 โดยประธานบริษัท นายจุน วนวิทย์ และได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตพัดลมชั้นนำของประเทศไทย พัดลมฮาตาริเป็นที่รู้จักในเรื่องประสิทธิภาพแรงลมและความทนทานของผู้ผลิต ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา
        
ผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้ยอมรับถึงคุณภาพที่ขึ้นชื่อเรื่องความอึด ถึก ทน จนกลายเป็นยี่ห้อพัดลมที่ต้องมีในทุกบ้าน แต่เมื่อโลกหมุนไป ไลฟ์สไตล์ผู้คนเปลี่ยนตาม ที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนจากบ้านกลายเป็นคอนโดฯ พื้นที่อยู่อาศัยมีขนาดเล็กลง ดีไซน์และการแต่งบ้านคือเรื่องใหญ่ที่คนให้ความสําคัญ แบรนด์พัดลมที่เคยเน้นจุดขายเรื่องฟังก์ชันมายาวนานอย่างฮาตาริก็ถึงคราวต้องปรับตัวตาม
       
นอกจากความตั้งใจในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ของผู้บริโภค ฮาตาริยังคงมุ่งเน้นที่จะเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ตั้งพันธะผูกพันของบริษัทคือการสร้างประโยชน์คืนสู่สังคม และใส่ใจต่อชุมชนโดยรอบ
        
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตฮาตาริตั้งใจให้ความสำคัญต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งความสวยงามและประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ดี เป้าหมายของบริษัทคือการผสมผสานดีไซน์ที่สวยงามและฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งาน เพื่อให้ผลิตภัฑณ์ของฮาตาริไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความสุขในการใช้ชีวิต
        
ผนึกพันธมิตร "อิตาลี" ปรับรูปแบบดีไซน์
ด้วยเหตุนี้เอง ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมาฮาตาริจึงเริ่มต้นจับมือกับ Habits Design Studio สตูดิโอออกแบบจากอิตาลีที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและมีประสบการณ์ออกแบบให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมาแล้วมากมาย ซึ่งพวกเขาเพิ่งโยกย้ายเข้ามาตั้งสาขาในกรุงเทพฯ เพื่อใช้ ‘การออกแบบ’ เป็นสะพานเชื่อมระหว่างองค์ความรู้ดั้งเดิมของฮาตาริด้านการผลิตสินค้าที่เข้าใจคนไทย เข้ากับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการออกแบบ พลิกโฉมแบรนด์ให้กลายเป็นมากกว่าแค่ผู้ผลิต แต่กลายเป็น ‘นักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์’ ที่เข้าใจคนรุ่นใหม่
       
เบื้องหลังการ ‘ออกแบบสายลม’ เพื่อคนไทย
สำหรับภายในอาคารตรอกถั่วงอก ซึ่งเป็นที่ตั้งของการแสดงนิทรรศการครั้งนี้ ได้แบ่งเรื่องราวตลอดเส้นทางการทํางานร่วมกันของฮาตาริ และ Habits Design Studio เพื่อออกแบบ ‘สายลม’ ให้คนไทย คือสิ่งที่เราจะได้สํารวจไปด้วยกันในนิทรรศการครั้งนี้
      
โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 4 โซน มีรูปแบบการจัดแสดงเป็น บริเวณชั้น 1: ‘WIND EMOTION’ พบกับ PANORAMA แผงไฟ LED ขนาดใหญ่ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้เข้าเยี่ยมชม
        
บริเวณชั้น 2: ‘TECHNOLOGICAL HEART’ ที่จะเล่าเรื่องราวของกระบวนการวิจัยและพัฒนา กว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างสายลมแห่งความสุข
       
บริเวณชั้น 3: ‘PERFORMING WIND’ งานศิลปะติดตั้งที่ได้แรงบันดาลใจจาก Colosseum ผู้เข้าเยี่ยมชมจะได้พบกับ Interactive Art จากพัดลมฮาตาริรุ่นใหม่ล่าสุด
       
บริเวณชั้น 4: ‘DESIGN FOR MODERN LIVING’ เป็นชั้นที่ตีแผ่คอลเลกชันผลิตภัณฑ์ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ Hatari และ Habits Design Studio เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่
       
ทั้งนี้ ภายในนิทรรศการยังมีกิจกรรมน่าสนใจที่ซ่อนอยู่อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมุมถ่ายรูปสุดพิเศษ กิจกรรมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ และ Customized พัดลมรุ่นใหม่จากฮาตาริในเแบบของคุณ
        
เข้าใจคุณค่าของการ “ออกแบบ” ดีผ่านพัดลม
ในฐานะนักออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีทุกบ้าน ผู้บริหารฮาตาริมองว่า ‘พัดลม’ คือสื่อใกล้ตัวที่สามารถบอกเล่าถึงความสำคัญของการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ได้ หากคนเข้าใจว่าการออกแบบที่ดีสร้างคุณค่าให้พัดลมหนึ่งตัวอย่างไรอาจขยายมุมมองไปสู่ความเข้าใจในระดับที่ใหญ่ขึ้น อย่างการออกแบบเมืองที่ดี ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ในปีนี้ ที่ชวนทุกคนมาคิดร่วมกัน
       
“ฮาตาริ” ขานรับเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567”
สำหรับนิทรรศการ “Habits Design Studio“ ครั้งนี้ ทางบริษัทฮาตาริได้มีส่วนในการสนับสนุนและขานรับนโยบายภาครัฐ โดยภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567” หรือ “Bangkok Design Week 2024” (BKKDW2024) ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ และภาคีเครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใน 15+ ย่านทั่วกรุงเทพฯ โดยเหล่านักสร้างสรรค์ นักออกแบบ นักพัฒนาเมือง ผู้ประกอบการรุ่นเก๋าและรุ่นใหม่ ร้านค้าท้องถิ่นในพื้นที่ ได้มาผนึกกำลังร่วมกันจุดประกายไอเดียให้เห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะทำให้กรุงเทพฯ ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เทศกาลฯ นำเสนอผลงานกว่า 500 โปรแกรม ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’
       
จัดงานคู่ขนานเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ
ในขณะที่เทศกาลงานออกแบบยิ่งใหญ่ประจำปีของชาวกรุงเทพฯ อย่าง “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567” เทศกาลฯ นำเสนอผลงานกว่า 500 โปรแกรม ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ผ่าน 3 มิติ คือ ‘Hard Matters’ เมืองดีต่อกาย, ‘Heart Matters’ เมืองดีต่อใจ, และ ‘Design Matters’ เมืองออกแบบดี ชีวิตดี เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเมือง ‘น่าอยู่’ ‘น่าลงทุน’ และ ‘น่าเที่ยว’ ที่ ‘น่ารัก’ สำหรับทุกคน โดยมีไฮไลต์ที่น่าสนใจ เช่น

Hard Matters เปิด 5 ผลงาน
Hard Matters เปิด 5 ผลงานที่ทำให้เมืองดีต่อกาย ง่ายต่อการเข้าถึง เชื่อมโยงผู้คนให้อยู่สบาย มีสุขภาพกายที่ดี เช่น ระบบป้ายนำทางจักรยาน โดย CONSCIOUS มาเดินทางเที่ยวงาน BKKDW2024, โก โก บัส! โดย MAYDAY! รถบัสขนาดย่อมที่เชื่อมย่านตลาดน้อย-เยาวราช-พระนคร, POCKET OASIS โดย Plural Designs โครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองที่นำเสนอสวนเคลื่อนย้ายได้ งานออกแบบ Public Furniture ที่มีการใช้งานที่หลากหลาย ปรับได้ตามลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยรวมร่างระหว่าง Street Furniture กับ Planter เข้าด้วยกัน เพื่อสามารถย่อขนาดสวนให้เคลื่อนย้ายได้สะดวกยิ่งขึ้น ลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย และ ประปาแม้นศรี-สี่แยกแม้นศรี ย่านพระนคร ,2024 อัณฑะเหมียวครองเมือง โดย จรจัดสรร STAND FOR STRAYS งานศิลปะสุด Cute ที่สะท้อนปัญหาแมวจรจัดในเมืองที่ถูกมองข้ามเพื่อสื่อสารและสร้างความตระหนักรู้เรื่องปัญหาแมวเพื่อช่วยลดปัญหาแมวจรจัดในเขตพื้นที่เมืองได้ไม่มากก็น้อย จัดแสดงที่วิทยาลัยเพาะช่าง ย่านพระนคร

ตามด้วยงาน Breathtaking โดย STUDIO THALAMUS จะทำให้ทุกคนได้เห็นภาพและรู้สึกได้ชัดเจนถึงฝุ่นในอากาศ ผ่านงาน Installation ขนาดใหญ่ใจกลางเมือง ที่แสดงข้อมูลฝุ่น โดยไม่ต้องรอฤดูกาลฝุ่น จัดแสดงที่ ป้อมมหากาฬ ย่านพระนคร

นอกจากนี้ Heart Matters รวม 7 งานสร้างสรรค์ที่ดีต่อใจ ผ่านกิจกรรมหลากหลายที่ใส่ใจผู้คน ทั้งยังสอดแทรกความแข็งแรงของวัฒนธรรม โดยมีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ ที่อุทยานเบญจสิริ (BTS พร้อมพงษ์)
         
กิจกรรม ชวนฟังเสียงธรรมชาติที่ฮีลใจในย่านบางกอกใหญ่ กับงาน Sound of Bangkok Yai โดย CROSS นิทรรศการเสียงที่ชวนทุกคนมาทำความรู้จักย่านบางกอกใหญ่ผ่าน ‘เสียง’ จากละแวก ณ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอิสรภาพ ย่านบางกอกใหญ่-วังเดิม
         
กิจกรรม เปิดสูตรลับอบอุ่นหัวใจไปกับ สำรับบ้านครัว: มา "มะ" มาทำอาหารที่บ้านครัว 01 โดยสถาบันอาศรมศิลป์ ชวน “เข้า (บ้าน) ครัว กิจกรรมเที่ยวที่เก่ายังไงให้ได้ประสบการณ์ใหม่ ใจฟูตามสไตล์มนุษย์ Introvert มาร่วม เดินท่อง ย้อนเวลา: โอ่งอ่าง สะพานหัน โดย STORYWISE แพลตฟอร์ม Side Story ที่เล่าเรื่องย่านเมืองเก่า คลองโอ่งอ่างสะพานหัน ชุมชนกลางเมือง ที่รวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ ทั้งยังมีมรดกวัฒนธรรมหลากหลาย สะท้อนผ่านวิถีชีวิต บริเวณหน้าบ้านโบราณสามหลัง ริมถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง ย่านพระนคร, สะพานหัน

มาใกล้กาย ใกล้ใจกันมากขึ้น กับงานเมื๋องเมิน โดย ADAPTER DIGITAL GROUP งาน Interactive ที่จะทำให้คนเมืองใกล้ชิดกันและมีปฏิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้นโดยตีความการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนผ่านท่าทาง (Gesture) และการอยู่อาศัยที่คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี โดยจัดขึ้นที่ The Warehouse ตลาดน้อย

สัมผัสพาวิเลี]นจากความร่วมมือของทุกคน สร้างสรรค์การใช้งานได้หลากหลายรูปแบบที่ One Bangkok Pavilion โดย ONE BANGKOK ผ่านการใช้พื้นที่และสภาพแวดล้อมโดยรอบ โดยมีผู้คนเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ เติมสีสันและยกระดับคุณภาพชีวิตเมืองและผู้คน เพื่อก่อให้เกิดทั้งการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เชิงกายภาพและสร้างคุณค่าทางจิตใจให้แก่ผู้คนที่ได้เข้ามาสัมผัสอย่างยั่งยืน ที่ลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย

เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัยด้วย หนังสือนิทานงิ้วและนิทรรศการ โดย SATARANA ผ่านการเล่าเรื่อง งิ้ว ศิลปะแขนงหนึ่งที่มีอายุยาวนานหลายสิบปีและเป็นที่นิยมในอดีต จัดที่โรงเจบุญสมาคม ย่านเยาวราช

โชว์ 8 งานดีไซน์สร้างสรรค์
Design Matters เผย 8 งานดีไซน์สร้างสรรค์ ส่งเสริมเมืองออกแบบดี ชีวิตดีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่อาศัย เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีและความพึงพอใจ เช่น Bosai + | Designing for Everyday Uncertainty โดย BOSAI + งานดีไซน์ของใช้ในชีวิตประจำวันที่ช่วยรับมือกับภัยพิบัติ โดย Urban Risk Lab แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) สหรัฐอเมริกา ภายใต้ความเชื่อที่ว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดา จึงมีการปลูกฝังวัฒนธรรมให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือเสมอ ผ่านงานออกแบบของใช้ในชีวิตประจำวันที่ช่วยรับมือภัยพิบัติ รับชมได้ที่ TCDC กรุงเทพฯ ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย

NEXUS โดย ARCANE งานดีไซน์ที่ชวนให้ชาวกรุงเทพฯ กลับมาเชื่อมโยงกับน้ำอีกครั้ง โดยนักออกแบบนำเสนอการดึงความสนใจเรื่องน้ำให้กลับมาในฐานะ DNA ของกรุงเทพฯ ทั้งในฐานะพื้นที่สาธารณะและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงวิสัยทัศน์ใหม่สำหรับอนาคตที่เป็นไปได้ของกรุงเทพฯ ผ่านผลงานหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำไปต่อยอดและใช้งานได้จริง สามารถรับชมได้ที่ The Corner House Bangkok (ชัยพัฒนศิลป์) ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย

ทัวร์ลงตลาดพลู โดย SCHOOL OF DESIGN AND ARCHITECTURE ผลงาน Installation Art จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ดึง Sense of Place จากวิถีชีวิตของชาวตลาดพลู ทั้งสีสันของตลาดพลูและวัฒนธรรมอาหาร มาจัดแสดงทั่วทั้งย่าน ที่ตลาดพลู (ตลาดรัชดาฯ) ย่านวงเวียนใหญ่ ฟื้นชีวิตชีวาให้พื้นที่รกร้าง งาน Experience Scape: The Legendary Scape โดยจัดแสดงที่ ประปาแม้นศรี ย่านพระนคร

มาสร้างภาพจำใหม่ให้ธุรกิจดั้งเดิมในย่านหัวลำโพง กับ Made in Hua Lamphong โดย CEA X RTUS-BANGKOK ริทัศน์บางกอก ที่จะมาต่อยอดธุรกิจดั้งเดิมและงานช่างฝีมือด้วยงานออกแบบในชุมชนย่านหัวลำโพง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นเจ้าแรกของย่าน หรือหลงเหลืออยู่เพียงเจ้าสุดท้าย ประกอบด้วย 6 ธุรกิจ/กิจการ/ร้านค้า ร่วมกับ 5 นักออกแบบ ที่ย่านหัวลำโพง

เปิดประสบการณ์ Soft Power แบบไทยๆ กับงานเปิดบ้านศาลพระภูมิ โดย PEOPLE OF ARI นิทรรศการที่เป็นผลงานร่วมสร้างโดย People of Ari และ แก่น - สารัตถะ จึงเสถียรทรัพย์ ชมงานได้ที่ พีโอเอ ไวท์ บ็อกซ์ (ชั้น 2 Yellow Lane) ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์
           
49&FRIENDS : Social Matters โดย 49&FRIENDS งานออกแบบเพื่อสาธารณประโยชน์จากความร่วมมือของกลุ่มบริษัทสถาปนิก นักออกแบบ สำนักพิมพ์ ร้านเฟอร์นิเจอร์และร้านเครื่องเขียน ผ่านการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ซอยสุขุมวิท 26 ย่านพร้อมพงษ์

สุดท้าย ครั้งแรกกับการฉาย Projection Mapping บนอาคารทางประวัติศาสตร์ในป้อมมหากาฬ กับ "มา/หา/กัน" Join (joy) together โดย บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), เอปสัน (ไทยแลนด์) และ THE MOTION HOUSE ที่นำงานศิลปะของศิลปินท้องถิ่นมาฉายลงบนตัวอาคารและสร้างภาพลวงทำให้สถานที่แห่งนี้น่าสนใจในยามค่ำคืนมากยิิ่งขึ้น จัดที่ ป้อมมหากาฬ ย่านพระนคร

ทั้งนี้ ผู้สนใจที่จะเข้าชมเทศกาลดังกล่าวไม่ควรพลาดโอกาสทอง และยังมีเวลาที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของ "Habits Design Studio" และเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 หรือ “Bangkok Design Week 2024” (BKKDW2024) ได้จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น