xs
xsm
sm
md
lg

กทท.แก้ถมทะเลแหลมฉบังเฟส 3 อืด จี้ CNNC เพิ่มเครื่องจักร เร่งส่งมอบพื้นที่ มั่นใจเปิดบริการ F1 ปี 70

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



กทท.ปรับแผนแก้แหลมฉบังเฟส3อืดจี้กลุ่ม CNNC เพิ่มเครื่องจักร-แรงงานมั่นใจเร่งงานถมทะเลเสร็จตามแผนเผยอาจต้องเพิ่มงบอีกกว่า 600 ล้านบาทเหตุต้องปรับเสปคความหนาแน่นทรายถมเชื่อทันก่อนส่งพื้นที่สัมปทาน GPC ในพ.ย.68 เป้าเปิดบริการF1ปี70

วันที่14พ.ย.2566นายเกรียงไกรไชยศิริวงศ์สุขผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)พร้อมด้วยกลุ่มกิจการร่วมค้าCNNCประกอบด้วยบริษัทเอ็น.ที.แอล.มารีนจำกัดซึ่งเป็นบริษัทลูกของบมจ.พริมามารีนบริษัทนทลินจำกัดและบริษัทจงก่างคอนสตรั๊คชั่นกรุ๊ปจำกัด (ประเทศจีน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานทางทะเลและที่ปรึกษาควบคุมงานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่3ร่วมแถลงความคืบหน้าการก่อสร้างโดย CNNC ยืนยันว่าจะสามารถดำเนินการงานถมทะเลได้เสร็จตามแผนงานที่ปรับปรุงใหม่

นายเกรียงไกรกล่าวว่าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่3มีมูลค่าโครงการรวมประมาณ114,046 ล้านบาทแบ่งเป็นกทท. 47% (53,489.58ล้านบาท)และเอกชน 53% (60,557.35ล้านบาท) โดยเป็นการพัฒนาและดำเนินการในส่วนของท่าเทียบเรือFเป็นลำดับแรกระยะเวลาสัมปทาน35ปี

ซึ่งกทท.ดำเนินงานก่อสร้างในส่วนโครงสร้างพื้นฐานเองมี4งานปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งรัดการก่อสร้างงานที่1คือการขุดลอกถมทะเลสร้างเขื่อนกันคลื่นซึ่งกทท.ลงนามกับกลุ่มCNNCเมื่อวันที่3ก.ย. 2563ออกหนังสือเริ่มงาน (NTP) วันที่5พ.ค. 2564ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา4ปีกำหนดแล้วเสร็จวันที่3พ.ค. 2568รวม 1,460 วันที่ผ่านมางานมีความล่าช้าประกอบกับมีสถานการณ์โควิด-19โครงการประสบปัญหาการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรวัสดุปกรณ์ต่างๆวิศวกรผู้ชำนาญการรวมถึงแรงงานทั้งจากภายในและภายนอกประเทศทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนการทำงานเดิม

ซึ่งผู้รับจ้างได้สิทธิ์มาตรการช่วยเหลือกรมบัญชีกลางที่กค(กวจ) 0405.2/ว693ลงวันที่6ส.ค. 2564ยกเว้นค่าปรับ 0% ซึ่งกทท.เจรจาคู่สัญญาเพื่อปรับแผนงานใหม่เรียบร้อยเมื่อวันที่20ก.ย. 2566โดยคิดค่าปรับ 0% จำนวน 422 วันโดยกำหนดแล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 29 มิ.ย. 2569


โดยงานขุดลอกถมทะเลสร้างเขื่อนกันคลื่นนั้นแบ่งการทำงานเป็น 4 ช่วงตามแผนงานปรับใหม่ Key Date 1ส่งมอบแล้ววันที่31ส.ค. 2565 , Key Date 2ส่งมอบแล้ววันที่1ต.ค. 2566 , Key Date 3 กำหนดส่งมอบวันที่7มิ.ย. 2567และพื้นที่รวมสุดท้ายส่งมอบในวันที่29มิ.ย. 2569

ตามแผนใหม่กทท.กำหนดส่งมอบพื้นที่Key Date 3 ให้กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วยบริษัทกัลฟ์เอ็นเนอร์จีดีเวลลอปเมนท์จำกัด (มหาชน) บริษัทพีทีทีแทงค์เทอร์มินัลจำกัด (PTT TANK) บริษัทไชน่าฮาร์เบอร์เอ็นจิเนียริ่งจำกัด ผู้รับสัมปทานพัฒนาท่าเทียบเรือFเข้าดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือลานวางตู้อาคารสำนักงานติดตั้งเครื่องมือในเดือนพ.ย. 2568เพื่อพัฒนาและเปิดให้บริการท่าเรือ F1 ในปี2570

ณ วันที่31ต.ค. 2566ตามแผนการทํางานในสัญญาที่ปรับใหม่กำหนดที่ 15.13% กลุ่ม CNNC สามารถทํางานส่งมอบให้โครงการฯได้แล้วที่ 13.26% มีความล่าช้าจากแผน 1.87% เท่านั้น

สำหรับงานโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือแหลมฉบังระยะที่3ส่วนที่2 (งานก่อสร้างอาคารท่าเรือระบบถนนและระบบสาธารณูปโภค)งบประมาณ7,425ล้านบาทอยู่ระหว่างการประกาศประกวดราคาโดยจะมีการยื่นเสนอราคาในวันที่15ธันวาคม2566 คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างภายในเดือนมกราคม 2567 และเมื่อได้ผู้รับจ้างแล้วผู้ควบคุมงานก่อสร้างจะต้องกำกับการทำงานให้เป็นไปตามแผนบูรณาการงานก่อสร้างของโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาโดยคำนึงถึงระยะเวลาที่กทท.ต้องส่งมอบพื้นที่ให้บริษัทGPCตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทาน

นอกจากนี้งานจ้างก่อสร้างส่วนที่3 (งานก่อสร้างระบบรถไฟ)ตามงบประมาณ 799.5 ล้านบาทและส่วนที่4 (งานจัดหาและติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับขนย้ายสินค้าพร้อมออกแบบและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับบริหารท่าเรือและระบบโครงสร้างพื้นฐานกลาง)ตามงบประมาณ 2,257.8 ล้านบาท กทท.อยู่ระหว่างดำเนินการปรับเอกสารประกวดราคาให้เป็นปัจจุบันและจะเริ่มประกวดราคาในเดือนเม.ย. 2567


@เพื่อเรือขุด-แรงงานเร่งถมทะเล

ด้านนายหลัวเหวิน(Luo Wen)ผู้อำนวยการใหญ่โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่3 (ส่วนที่1)งานก่อสร้างงานทางทะเลกล่าวว่ากลุ่มCNNCมีแนวทางในการบริหารจัดการงานก่อสร้างงานทางทะเลเพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จตรงตามเวลาคือ 1.เพิ่มเครื่องจักรและเรือขุดเดิมมี39ลำตามแผนปรับใหม่จะเพิ่มเรืออีก 25 ลำซึ่งเข้ามาแล้ว 17 ลำที่เหลืออีก8ลำจะเข้ามาในปลายเดือนพ.ย. 2566 นี้ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการทํางานเพิ่มขึ้นเป็น2เท่าสามารถในการขุดร่องน้ําเพิ่มขึ้นจากเดิม1.4ล้านลบ.ม./เดือนเป็น2ล้านลบ.ม./เดือน2.เพิ่มกําลังคนอีก120คนรวมเป็น520คนให้สอดคล้องกับแผนงานและเครื่องจักรหลังจากนี้จะปรับการจะทำเอกสารขั้นตอนการขออนุญาตทางกฎหมายและการบริหารจัดการงานก่อสร้างของโครงการให้สอดคล้องกับแผนงานที่ปรับใหม่และมั่นใจว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้ทันตามกำหนดแน่นอน


@ล่าช้าสะสมรับเหมาฯถูกปรับอ่วมกว่า600ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ผ่านมาก่อนมาตรการช่วยเหลือโควิดที่ค่าปรับเป็น0%นั้นกลุ่มCNNCถูกปรับในกรณีก่อสร้างล่าช้าในงานKey Date 1-งาน Key Date 3 ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพคล่องของเอกชนจะมีผลต่อความสำเร็จตามแผนงานใหม่หรือไม่นายเกรียงไกรกล่าวว่าสิทธิ์ที่กรมบัญชีกลางให้ค่าปรับเป็น 0% นั้นนับจากวันที่ 3 พ.ค. 2568 ไปไม่เกิน 422วัน หรือได้สิทธิ์เฉพาะสัญญาแม่ แต่เนื่องจากงานถมทะเลมีความรับผิดชอบเรื่องส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับสัมปทานจึงกำหนดบทปรับกรณีล่าช้าในแต่ละ Key Dateไว้ ซึ่งไม่ได้รับสิทธิ์ค่าปรับเป็น 0%

โดย Key Date 1ค่าปรับ1.5แสนบาท/วัน, Key Date 2ค่าปรับ5แสนบาท/วัน, Key Date 3ค่าปรับ 2.5ล้านบาท/วันเมื่อล่าช้ากทท.จึงยังคงปรับตามสัญญาโดยจะหักจากค่างานที่เบิกแต่ละงวดตามระเบียบซึ่งกรณีนี้กทท.ได้สอบถามกรมบัญชีกลางระบุว่าการยกเว้นค่าปรับพิเศษการส่งมอบพื้นที่ให้กทท.พิจารณาเองโดยจะต้องนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท.พิจารณาต่อไป

@CNNCยันสภาพคล่องไม่มีปัญหา

นางสาวลัลลิฬาจิตร์สมผู้อำนวยการโครงการร่วมกลุ่มCNNCกล่าวว่าสัญญางานถมทะเลที่กลุ่ม CNNC ลงนามกับกทท.มีการกำหนดค่าปรับพิเศษในแต่ละKey Dateที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันถูก กทท.ปรับรวมกว่า 600 ล้านบาทแบ่งเป็น Key Date 1จำนวน 168 วัน Key Date 2 จำนวน 168 วัน Key Date 3 จำนวน 221 วัน

ซึ่งมาตรการช่วยเหลือโควิดไม่ครอบคลุมในส่วนดังกล่าวขณะนี้กลุ่ม CNNC จึงได้ขอใช้สิทธิ์จากอุปสรรคหรือเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจริงช่วงโควิดโดยได้ทำหนังสือผ่านคณะกรรมการตรวจการจ้างฯเพื่อขอให้พิจารณายกเว้นซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้มีอำนาจของหน่วยงานทั้งนี้ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่มีผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทเนื่องจากมีกลุ่มผู้ร่วมทุนที่มีความมั่นคสามารถระดมทุนเข้ามาดำเนินการให้งานแล้วเสร็จตามแผนได้


@ส่องบบานอีก600ล้านบาทแก้ปัญหาเสปคทรายถม

นายเกรียงไกรกล่าวว่าขณะนี้มีประเด็นข้อกำหนดทางเทคนิคของการถมทะเลหรือสเปคค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ของทรายถมที่ไม่ตรงกันระหว่างสัญญากทท.กับกลุ่ม CNNC ที่ไม่มีการกำหนดค่าความหนาแน่นสัมพันธ์แต่เป็นการกำหนดค่าทรุดตัวที่ยอมให้ไม่เกิน 20 เซนติเมตรตลอดระยะเวลา 30 ปีส่วนสัญญากทท.กับกลุ่ม GPC กำหนดให้ค่าความหนาแน่นสัมพันธ์ไม่น้อยกว่า 75% ซึ่งได้มีการหารือร่วมกันกับคณะบริหารสัญญาฯ EEC-อัยการ-คมนาคม-กทท.แล้วโดยเสนอปรับปรุงคุณภาพงานถมทะเลใช้เทคนิค Pre-loading ซึ่งกลุ่ม GPC ยอมรับโดยที่ปรึกษากำลังออกแบบคาดว่าจะใช้ค่าก่อสร้างเพิ่มประมาณ 600 ล้านบาทใช้เวลาก่อสร้างเพิ่มประมาณ 8-12 เดือนซึ่งยังอยู่ในกรอบที่จะส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม GPC ที่กำหนดในพ.ย. 2568 นับจากกำหนดส่งมอบ Key Date 3วันที่ 7 มิ.ย. 2567 ส่วนค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นยังต้องหารือร่วมกันว่าจะเป็นฝ่ายใดที่ต้องรับผิดชอบ


นายเกรียงไกรกล่าวว่ากลุ่ม CNNC ยืนยันทำงานเสร็จตามแผนที่ปรับใหม่ซึ่งหากยังไม่เสร็จอีกกทท.จะดำเนินการตามแนวทางการบอกเลิกสัญญาตามข้อ5.2ของว.1459 โดยมีเงื่อนไขตั้งแต่วันที่1ก.ค. 2567 หากมีผลงานไม่ถึง 25% ของวงเงินตามสัญญาและมีผลงานรายเดือนไม่ถึง 50% ของแผนงานใหม่กทท.มีสิทธิ์ทำหนังสือแจ้งเตือนและเข้าสู่ขั้นตอนการบอกเลิกสัญญาได้

สำหรับสัญญาสัมปทานกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ลงนามเมื่อพ.ย. 2564 โดยระยะเวลาสัมปทาน 35 ปีนับจากวันส่งมอบพื้นที่โดยในส่วนของการส่งมอบพื้นที่ F1 ไม่เร็วกว่า2ปี (พ.ย. 2566) หรือช้ากว่า 4 ปี นับจากลงนามสัญญา (พ.ย. 2568) ดังนั้นการส่งมอบพื้นที่ F1 ตามแผนปรับใหม่จึงอยู่ในระยะเวลา
กำลังโหลดความคิดเห็น