xs
xsm
sm
md
lg

กกพ.เปิด 3 ทางเลือกปรับค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค. 66

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



“กกพ.” เปิด 3 ทางเลือกให้ประชาชนตัดสินใจเปลี่ยนแปลงค่าไฟฟ้างวด พ.ค.-ส.ค. 66 โดยต่ำสุด 4.72-4.74 บาทต่อหน่วย และสูงสุดเกิน 6 บาทต่อหน่วย โดยนำภาระ กฟผ.มาคำนวณชำระคืน ก่อนชงบอร์ด กกพ.เคาะอีกครั้ง 22 มี.ค.นี้

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า บอร์ด กกพ. วันนี้ (8 มี.ค.) เห็นชอบให้ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (Ft) งวด 2/2566 (พ.ค.-ส.ค.) ใช้อัตราเดียวไม่มีการแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่มเหมือนรอบที่ผ่านมา และจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นก็ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่ำลง โดยค่าไฟฟ้าไม่ถึง 5 บาทต่อหน่วย แต่จะเป็นเท่าใดนั้น กกพ.มอบให้สำนักงาน กกพ.ไปคำวณ แบ่งออกเป็น 3 อัตรา และให้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่ง รายละเอียดทั้งหมดจะมีการแถลงในวันที่ 10 มี.ค.

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ที่ประชุม กกพ. ที่มีนายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธาน กกพ. เป็นประธานเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 66 ได้รับทราบภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวด พ.ค.-ส.ค. 66 โดยให้สำนักงาน กกพ. นำค่า Ft ประมาณการ และแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนคงค้างของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่แบกรับไปคำนวณ แบ่งเป็น 3 กรณีเพื่อเปิดรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระหว่าง 10-20 มี.ค. 66 ก่อนที่จะเสนอบอร์ด กกพ.พิจารณาอนุมัติค่าไฟงวดใหม่ต่อไปในวันที่ 22 มี.ค.

ทั้งนี้ ค่าไฟฟ้าในงวดแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) แบ่งออกเป็นประเภทที่อยู่อาศัย มีอัตราค่าไฟที่ 4.72 บาทต่อหน่วย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นที่ 5.69 บาทต่อหน่วย ปัจจัยหลักของการคำนวณ 3 ราคาที่เป็นอัตราเดียวกัน คือ ให้มีการคำนวณเรื่องภาระหนี้สินค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระแทนประชาชนไปก่อนกว่า 1.36 แสนล้านบาท (หนี้สินถึง เม.ย. 66) แบ่งเป็น 1. คืนหนี้รอบเดียวหมด จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงกว่า 5 บาทต่อหน่วย โดยค่าเอฟทีงวดใหม่จะอยู่ที่ 2.93 บาทต่อหน่วย เมื่อรวมค่าไฟฟ้าฐานราว 3.76 บาทต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 6.69 บาท/หน่วย 2. คืนหนี้ กฟผ.ในอัตราที่ กฟผ.เสนอมา คือคืนหนี้ 5 งวด เฉลี่ย 41 สตางค์ต่องวด ค่าเอฟทีงวดใหม่จะอยู่ที่ 98.27สตางค์/หน่วย เมื่อรวมค่าไฟฟ้าฐาน 3.76 บาท/หน่วยแล้ว ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 4.7427 บาทต่อหน่วย (ส่งผลค่าไฟฟ้าบ้านจะขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยเฉลี่ยเกือบ 5 สตางค์ต่อหน่วย แต่ภาคอุตสาหกรรมลดลง ราว 0.95 บาท/หน่วย) และ 3. ปรับปรุงการคืนหนี้ของ กฟผ.ตามช่วงเวลาใหม่ในอัตราที่เหมาะสม โดย กกพ.ทำหนังสือถึง กฟผ.เพื่อขอให้เกลี่ยการคืนหนี้เพื่อให้ค่าเอฟทีต่ำกว่า 4.72 บาทต่อหน่วย 

อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานในวันที่ 9 มี.ค.นี้ เชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์จะมีการสอบถามในเรื่องดังกล่าว คาดว่าจะมีการชี้แจงให้นายกรัฐมนตรีรับทราบต่อไป 

  
กำลังโหลดความคิดเห็น