xs
xsm
sm
md
lg

ทำใจ! กกพ.เปิด 3 ทางเลือกขึ้นค่าไฟงวด ม.ค.-เม.ย. 66 แตะ 5.37-6.03 บาทต่อหน่วย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



สำนักงาน กกพ.เตรียมเปิดรับฟังความเห็นปรับค่า Ft งวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 66 ขยับขึ้นโดยให้เลือก 3 กรณี ขยับค่าไฟรวมจาก 4.72 บาทต่อหน่วย เป็น 5.37 บาทต่อหน่วย, 5.70 บาทต่อหน่วย และ 6.03 บาทต่อหน่วย ย้ำหากตรึงไว้ที่เดิม กฟผ.จะแบกรับภาระ 2 แสนล้านบาท

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ย. กกพ.มีมติรับทราบภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) เดือน ม.ค.-เม.ย. 66) ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยจากปัจจุบัน 4.72 บาทต่อหน่วยจะเป็น 5.37 บาทต่อหน่วย 5.70 บาทต่อหน่วย และ 6.03 ต่อหน่วย ตาม 3 กรณีที่จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์สำนักงาน กกพ.ตั้งแต่วันนี้-27พ.ย.ก่อนที่จะประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันที่1ฝ 1 ธันวาคมก่อนบังคับใช้

สำหรับกรณีที่ 1 ค่า Ft ม.ค.-เม.ย. 66 จำนวน 224.98 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็น Ft ขายปลีกสะท้อนต้นทุนเดือน ม.ค.-เม.ย. 66 จำนวน 158.31 สตางค์ต่อหน่วยและทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงบางส่วน 66.67 สตางค์ต่อหน่วยเพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รับเงินครบใน 1 ปี โดย กฟผ.จะต้องบริหารภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 81,505 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มปรับขึ้นเป็น 6.03 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 2 ค่า Ft เรียกเก็บ ม.ค.-เม.ย. 66
จำนวน 158.31 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็น Ft ขายปลีกที่สะท้อนต้นทุนจำนวน  158.31 สตางค์ต่อหน่วย และเงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงบางส่วน 33.33 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ กฟผ.ได้รับเงินคืนครบภายใน 2 ปีโดย กฟผ.จะต้องบริหารภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 101,881 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวม VAT) เพิ่มขึ้น 5.70 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 3 ค่า Ft เรียกเก็บ ม.ค.-เม.ย. 66
จำนวน 158.31 สตางค์ต่อหน่วยโดย กฟผ.จะรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 122,257 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟ (ไม่รวม VAT) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.37 บาทต่อหน่วย


"ค่า Ft ในรอบเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมานั้นปรับเพิ่ม 68.66 สตางค์ต่อหน่วย รวมเป็นค่าเอฟทีทั้งสิ้น 93.43 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย โดย กฟผ.แบกรับภาระค่าเชื้อเพลิงไว้ล่าสุด 1.25 แสนล้านบาท ซึ่งหากต้องตรึงค่าไฟงวด ม.ค.-เม.ย. 66 ไว้คงเดิมจะทำให้กฟผ.แบกรับภาระสูงถึง 2 แสนล้านบาท เราเองพร้อมจะดำเนินการตามนโยบายรัฐหากจะทำให้ค่าไฟลดลงอีกโดยเปลี่ยนหลักการเช่นประชาชนใช้ก๊าซในอ่าวก่อน หรือไม่เพราะเราทำตามหลักการของเรา" นายคมกฤชกล่าว

นอกจากนี้กกพในการประชุมครั้งที่ 51/2565 (ครั้งที่ 818) เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2565ได้พิจารณาทบทวนอัตราค่าบริการรายเดือนที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระหว่างวันที่ 3 - 17 ต.ค. 2565 แล้วเห็นชอบให้มีการปรับอัตราค่าบริการรายเดือนลดลงสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า 3 ประเภท 

1 ) ​​ประเภทบ้านอยู่อาศัยใช้มากกว่า 150 หน่วย​จากเดิม 38.22 บาท/เดือน เป็น ​24.62 บาท/เดือนประเภทบ้านอยู่อาศัย แรงดันต่ำ อัตราTOUเดิม​38.22 บาท/เดือนเป็น ​24.62 บาท/เดือน
(2) กิจการขนาดเล็ก แรงดันต่ำเดิม ​​​ 46.16 บาท/เดือนเป็น ​33.29 บาท/เดือน
(3) กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร อัตราTOUเดิม​​228.17 บาท/เดือนเป็น​204.07 บาท/เดือน

ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ.จะเร่งดำเนินการประสานการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเพื่อให้การปรับลดอัตราค่าบริการรายเดือนให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1 ม.ค.2566 เป็นต้นไปเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตพลังงานให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็กอีกทางหนึ่งด้วย
 


กำลังโหลดความคิดเห็น