xs
xsm
sm
md
lg

รฟท.ได้ฤกษ์!เปิดชิงพื้นที่เชิงพาณิชย์และโฆษณา"สถานีกลางบางซื่อ-สายสีแดง"ขายซอง15 มี.ค.นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



รฟท.เปิดประมูลชิงพื้นที่เชิงพาณิชย์และโฆษณา"สถานีกลาง กรุงเทพฯอภิวัฒน์ (บางซื่อ) และสถานีสายสีแดง" รวม 4 สัญญา ขายซอง 15 มี.ค.-28 เม.ย.66 ใช้เกณฑ์เทคนิคบวกราคาตัดสิน หวังดึงมืออาชีพบริหาร"ร้านค้า-ร้านอาหาร-โรงแรม"คาดสรุปส.ค.นี้

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟฯ ออกประกาศเชิญชวนภาคเอกชนที่สนใจ เข้ายื่นข้อเสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ และสิทธิการบริหารจัดการพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และอาคารสถานีรถไฟสายสีแดง 12 สถานี ได้แก่ สถานีตลิ่งชัน สถานีบางบำหรุ สถานีบางซ่อน สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก(ม.รังสิต) และสถานีรังสิต


โดยออกประกาศเชิญชวนฯ เป็น 4 สัญญา ใช้วิธีประกวดข้อเสนอผลตอบแทน ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 โครงการยื่นข้อเสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ บริเวณอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คิดเป็นพื้นที่จำนวน 47,675 ตารางเมตร

สัญญาที่ 2 โครงการยื่นข้อเสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ บริเวณอาคารสถานีรถไฟสายสีแดง จำนวน 12 สถานี คิดเป็นพื้นที่จำนวน 3,759 ตารางเมตร

สัญญาที่ 3 โครงการยื่นข้อเสนอเพื่อสิทธิการบริหารจัดการพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คิดเป็นพื้นที่จำนวน 2,303 ตารางเมตร

สัญญาที่ 4 โครงการยื่นข้อเสนอเพื่อสิทธิการบริหารจัดการพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีรถไฟสายสีแดง จำนวน 12 สถานี คิดเป็นพื้นที่จำนวน 2,080 ตารางเมตร


ในส่วนของสัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 3 (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์)  การรถไฟฯ กำหนดเปิดขายเอกสารการประกวดเสนอผลตอบแทน ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 28 เมษายน 2566 ระหว่างเวลา 09.00 – 15.00 น. ณ อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 2 การรถไฟฯ กำหนดยื่นซองเอกสารข้อเสนอ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ชั้น 1 ประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติ ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 1 ประกาศผู้ผ่านข้อเสนอด้านเทคนิค ในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ณ อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 1 และกำหนดเปิดซองข้อเสนอด้านผลตอบแทนสัญญาที่ 1 ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. (เช้า) และสัญญาที่ 3 เวลา 13.00 – 16.00 น. (บ่าย) ณ ห้องประชุมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ชั้น 1

ส่วนสัญญาที่ 2 และสัญญาที่ 4 (12 สถานี รถไฟสีแดง) การรถไฟฯ กำหนดเปิดขายเอกสารฯ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 28 เมษายน 2566 ระหว่างเวลา 09.00 – 15.00 น. กำหนดยื่นซองเอกสารข้อเสนอ ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ชั้น 1 ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติ ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 1 ประกาศผลผู้ผ่านข้อเสนอด้านเทคนิค ในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ณ อาคารฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ชั้น 1 และกำหนดเปิดซองข้อเสนอด้านผลตอบแทน สัญญาที่ 2 ในวันที่ 17 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. (เช้า) และสัญญาที่ 4 เวลา 13.00 – 16.00 น. (บ่าย) ณ ห้องประชุมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ชั้น 1 ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟฯ ทุกวันทำการ ระหว่างเวลา 09.00-16.30 น. โทร. 0-2220-4648


รายงานข่าวแจ้งว่า การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่โฆษณา ที่สถานีกลางกรุงเทพฯอภิวัฒน์ จะมีอายุสัญญา20 ปี TOR กำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำเป็นค่าเช่าพื้นที่ 500 บาท/ตารางเมตร บวกกับค่าบริการใช้ไฟฟ้าร่วม 150 บาทโดยใช้เกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค 80 คะแนนรวมกับข้อเสนอด้านราคา 20 คะแนนผู้เสนอผลตอบแทนที่ดีกว่ามี แผนพัฒนาด้านธุรกิจดีกว่าจะได้รับการคัดเลือก ซึ่งประเมินว่าจะมีรายได้ขั้นต่ำที่สถานีกลางบางซื่อประมาณ 360 ล้านบาทต่อปีหรือไม่ต่ำกว่า 7 พันล้านบาทตลอดอายุสัญญา 20 ปี

ส่วนสัญญาพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่โฆษณา อาคารสถานีรถไฟสายสีแดง จำนวน 12 สถานี จะมีอายุสัญญา 3 ปี เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และป้ายโฆษณาดังกล่าวจะมีการนำไปรวมในการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP ) บริหารการเดินรถสายสีแดง จึงกำหนดอายุสัญญาเพียง 3 ปี 


โดยการดำเนินงานโครงการดังกล่าว จะเป็นการสนับสนุนการให้บริการแก่ผู้โดยสาร และผู้ใช้บริการสถานีรถไฟสายสีแดง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมบทบาทของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ในการเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศ และเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของกรุงเทพมหานคร ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ แหล่งรวมร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรม เป็นต้น สามารถรองรับการเดินทางของประชาชน และนักท่อง

เที่ยวได้อย่างสะดวก และปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ เพื่อพัฒนาการให้บริการกับประชาชนต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น