xs
xsm
sm
md
lg

กรมเจ้าท่าร่วมซ้อมแผนฉุกเฉิน รับมือเหตุ "เรือโดยสารชนท่าเทียบเรือ"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



กรมเจ้าท่าร่วมฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการทางการแพทย์ในเหตุสาธารณภัย และแผนปฏิบัติการทางการแพทย์ในเหตุสาธารณภัย จำลองเหตุการณ์ "เรือโดยสารชนท่าเทียบเรือ”

วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 นายพิทักษ์ วัฒนพงษ์พิศาล ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่า (จท.) พร้อมด้วยนายโอฬาร เต็งรัง รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มตรวจการเดินเรือ สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ร่วมพิธีเปิดโครงการระดมทรัพยากรในพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมทางการแพทย์ในเหตุสาธารณภัย ประจำปี 2566 โดยศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ร่วมกับ โรงพยาบาลกลาง จำลองสถานการณ์ "เหตุเรือโดยสารชนท่าเทียบเรือ" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเปิด นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กล่าวรายงาน โดยประธานในพิธีได้ตรวจเยี่ยมแถวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ พร้อมให้กำลังใจในการปฏิบัติการร่วมการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการทางการแพทย์ในเหตุสาธารณภัย และฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการทางการแพทย์ในเหตุสาธารณภัย ณ ท่าเทียบเรือตลาดยอดพิมาน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


การปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือในเหตุสาธารณภัยรูปแบบต่างๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมการปฏิบัติการเป็นจำนวนมาก โดยมีการบูรณาการประสานความร่วมมือ และสนับสนุนเพื่อให้การปฏิบัติการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนหรือผู้ประสบเหตุสาธารณภัยรอดชีวิต ปลอดภัย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องมีการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการ และทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

ซึ่งนอกจากจะทำให้บุคลากรมีความเข้าใจในขอบเขตอำนาจหน้าที่ และขั้นตอนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยแล้ว ยังเปิดโอกาสระหว่างหน่วยงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การสนับสนุนการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น


สำหรับการฝึกซ้อมแผนฯ กรมเจ้าท่าได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ กลุ่มตรวจการณ์เดินเรือพร้อมเรือตรวจการณ์เจ้าท่า 170, 171 และ 159 ร่วมบูรณาการการฝึกซ้อมแผนฯ โดยจำลองเหตุการณ์ "เรือโดยสารชนท่าเทียบเรือ" ทำให้มีผู้บาดเจ็บประมาณ 41 คน โดยมีการนำระบบบัญชาการเหตุการณ์ Incident command system (ICS) มาใช้ เพื่อช่วยให้การเผชิญเหตุการณ์ไม่เกิดความสับสน การปฏิบัติการและการให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการประเมินศักยภาพและความพร้อมในการร่วมปฏิบัติการในเหตุสาธารณภัยดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การวางแผนการพัฒนาศักยภาพ และความพร้อมในการรับมือกับสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้น


ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักเทศกิจ สำนักงานเขตพระนคร สำนักงานประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ บริษัท เจ.บี. แอสเสท จำกัด (ตลาดยอดพิมาน) บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีตำรวจนครบาลปากคลองสาน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โรงพยาบาลหัวเฉียว มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และมูลนิธิร่วมกตัญญู


กำลังโหลดความคิดเห็น