xs
xsm
sm
md
lg

ส.อ.ท.ติงขึ้นค่าไฟงวดม.ค.-เม.ย.67สวนทางนโยบายลดค่าครองชีพกระตุ้นศก.แนะ2ทางเร่งแก้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)เมื่อ 8 ก.พ.ได้พิจารณาแนวทางการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(Ft) งวดม.ค.-เม.ย. 67 ที่เปิดรับฟังความเห็นประชาชนระหว่าง 10-24 พ.ย. 66 ใน 3 ทางเลือกที่ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยจะปรับขึ้นเป็น 5.96 ,4.93 และ4.68 บาท/หน่วยซึ่งนำเอาภาระค้างจ่ายการชำระค่าเชื้อเพลิงไฟฟ้าค้างจ่ายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) 95,777 ล้านบาทมาคำนวณโดยชำระหมดทันที ทยอยแบ่งชำระจ่ายคืนผ่านค่าไฟ 6 งวดและ 6 งวดตามลำดับ

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในห้วงเวลานี้ถือเป็นการสวนกับนโยบายที่รัฐบาลพยายามลดค่าครองชีพและการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกันหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงที่ประชาชนเองก็ยังไม่ได้รับรู้ว่าจะได้รับเงิน Digital wallet ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลังได้แถลงไปล่าสุดจากพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท และแม้ว่าจะได้ประชาชนก็จะได้รับเงินใช้ได้อย่างเร็วในเดือนพ.ค. 67

ขณะที่ค่าไฟงวดม.ค.-เม.ย. 67 จะมีการปรับขึ้นอย่างน้อย 17% ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ส.อ.ท.ได้เคยเสนอแนวทางที่รัฐควรจะไปดำเนินการทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง และ ระยะยาว ที่ควรจะดำเนินการและได้รับการ ชี้แจง จากผู้รับผิดชอบถึง แนวทาง หรือ ความคืบหน้าใดใด ต่อประชาชน เช่น ความสามารถนำก๊าซธรรมชาติ (NG) จาก แหล่งเอราวัณเป็นไปตามแผนหรือไม่ ? อย่างไร ? หลังจาก รัฐบาลโชว์ผลงานลดราคา ค่าไฟฟ้าทันที จากการประชุม ครม. นัดแรก ด้วยมาตรการยืดหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้เห็นว่า ภาครัฐควรจะดำเนินการ 2 แนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้า ได้แก่ 1. เร่งแก้ไขเฉพาะหน้าเพื่อลดภาระค่าไฟ ประกอบด้วย 1.1 การแก้หนี้ของกฟผ. ที่รัฐควรใช้เครื่องมือการเงินมาช่วยเช่น การออกพันธบัตรรัฐบาลที่เหมาะสมเช่น 5 ปี 1.2การแก้ปัญหาการผลิตที่มีมากกว่าความต้องการ โดยการลดมาร์จินค่าความพร้อมจ่าย(AP) ไม่เร่งการเพิ่มปริมาณไฟฟ้า เพิ่มความต้องการด้วยการกระตุ้นการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า(EV) 1.3 ส่งเสริมและปลดล็คพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ให้สะดวกและเป็นธรรม 1.4 ปรับโครงสร้าง NG โดยการปรับสูตรราคาขายปิโตรเคมีเป็นราคาเดียวกับขายโรงไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)


2. ระยะกลางและยาว ได้แก่ การเร่งเจรจาพัฒนาพื้นที่แหล่งปิโตรเลียมทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา(OCA) เร่งเปิดให้บุคคลที่ 3 เข้ามาดำเนินการ(TPA)ทั้งระบบการผลิตไฟฟ้าและ NG และ ปรับกลไกการบริหารพลังงานและค่าไฟฟ้าทั้งระดับนโยบาย การกำกับ และการผลิตให้โปร่งใสและเปิดเผยข้อมูล และควรจัดตั้งเวที คณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน(กรอ.)พลังงาน
กำลังโหลดความคิดเห็น