xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) EV BIKE ไทยประดิษฐ์ ต่อยอด “ความพอเพียง” สู่ นวัตกรรมเพื่อการพึ่งตนเอง ประหยัดกว่าใช้ไฟ 1 : 4 เท่านั้น!!!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



“ปกติน้ำมันถ้าเป็นมอเตอร์ไซค์เติมนะสัปดาห์หนึ่ง สมมุติ 100 บาท 1 เดือนก็ 400 แต่ค่าไฟเดือนหนึ่งสมมุติว่า ชาร์จ 1-2 หน่วย/วัน ก็อยู่ประมาณ 5-10 บาทบางทีไม่ถึง 10 บาทด้วย! มันน้อยมาก มันลดลงไปประมาณ 1 : 4 เท่า ส่วนค่าดูแลอื่น ๆ ก็ตัดไปได้เลย”

อาจารย์ประทีป มายิ้ม
“ที่นี่เราอยู่กันแบบอาศัยยึดหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง เราเริ่มมาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ”ประมุขใหญ่แห่งบ้านมายิ้ม “อาจารย์ประทีป มายิ้ม”ปราชญ์เกษตรของแผ่นดินเจ้าของศูนย์การเรียนรู้ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สวนพออยู่พอกิน บ้านมายิ้ม ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี บอกกับเราว่า เพราะหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมัน 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 5 ประการ และประการสุดท้ายก็คือ รู้เท่าทันเทคโนโลยี ประยุกต์ พัฒนา ต่อยอด“เพราะว่ายุคสมัยพระองค์ท่าน รัชกาลที่ 9 เป็นยุคของคำว่า “พอเพียง” จุดเริ่มต้นค่อยเป็นค่อยไป สร้างเนื้อสร้างตัวทีละนิดทีละหน่อย แต่พอมาถึงปัจจุบันนี้มั้มันเป็น “นวัตกรรม”เพราะฉะนั้นนวัตกรรมเนี่ยเราควรจะต้องมีอะไรบ้าง?”เป็นปัจจัยที่เราจำเป็นต้องใช้เอง บังเอิญว่าที่นี่มี “น้ำ-อาหาร-พลังงาน-บ้านนอน” ครบอยู่แล้ว ปัจจัยสำคัญที่ตัดออกเลยโดยที่ไม่ต้องใช้เงิน! ส่วนพลังงานไฟฟ้าที่นี่ก็ได้ฟรี มันมีฟรีอยู่แล้ว เนื่องจากที่นี่ผลิตไฟฟ้าใช้เองจากพลังงาน “โซลาร์เซลล์” อยู่ด้วย เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้กระแสไฟฟ้าที่มีอยู่แล้ว ส่วนต่าง-ส่วนเกิน ที่เหลือจากใช้ เหลือจากขายให้กับการไฟฟ้าฯ ได้แล้ว เอามาต่อยอด“มาต่อยอดผมก็มองว่า ยุคต่อไปหรือยุคนี้เราก้าวเข้ามาสู่ คำว่า EV (Electric Vehicle) นวัตกรรมที่ใช้เพียงพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว100% ในการขับเคลื่อน”

น๊อต-ปิยวัฒน์ มายิ้ม เจ้าของผลงาน MAYIM EV Mark 1-Mark 2
ต่อยอด “ความพอเพียง” สู่นวัตกรรมเพื่อการพึ่งตนเอง
ด้าน “น๊อต-ปิยวัฒน์ มายิ้ม” ลูกชายของอาจารย์ประทีปฯ ซึ่งปัจจุบันได้เข้ามาช่วยดูแลเรื่องของระบบ “โซลาร์เซลล์” ทั้งหมด สมาร์ทฟาร์มเมอร์รวมไปถึงรถไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า‘EV BIKE’ก็บอกด้วย จากที่ได้เห็นวิถีชีวิตปกติประจำวันของ “แม่” จะใช้รถจักรยานยนต์หรือว่า “มอเตอร์ไซค์” ขับไปซื้อกับข้าวทุกวัน มอเตอร์ไซค์ที่เติมน้ำมันเป็นพลังงานเชื้อเพลิงยี่ห้อต่าง ๆ ที่มีในท้องตลาดปรากฏว่าสิ่งที่ผมเห็นทุกวันก็คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ในแต่ละสัปดาห์ ในแต่ละเดือน อันดับแรกในแต่ละสัปดาห์คือ ค่าน้ำมัน แต่ละเดือนก็คือ น้ำมันเครื่องถ้าเป็นรถเกียร์ออโต้ก็จะเป็น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเฟืองท้าย ถ้าเป็นรถโซ่ก็จะเป็น โซ่สเตอร์ที่มันต้องสึกหรอไป ผมเฝ้าดูมาตลอด เฝ้าดูมาตลอดว่าเราจะเปลี่ยนแปลงตรงนี้ได้อย่างไร พอดีตรงกับที่พ่อได้ทำระบบ “โซลาร์เซลล์” ไว้อยู่แล้ว เรามีพลังงานไฟฟ้าเป็นของเราเองอยู่แล้ว การต่อยอดเป็นเรื่องของผมแล้ว ว่าผมจะเอาพลังงานตรงนี้มาใช้ได้อย่างไร มาใช้แบบไหน และใช้อย่างไรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด”

ขุมพลังงานหลักของที่นี่อยู่บนนี้หลังคาบ้านกับการติดตั้งระบบ Solar RoofTop


มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า(EV) ไทยประดิษฐ์
น๊อตเล่าว่า ตนเองเรียนจบทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มา และทำงานในสายงานอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่เรียนจบด้วย ตั้งแต่การออกแบบวงจร จนไปถึงเป็นระบบวงจรเน็ตเวิร์คใหญ่ ๆ เคยผ่านงานทางด้านนี้มาก่อนแล้ว ก็เลยเป็นการนำความรู้ที่มีเอามาประยุกต์ใช้ ให้มันสัมฤทธิ์ผลให้ได้“แต่ว่า ณ ตอนที่เราทำนะครับตอนนั้น ก็คือไม่มีใคร เหมือนไม่มีใครสนใจตรงนี้สักเท่าไหร่ฉะนั้นไม่มีใครสนใจไม่สำคัญ เราจะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ ครับเราก็เลยต้องสร้างเองทั้งหมดขึ้นมา”

สำหรับคันต้นแบบนี้ ทำมาเพื่อให้แม่กับพ่อวิ่งใช้งานได้ทั้งวัน เพราะมีคนงานที่สวนด้วย เวลาไปซื้อของซื้ออะไร เมื่อก่อนใช้รถน้ำมันสตาร์ททั้งวัน เดี๋ยวสตาร์ท ๆ ไม่ไหว น้ำมันไม่ไหวแล้ว อีกอย่างคือเครื่องหลวมเร็วมาก คันนี้จึงขอตั้งชื่อให้ว่า MAYIM EV Mark 1 ซึ่ง Mark 1 ก็คือมาจาก คันแรกของเรา “ตอนแรกที่ทำไอเดียผมนะครับ ไม่ได้สนใจเรื่องความเร็ว สนใจเรื่องแรงบิด เช่น วิ่งเข้าสวน บรรทุกคนได้เยอะมั้ย บรรทุกของได้เยอะมั้ย ความเร็วเต็มที่ผมไม่สนใจเลย เพราะว่าผมให้มองถึงความปลอดภัยไว้ก่อน ว่าถ้าแม่เอาไปใช้ พอ่เอาไปใช้หรือ คนงานเอาไปใช้ สมมุติว่าขับด้วยความเร็ว40 ถ้าล้มด้วยความเร็ว40 แล้วเจ็บ! แสดงว่าใช้ได้แล้ว ก็คือไม่ควรเร็วไปกว่านั้นแล้ว แต่เนื่องจากการใช้งานทุกวันนี้ พอมันช้ามาก มันก็ไม่ปลอดภัยครับ เช่นเวลาแซงหรือว่าอะไรเงี้ย จังหวะแซง อย่างเวลาออกนอกพื้นที่ของเราเองไปอย่างเงี้ย ก็จะไม่ค่อยสะดวกเท่าไร เราก้เลยมีการปรับปรุงเพิ่มสปีดให้เขา”




ความเร็วสูงสุดที่ทำได้ (จริง ๆ ความเร็วสูงสุดปลดล็อคไว้) แต่คันนี้จะล็อคไว้ประมาณ 90 แต่ถ้า “เกียร์ 3” จะวิ่งเกินได้อีก เกียร์จะเป็นแบบ 3 สปีด ก็คือ สปีดที่ 1 ก็วิ่งตั้งแต่ศูนย์ แต่พอบิดเต็มคันเร่ง ก็อาจจะล็อคไว้ที่ 40-50 พอเกียร์ 2 ก็เริ่มจากศูนย์เหมือนกัน แต่ก็จะไปล็อคความเร็วที่ประมาณ 70-80 อย่างนี้เป็นต้น ส่วนเกียร์สุดท้าย(เกียร์ 3) คือจะบิดเต็มสปีดเลย จนแบตหมดไปเลย เกียร์สุดท้ายจะเป็นแบบนั้น

MAYIM EV Mark 2
MAYIM EV MARK 1
“คร่าว ๆ ต่อการชาร์จตอนนี้ คือจริง ๆ ระยะทางตามความจุแบตเตอรี่เนาะ แต่คันนี้ผมคำนวณไว้ให้เขาใช้แค่ ประมาณหนึ่งวัน พอครบแล้วก็ชาร์จ ชาร์จตอนกลางคืน คือคันนี้จะวิ่งระยะสั้นแต่วิ่งบ่อย ไม่ได้วิ่งยาว ๆ แบบเป็น100 กม. ไม่ใช่(คันนี้จะวิ่งได้40 กม.) ก็จะพอดีกับความจุของแบตที่ตั้งเอาไว้ต่อ1 วัน การใช้ชาร์จต่อครั้งจะใช้เวลาประมาณ2 ชั่วโมงครึ่ง อันนี้คือจากแบตหมดเกลี้ยงนะ แต่ถ้าแบตไม่หมดชาร์จแป็บเดียวก็เต็ม”

MARK 1 จะกำหนดสเปกไว้เป็นระบบ ไฟ60 โวลต์ เพราะไม่ได้วิ่งที่ใช้ความแรงและระยะทางไกลมาก อยู่มาวันหนึ่งก็มีคนมาที่สวน และโดยปกติก็จะมีคนมาดูงานที่สวนเยอะมากอยู่แล้ว แต่เราก็จะเจอคนที่เป็นเพชรแท้เสมอ “ก็เจอเพชรอยู่ดวงหนึ่ง ผมต้องการแบบนี้ งบไม่จำกัด ผมต้องการแบบนี้แต่! คุณจะต้องทำให้ผมแบบนี้นะ เช่น มีซาเล้ง/มีพ่วงข้าง เขาจะกำหนดมาเลยว่า ผมต้องการมีพ่วงข้างเพราะผมจะขับเอาเครื่องตัดหญ้าเนี่ยใส่เข้าไปรถพ่วงข้างแล้วขับเข้าไปในสวน เพราะทุกวันนี้ต้องขับรถยนต์เข้าไปในสวน มันเป็นภาระ ก็กำหนดมาเลย เช่น มีซาเล้งถอดเข้า-ออกด้วยนะ ต้องถอดเข้า-ออกได้ง่าย ๆ ถอดประกอบได้เป็นแบบสลัก อันนี้เป็นสลักเสียบ 3 จุด ถ้าไม่ใช้ก็ยกสลักออกไปแต่รถได้เลย และต้องมีเกียร์ถอยหลังให้ด้วย เวลามีพ่วงข้างมันต้องถอยหลังได้ ถอยหลังได้ครับ แล้วรถไฟฟ้าทำเกียร์ถอยหลังง่ายกว่ารถน้ำมันด้วย และก็ที่สำคัญต้องรับน้ำหนักได้อย่างน้อย ๆ ต้อง 200-300 กิโล เราก็เลยต้องทดสอบจริงทำจริงก่อนที่จะปล่อยให้เขาไปใช้”

ออกแบบการใช้งานตามที่ลูกค้าต้องการได้
MAYIM EV MARK 2
ตอนแรกก็บอกตรง ๆ ว่าหนักใจนะ เพราะว่าตนเองก็มีงานประจำอยู่แล้วก็คือตึงมืออยู่แล้ว เยอะอยู่แล้ว แต่ก็คิดไว้ในหัวตลอดว่า หลังจากที่ผลิต MARK 1 ไปเสร็จ ถ้าวันหนึ่งคนจะให้ทำ MARK 2 กำหนดทิศทางไว้แล้วว่ามันต้องเป็นแบบนี้ ซึ่งมันตรงกับสิ่งที่เขาต้องการพอดี

“คันแรกเราใช้ทำสีเองอะไรเองเนาะ แต่ถ้าเราผลิตขายผมตั้งใจว่าจะทำสีรถยนต์ พ่นสีทูเคให้มันดี และก็เหล็กเนี่ยใช้ระบบดัดให้มันสวยงามเข้ารูป มันจะมีความคงความอะไรมากขึ้นไปอีก แล้วก็จะเน้นเรื่องของเครื่องยนต์ต้องแรงขึ้น จากคันนี้800 วัตต์ ก็เป็น1500 วัตต์ และก็เป็น12 นิ้วด้วย และก็ระบบไฟต้องเป็น72 โวลต์ เราตั้งใจให้รถคันนี้มันมีความแรง เยอะเกินไว้ก่อน เวลาเขาไปใช้และถ้าเขารู้สึกว่าไม่แรง เขาก็บิดน้อย ๆ ได้ แต่ถ้าอยากแรง มันก็แรงได้ตามใจเขา”

การชาร์จไฟก็เหมือนกัน ราคาสำหรับในส่วนของ MARK 2 โดยน๊อตบอกว่า จะค่อนข้างเสียเวลาในเรื่องของการสร้างโครงเยอะ เพราะคนทำเองก็ใส่ใจในเรื่องนี้ด้วย จะให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ก็เลยจะมีค่าแรงในส่วนนี้เยอะนิดนึง คันนั้นจบไปก็อยู่ประมาณไม่เกิน 50,000 บาท พร้อมพ่วงข้างครบหมดเรียบร้อย พร้อมวิ่งก็หลังจากทำออกไป ไม่วิ่งกลับมาอีกเลยครับไม่มีอะไรพังสักอย่างเลย ผมคิดว่านะผมน่าจะเก็บข้อผิดพลาดจากคันแรก อุดข้อผิดพลาดทั้งหมด มันไปหมดแล้ว พอมาคันที่สองก็คือ แทบไม่มีข้อผิดพลาดแล้ว ลูกค้าหายเงียบไปเลย ปกติถ้าซื้อรถน้ำมันจะต้องมาเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่อู่เราบ้างใช่มั้ย อันนี้ไม่มีเลยครับ (หัวเราะ) ก็จริง ๆ มันไม่ได้มีแค่Mark 2 จริง ๆ มันมีสเปกรอไว้ Mark 3 -Mark 4 เนาะแต่ว่า คือในการทำต่อไปเรื่อย ๆ ผมจะพัฒนาด้านอื่นตามไปด้วย”

Mark 2 แบบมีพ่วงข้างจะมีระบบเกียร์แบบถอยหลังได้ด้วย
ประหยัดกว่า(1:4 เท่า)! ช่วยsave เงินในกระเป๋า
ที่มองเอาไว้ก็จะเป็นเรื่องของ “แบตเตอรี่” สมมุติว่าลูกค้าซื้อไปวันนี้บอกต้องการวิ่งระยะทางเท่านี้ แต่วันหนึ่งอยากเพิ่มระยะทางก็จะต้องทำในลักษณะแบบว่าเพิ่มแบตเตอรี่เข้าไป ให้เขาเพิ่มแบตเตอรี่เข้าไปได้ จะเพิ่มแบบเหมือนการSwap โดยที่ไม่ต้องไปรื้อตัวถังใด ๆ จากที่เห็นตัวอย่างการใช้งานของรถในยุคปัจจุบันนี้มาด้วย เห็นถึงข้อดี ที่ควรจะนำมาปรับใช้บ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ไปSwap กับคันอื่นนะให้ทำกับคันของเราเองเนี่ยแหละ เอาไปชาร์จได้หรือว่าเพิ่มเข้าไป “ปกติสเปกที่เราขาย วิ่ง 40 กิโล เพิ่มไปวิ่งได้80 หรือ 100 หรือ 200 กิโล อย่างเงี้ย โดยเพิ่มช่องเข้าไปเหมือนก๊าซเพิ่มก๊าซเข้าไป”

สำหรับคนที่สนใจ ราคาของรถจะมีเท่าไรอย่างไรบ้าง? ถ้าเป็น Mark 2 ถ้าคนซื้อตัดพ่วงข้าง/หรือซาเล้งออกไป ราคาก็ลดลงไปอีก1 หมื่นบาท แต่ถ้าเป็นอย่าง Mark 1 ในส่วนของช่างเองผลิตเพื่อการใช้งานจะทำแบบไหนก็ได้ เช่น เอาสีธรรมดามาพ่่นเหล็กก็เชื่อมแบบง่าย ๆ แต่ถ้าในส่วนของคนใช้(ลูกค้าที่จะซื้อไป) การทำก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งเรื่องของสีและคุณภาพของการทำงานเหล็กซึ่งแน่นอนว่าก็จะพิถีพิถันมากขึ้นไปอีก ราคาก็จะอยู่ประมาณ 3 หมื่นนิด ๆ หรือ 3 หมื่นห้าต่อคัน ประมาณนั้น


รถที่เราสร้างนะครับ คือจริง ๆ ผมจะแนะนำนะครับว่าให้ใช้ ที่ในสวนหรือใช้ในชุมชนใกล้ ๆ ที่ไม่ไปรบกวนการจราจรหรือการสัญจรของผู้คนปกติมาก เพราะว่าผมในฐานะเป็นคนสร้างนะครับจะเน้นถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ไม่อยากให้เร็วมาก จริง ๆ เร็วเป็น100 หรือ200 ก็วิ่งได้นะครับ แต่ไม่อยากให้เร็วมากเพราะว่าถ้ามันเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา และรถเราไม่มีทะเบียนถูกต้องอย่างเงี้ยครับ มันก็จะไปสร้างภาระให้กับผู้อื่น ครับผมถึงล็อคความเร็วไว้เพื่อให้วิ่งไม่เร็วมาก แล้วก็ให้ใช้งานในระยะใกล้ ๆ”


สร้างชุมชนต้นแบบ การใช้ “พลังงานสะอาด” เพื่อชาติ
ในตอนท้าย อาจารย์ประทีป มายิ้ม เจ้าของศูนย์การเรียนรู้ฯ บ้านมายิ้ม จ.ชลบุรี ยังได้กล่าวถึงนวัตกรรมนี้ที่มีส่วนร่วมกับชุมชนด้วย “เนื่องจากว่าของเรามันเป็นชุมชนต้นแบบ ต้นแบบในหลาย ๆ เรื่อง บังเอิญว่ายุคนี้เราก็อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยกันเนาะ ลดมลภาวะ ลดฝุ่น PM 2.5 เราเป็นคนนำทาง ตัวเราเองเริ่มจากตัวเราก่อน ชี้ให้เขาเห็น เราใช้ให้เขาเห็น แล้วให้แต่ละครช่วยทดลองใช้ พอทดลองมันก็จะตามกันมา มันก็เลยเป็นชุมชนต้นแบบเรื่อง “พลังงานสะอาด” และบริสุทธิ์ไปในตัว” บ้านไหนมีไฟฟ้าบ้านนั้นก็ใช้นวัตกรรมนี้ได้“ใช่ ไม่ยุ่งยากครับ สำหรับผมเองก็ขอฝากไว้ว่า เรามาถึงยุคนี้แล้ว ถ้าเราลด ช่วยกันได้ ช่วยกันลด ละ เลิก เพิ่มมลภาวะให้น้อยลง แต่ละคนช่วยกันคนละเล็กคนละน้อยละนิดละหน่อย ถ้าเราใครมีความสามารถจะมีเป็นยานยนต์ EV ได้ เราก็จะช่วยกันลด PM 2.5 เราก็จะช่วยประหยัดค่าน้ำมันในกระเป๋า ไม่ต้องกลัวพรุ่งนี้จะขึ้นราคาหรือเปล่า หรือแม้จะเสียบใช้ไฟฟ้ามันก็ไม่แพงมาก กิโลนึงไม่ถึง 20 สตางค์ แต่เราใช้เชื้อเพลิง(น้ำมัน) ราคามันก็สูงใช่มั้ยแล้วมันเป็นการใช้พลังงานของชาติ โดยส่วนรวมที่สิ้นเปลืองมาก ๆ สิ้นเปลืองมาก ๆ เพราะว่าเราต้องเอาเงินไปซื้อน้ำมันเอาน้ำมันมาเติมรถและก็เพิ่มฝุ่นเพิ่มนู่นนี่นั่น แล้วการใช้น้ำมันก็เป็นค่าใช้จ่ายในกระเป๋าที่ค่อนข้างจะสูง อันนี้ผมแนะนำว่าคิดว่าจะประหยัดรายจ่ายค่าเชื้อเพลิงค่ายานพาหนะฯลฯ ได้คนละนิดคนละหน่อย คนละเล็กคนละน้อย เราก็จะไปสู่โลกที่สะอาดบริสุทธิ์ ลด ละ เลิก การใช้พลังงานโดยส่วนรวมของชาติให้น้อยลง ด้วยตัวของเราเองทุกกรณีครับ”

สนใจเยี่ยมชมหรือศึกษาดูงานเรื่องนวัตกรรม ‘EV BIKE’ ไทยประดิษฐ์ สามารถติดต่อสอบถามไปได้ที่ โทร.089-748-4944



* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด* * *
กำลังโหลดความคิดเห็น