xs
xsm
sm
md
lg

ถึงเวลา ก.ล.ต. ต้องเข้ม! "บิทคับ" ท้าทายอำนาจ-"ซิปเม็กซ์" อุบอิบเงินไปลงทุนนอก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



"บิทคับ" ยื้อ KUB Coin ท้าทายอำนาจก.ล.ต. ไม่ยอมแก้ไขคุณสมบัติเหรียญ โวได้มาตรฐานตั้งแต่เริ่มแรก ขณะที่ "ซิปเม็กซ์" แหกกฎ เอาสินทรัพย์ลูกค้าไปลงทุนต่างประเทศ เกิดความเสียหายอย่างหนักจนขาดสภาพคล่อง นักลงทุนได้รับความเดือนร้อน ทำให้หลายฝ่ายเรียกร้อง ก.ล.ต.เร่งร่างเกณฑ์ครอบคลุมช่องโหว่ หวังช่วยลดความเสียหายให้ผู้ลงทุน แนะดูแบบอย่างจากสิงคโปร์ร่างเกณฑ์คลุมคริปโตฯ ปกป้องผู้ลงทุน อย่ารอให้เกิดปัญหาก่อน

เป็นเรื่องธรรมดาแทบทุกครั้งยามเมื่อเกิดเครื่องมือการลงทุนแบบใหม่ที่ได้รับผลตอบแทนสูงๆ นักลงทุนก็จะให้ความสนใจและไม่อยากพลาดโอกาสในการลงทุน แม้เครื่องมือเหล่านั้นยังไม่มีการตรวจสอบหรือควบคุมที่ดีพอ ต่อจากนั้นเมื่อใครต่อใครสร้างผลตอบแทนได้เป็นกอบเป็นกำ ย่อมมีคำชักชวนผู้อื่นให้เข้าไปร่วมลงทุน ซึ่งยิ่งทำให้ตลาดดังกล่าวได้รับความสนใจสูงขึ้น แต่กลับกันเมื่อเครื่องมือลงทุนดังกล่าวเริ่มสร้างความเสียหายให้แก่เงินที่ลงทุนไป ก็จะเริ่มมีเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามากำกับดูแล หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

คริปโตฯขาลงเสียงเรียกร้องเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันคงหนีไม่พ้นตลาดคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่กำลังได้รับเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาช่วยวางหลักเกณฑ์ดูแลความปลอดภัยในสินทรัพย์ของนักลงทุน หลังจากมีเกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเสียให้แก่นักลงทุนขึ้นหลายครั้งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

ต้องยอมรับว่าปีทองของตลาดเหรียญคริปโตฯ เกิดขึ้นในปี 2564 ด้วยมูลค่าตลาดรวมถึง 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จากนั้นแม้จะปรับขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2565 แต่ในปีนี้โดยรวมถือว่าเป็นขาลงของตลาดคริปโตฯ อย่างชัดเจน ด้วยมูลค่ารวมของตลาดที่ลดลงไปเหลือประมาณ 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

นอกจากนี้อีกตัวเลขที่น่าสนใจ นั่นคือความเคลื่อนไหวของบัญชีตลาดคริปโตฯในประเทศไทย พบว่าปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่เพียง 2.3 แสนบัญชี หรือประมาณ 8% ของบัญชีที่เปิดไว้ทั้งหมดกว่า 2.8 ล้านบัญชี (ครึ่งหนึ่งของบัญชีที่เปิดซื้อขายหุ้น) ถือเป็นการลดลงถึง 67% นับจากสิ้นปี 2564

ยิ่งทำให้หลายคนอยากเห็นเกณฑ์กำกับดูแลตลาดคริปโตฯของก.ล.ต. และธปท.สอดคล้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานกำกับดูแลประเทศอื่นๆ เพื่อทำให้ตลาดมีความปลอดภัยมากขึ้นต่อนักลงทุน และลดความดึงดูดอาชญากรไซเบอร์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือ รวมถึงการวางกรอบหรือหลักเกณฑ์ที่ทันท่วงที ไม่ใช่วัวหายแล้วล้อมคอกเหมือที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

สิงคโปร์รับมือวิกฤตทันท่วงที

อาทิ เช่น สิงคโปร์ ที่ได้รับการยกให้เป็นศูนย์กลางตลาดคริปโตฯในเอเชีย (Crypto Hub) จากการที่ประชาชนจำนวนมากของประเทศมีการลงทุนในตลาดเหรียญดิจิทัล อีกทั้งภาครัฐก็เปิดกว้างในออกใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับตลาดได้ง่ายต่อการดำเนินธุรกิจ จนดึงดูดบริษัทต่างชาติหลายแห่งเข้ามาลงทุนสร้างแพลตฟอร์มบล็อกเชน เพื่อรองรับธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ทำให้ประชาชนสามารถนำเหรียญที่ถือหรือลงทุนอยู่ไปชำระค่าบริการหรือซื้อสินค้าต่างๆได้สะดวก โดยเฉพาะเมื่อจีนดำเนินนโยบายคุมเข้มในการกำกับเหรียญคริปโตฯ ตั้งแต่ปี 2564 ก็ยิ่งทำให้สิงคโปร์กลายตลาดที่กลุ่มทุนจีนแห่เข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก

นั่นเพราะที่ผ่านมา สิงคโปร์มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และการชำระเงินหลากหลายรูปแบบเพื่อเอื้อต่อกลุ่มทุนต่างชาติหรือกลุ่มทุนภายในประเทศที่มองเห็นโอกาสการเติบโตของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล และเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี

อย่างไรก็ตาม ทุกการดำเนินธุรกิจล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมและดูแลโดย The Monetary Authority of Singapore (MAS) คือต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างเข้มงวด

คุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติมคือ MAS ได้ขยายขอบเขตการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเพิ่มเติมประเด็นการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากการลงทุนในเหรียญคริปโตฯ มากขึ้น เช่น จำกัดการโฆษณาในบางลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเหรียญดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม จากการลดลงของวอลุ่มเทรดบิทคอยน์ รวมถึงเหรียญอื่นๆ ในตลาดตั้งแต่ช่วงต้นปี ทำให้ค่าฟีของธุรกิจ Exchange ลดลง ส่งผลให้เว็บเทรดคริปโตฯ ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น BlockF, i Crypto.com, Gemini, Coinbase, Compass Mining, OpenSea หรือ Blockchain.com ประกาศลดพนักงานเป็นจำนวนมาก จากสภาพตลาดคริปโตฯที่ปั่นป่วน

ไม่เพียงเท่านี้การล้มลงของ Celcius กับ Babel ในช่วงเวลาใกล้ๆ ล้วนมีต้นตอมาจากการล่มสลายของ UST-LUNA เหรียญดังจาก Terra Money ที่เพิ่งเกิดขึ้นช่วงเดือน พ.ค. 2565 ซึ่งสร้างความเสียหายราว 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.5 หมื่นล้านบาท กระทบตั้งแต่นักลงทุนตั้งแต่รายย่อยไปจนถึงนักลงทุนสถาบัน

โดย Celcius เดิมถือเป็นคู่แข่งของเหรียญ LUNA เมื่อมีข่าวลบของ LUNA ออกมา ก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้เกิดการแห่ถอนเงินออกไปจำนวนมาก ขณะที่ Babel ก็ขาดสภาพคล่องเพราะไปลงทุน LUNA อีกทั้งยังขาดทุนจาก BTC และ ETH รวมกันกว่า 1 หมื่นล้านบาท

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ MAS ของสิงคโปร์ ได้ประกาศนโยบายในการปรับกฎระเบียบใหม่ในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค โดยจะเพิ่มมาตรการป้องกันเพิ่มเติม (Additional Safeguards) รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการคงไว้ในเงินทุนสำรองของเหรียญประเภท Stablecoin โดยเฉพาะเมื่อราคาสินทรัพย์ดิจิทัลมีการปรับลดลง จนอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล และกระทบต่อความมั่นคงของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในสิงคโปร์

พร้อมกับให้มีการควบคุมจำนวนผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงการจำกัดการให้บริการคริปโตฯ แบบ Leverage หรือการยืมเงินเพื่อเพิ่มกำลังซื้อ การควบคุมการจัดทำการตลาด (Crypto marketing) ของผู้ประกอบการ รวมไปถึงให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทต้องได้รับอนุญาตจาก MAS ก่อนการให้บริการ แม้บริการนั้นจะไมใช่การให้บริการในประเทศก็ตาม ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในประชาชนของประเทศ และผลกระทบที่อาจส่งผลต่อธุรกิจโดยรวม

คริปโตฯไทยปัญหายังเป็นรายเดิมๆ

กลับมาที่ตลาดเหรียญคริปโตฯในประเทศไทย ที่ผ่านมาเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดผลเสียหายแต่ผู้ลงทุนก.ล.ต.มีการประกาศหลักเกณฑ์และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง แต่จนแล้วจนรอดผู้ประกอบการหลายรายก็ยังคงมีปัญหาคาราคาซังไม่จบไม่สิ้น และเกิดเสียหายให้กับผู้ลงทุนออกมาเรื่อยๆ

ล่าสุดจากกรณีแพลตฟอร์ม “Zipmex” หรือ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ของบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด ประกาศระงับการเพิกถอนเงินบาท และคริปโตเคอร์เรนซี เหตุได้รับความเสียหายจากผลิตภัณฑ์ Zipup+ ของลูกค้าถูกนำไปฝากไว้ที่ Zipmex global สิงคโปร์ และนำไปลงทุนกับ Babel Finance และ Celsius ซึ่งประสบปัญหา จนไม่สามารถทำธุรกรรมใน Z Wallet ได้ สร้างความเสียหายมูลค่ากว่า 53 ล้านดอลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 2,000 ล้านบาท

ขณะที่กลุ่ม "ผู้เสียหาย ซิปเม็กซ์ (Zipmex)" และรวมตัวเข้าแจ้งความฟ้องร้องค่าเสียหายที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) โดยรวบรวมหลักฐานผู้เสียหาย 744 ราย มูลค่ามากกว่า 600 ล้านบาท และมีส่วนหนึ่งเดินทางไปยื่นดำเนินคดีกับผู้บริหารซิปเม็กซ์ ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อ 25 ก.ค.ที่ และต่อมา 1 ส.ค. 65 กลุ่มผู้เสียหาย ได้ยื่นข้อมูลและเข้าหารือกับสำนักงานก.ล.ต.เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ล่าสุด 6 ส.ค. 65 ก.ล.ต. รายงานความคืบหน้ากรณี Zipmex ว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการ รวมทั้งการพิจารณาเอกสารหลักฐาน และทำงานร่วมกับ ตัวแทนผู้เสียหายอย่างใกล้ชิด ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ได้เข้าพบหารือกับพนักงานสอบสวนในส่วนที่อาจจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นๆ และในสัปดาห์หน้าจะเร่งส่งพยานหลักฐาน พร้อมทั้งทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องต่อไป


ที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐในหน้าที่กำกับดูแล ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามักเดินตามหลังสถานการณ์อยู่ 1 ก้าวเสมอ แม้แต่ ก.ล.ต. เองก็เช่นกัน ซึ่งก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในสายตานักลงทุนที่มองว่าล้าหลัง ไม่ทันสมัยก้าวทันโลก ที่รูปแบบมักจะ Slow Life ค่อยเป็นค่อยไป ยึดถือระเบียบแบบแผนพิธีการตามแบบอย่างราชการไทยที่มีมาอย่างยาวนาน จนอาจไม่ทันเกมส์ของโลกการลงทุนในบางประเภทเช่นสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโตฯ ที่มีการปรับเปลี่ยน อัปเดตใหม่อย่างต่อเนื่อง

Zipmexก.ล.ต.ขยับช้าเกณฑ์ไม่ครอบคลุม

ดังนั้นในกรณีที่เกิดขึ้นกับ Zipmex ที่ดูเหมือนว่า ทาง ก.ล.ต. ในสายตานักลงทุนนอกจากจะขยับช้าแล้ว และท่าทีที่แสดงออกมาเหมือน Zipmex นั้นเป็นลูกรัก ยิ่งทำให้เกิดคำถามขึ้นมามากมายของนักลงทุนผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบว่า เกิดอะไรขึ้นกับ ก.ล.ต. หรือเปล่า

ขณะเดียวกัน ก.ล.ต.ก็ออกมายอมรับว่าเพิ่งทราบ ว่า Zipmex มีบริการที่ชื่อว่า ZipUp+ วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ทั้งๆ ที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แล้วหากรับทราบ ทำไมถึงไม่ออกแถลงเตือนว่าผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นตรงกับบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ เป็นบริการที่มีความเสี่ยงและไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ ก.ล.ต. เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีกรณีที่ออกมาเตือนผู้ใช้ Binance ว่าควรใช้บริการกับกระดานซื้อขายที่อยู่ใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. และบริการ ZipUp+ ก็ไม่ได้เพิ่งผุดขึ้นมาให้บริการ แต่เปิดโฆษณาอย่างโจ๋งครึ่มในทุกแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยใช้นักร้อง ดารา อินฟูลเอนเซอร์มากมายมาโปรโมทเชื้อเชิญเข้ามาลงทุน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เริ่มมีเสียงเรียกร้องว่า พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งประกาศใช้มาแล้วกว่าประมาณ 4 ปีนั้น เนื่อหาคือการดัดแปลงมาจากการลงทุนรูปแบบเดิมและเนื้อหาครอบคลุมแบบกว้างๆ แต่ไม่ได้เจาะลึกลงไปถึงการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมากพอ และบริการทางสินทรัพย์ดิจิทัลในเวลานั้นกับตอนนี้ก็เปลี่ยนไปเยอะแล้ว ซึ่ง ก.ล.ต. เองสามารถออกระเบียบได้ ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นออกกฎหมาย เป็นพระราชกำหนด/พระราชบัญญัติ แต่อย่างน้อยควรมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

Bitkub ผิดซ้ำซาก

ขณะที่อีกหนึ่งรายที่มักจะมีปัญหาบ่อยครั้งกับก.ล.ต.นั่นคือกลุ่ม Bitkub โดยเฉพาะบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด กระดานเทรดคริปโตฯ อันดับหนึ่งของไทย เพราะที่ผ่านมานอกเหนือจากข่าวดีในด้านการขยายตลาดและการเติบโตธุรกิจ Bitkub ข่าวด้านลบออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการถูกกล่าวโทษ หรือถูกปรับจาก Regulator อย่าง ก.ล.ต.ที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง

ตลอดจนแผนการตลาดซึ่งเป็นที่ค้านสายตาหลายต่อหลายคน โดยเฉพาะการเชิญชวนเข้ามาลงทุนในเหรียญ KUB ด้วย เม็ดเงินเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับโอกาสของผลตอบแทนในอนาคต "10 บาทก็ลงทุนได้" จนถูกใครต่อใครมองว่าเป็นบ่อนพนัน หนำซ้ำยังแทรกซึมเข้าไปในสถานศึกษาต่างๆ ดึงดูดเข้ามาลงทุน

เรื่องดังกล่าวเห็นได้ชัดจากป้ายโฆษณาชวนเชื่อมต่อโลกอนาคตของ “ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ที่ติดอยู่เต็มบ้านเต็มเมืองอย่างสวยหรู ขณะที่ภาพจริง Bitkub ถูกตรวจสอบ หรือถูกติดตามการกระทำในหลายด้าน อาทิ การปั่นวอลุ่มเทียมหลอกนักเทรดจน ก.ล.ต. ต้องดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 3 ราย กรณีสร้างปริมาณเทียมสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขาย Bitkub วงเงินรวม 24.16 ล้านบาท หลังเชื่อว่า อาจมีการสร้างปริมาณเทียมในศูนย์ซื้อขาย

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาระบบสารสนเทศ และรับงานให้บริการลูกค้าของ Bitkub ก็เคยมีปัญหาจนถูก ก.ล.ต. สั่งให้ดำเนินการแก้ไขหลายครั้ง อาทิ ในช่วงเดือน มกราคม 2564 "บิทคับ ออนไลน์" รายงานเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศที่มีความสำคัญ ประเภทระบบหยุดชะงัก (system disruption) ต่อสำนักงานล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด เป็นจำนวน 6 ครั้ง รวมถึงมีระบบงานในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานไม่รัดกุมเพียงพอเป็นต้น

ไม่เพียงเท่านั้น Bitkub ยังเคยถูกก.ล.ต.สั่งการให้ระงับการเปิดรับลูกค้าใหม่ รวมถึงลูกค้าที่อยู่ระหว่างการดำเนินการยืนยันหรือเพื่อพิสูจน์ตัวตนเพื่อเปิดบัญชี หรือ KYC หลังมีข้อสังเกตว่า บิทคับตอนนั้นปล่อยผี การเปิดบัญชีไม่เป็นไปตาม ก.ล.ต. กำหนดโดยเฉพาะกรณีลูกค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณารับลูกค้าของบริษัทก่อน แม้จะมีมูลเหตุจากการย้ายมาใช้บริการของลูกค้า BX ที่ปิดตัวไปก่อนหน้าหลายแสนบัญชี แต่ใครจะรู้ได้ว่า บัญชีกว่า 3 ล้านบัญชีที่ Bitkub กวาดมาจะมีบัญชีตัวแทน หรือ "นอมินี" หรือบัญชีม้า อยู่มากน้อยแค่ไหนหลุดลอดมา

เจาะตลาดเยาวชนเอาการตลาดนำหน้า

แต่สิ่งที่สังคมรับไม่ได้ และหลายฝ่ายเชื่อว่า อาจทำให้กลุ่มไทยพาณิชย์ต้องคิดทบทวนการเข้าซื้อหุ้น 51% นั่นคือการทำการตลาดของยูนิคอร์นรายนี้ที่ทำทุกวิถีทางที่จะได้ลูกค้ามาเปิดบัญชีเทรดกับตลาดตัวเอง ไม่เว้นแม้แต่เยาวชนที่อ่อนด้อยประสบการณ์ ซึ่งอาจกลายเป็นภาพลักษณ์ให้กับทางไทยพาณิชย์จะได้รับคือ การซื้อ "บ่อนพนัน"

นั่นเพราะการปูพรมกวาดต้อนนักลงทุนหน้าใหม่ไร้ประสบการณ์ นักเรียนมัธยม เด็กมหาวิทยาลัย ที่ยังไม่มีรายได้เป็นของ ตัวเองด้วยแคมเปญเช่น 10 บาทก็ลงทุนได้ สะท้อนให้เห็นว่า Bitkub นั้นเอาการตลาดนำหน้าเพื่อรายได้ เพื่อผลกำไรทางธุรกิจ มากกว่าผลลัพธ์การพัฒนาตลาดคริปโตฯ

เมินแก้เกณฑ์คะแนนเหรียญKUB

อย่างไรก็ตาม เงื่อนงำของ Bitkub ยังไม่จบเพียงแค่นี้ เพราะ ก.ล.ต.ยังมีคำสั่งออกมาอีกฉบับให้ "บิทคับ ออนไลน์" แก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 โดยให้ Bitkub ประสานกับบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (BBT) ซึ่งเป็นผู้ออกเหรียญ KUB ดำเนินการแก้ไขมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจกต์ของเหรียญ KUB ให้เป็นไปตามคะแนนที่ Bitkub ได้พิจารณาไว้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 และให้ Bitkub แสดงหลักฐานอย่างชัดเจนต่อ ก.ล.ต.ว่า มาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจกต์ของเหรียญ KUB เป็นไปตามคะแนนที่ Bitkub ได้พิจารณาไว้

เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เมื่อ Bitkub ได้พิจารณาอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายฯ ของ Bitkub แต่เหรียญ KUB มีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับอนุมัติเข้ามาซื้อขายตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.

นั่นทำให้ ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบการคัดเลือกเหรียญ KUB แล้ว พบว่า Bitkub มีการให้คะแนนการคัดเลือกเหรียญ KUB เพื่ออนุมัติให้เข้ามาซื้อขาย ไม่เป็นไปตาม Listing Rule ขณะเดียวกัน Bitkub ได้ให้คะแนนในเรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีของโปรเจกต์ในระดับที่ "สูงกว่ามาตรฐานและไม่เคยมีมาก่อน" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานและเอกสารที่แสดงให้เห็นว่า เหรียญ KUB มีเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่จริง

นอกจากนี้ Bitkub ยังให้คะแนนในหัวข้อการระดมทุนและหัวข้อส่วนลด Pre-ICO Sale ที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะของเหรียญ KUB ด้วย จึงทำให้ ก.ล.ต. เห็นว่า คะแนนการคัดเลือกเหรียญ KUB โดยรวมไม่ถึงเกณฑ์ที่จะอนุมัติเข้ามาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้

แต่สิ่งที่ชวนให้น่าติดตาม ณ เวลา นั่นคือ หลังจากครบกำหนดเส้นตายเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 65 ของก.ล.ต.แล้ว แต่ Bitkub กลับชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่เพียงพอต่อการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของ บิทคับ ออนไลน์ ในการพิจารณาคุณสมบัติของเหรียญ KUB และบิทคับ ออนไลน์อยู่ในระหว่างการนำส่งข้อมูลและรายละเอียดเชิงลึกของมาตรฐานเทคโนโลยีของเหรียญ KUB ให้แก่สำนักงาน ก.ล.ต. ตามที่มีการร้องขอ

ทั้งนี้ บิทคับ บล็อคเชน ยืนยันว่า เทคโนโลยีของเหรียญ KUB เป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่พร้อมแก่การให้บริการตั้งแต่วันแรกที่มีการออกและเสนอขายให้แก่นักลงทุน ดังนั้น บริษัทฯ จึงเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า เหรียญ KUB เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีโครงสร้างเครือข่ายบล็อกเชนที่ได้มาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้คุมเข้มแต่คนทำก็ยังเมิน

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2565 สำนักงานก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงร่างประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจให้มีความชัดเจนและเหมาะสม สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลของต่างประเทศ และเพิ่มความคุ้มครองแก่ผู้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

โดยในการประชุมครั้งที่ 5/65 ก.ล.ต.ได้จัดทำร่างประกาศเกี่ยวกับการโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจ และเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) การโฆษณาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการแจ้งข้อเท็จจริง ต้องไม่เป็นเท็จ ไม่เกินความจริง ไม่บิดเบือน ไม่ปิดบัง หรือทำให้สำคัญผิดในสาระสำคัญ และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนลูกค้าที่ใช้บริการ ให้ระบุเฉพาะจำนวนลูกค้าที่ได้รับอนุมัติให้เปิดบัญชีและพร้อมใช้บริการแล้วเท่านั้น

(2) กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะจัดให้มีการโฆษณา ต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและค่าใช้จ่ายในการโฆษณา รวมถึงรายละเอียดการจ้างบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจต่อผู้ใช้บริการ (Blogger หรือ Influencer) ต่อ ก.ล.ต.

(3) กำหนดให้มีคำเตือนประกอบการโฆษณาในเรื่องความเสี่ยง โดยรูปแบบการนำเสนอต้องชัดเจน และสังเกตได้ง่าย ต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างครบถ้วน

(4) กำหนดให้การโฆษณาคริปโตเคอร์เรนซีสามารถทำได้ในช่องทางทางการของผู้ประกอบธุรกิจ (Official Channel) เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งเสริมหรือการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อขายแบบฉับพลัน (Impulsive Buying) ขณะที่การโฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจยังคงสามารถทำได้ในพื้นที่สาธารณะและช่องทางอื่นๆ

(5) กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจควบคุมดูแลการโฆษณาของบริษัทในกลุ่มที่อยู่นอกเหนือการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการ รวมถึงผู้ทำโฆษณาและผู้ที่มีผลต่อการตัดสินใจต่อผู้ใช้บริการในสังคมออนไลน์ (Influencer) ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

(6) ยกเลิกการจัดให้มีผู้แนะนำรายชื่อลูกค้า (Introducing Broker Agent : IBA) ของผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการคริปโตเคอร์เรนซี สำหรับการให้บริการโทเคนดิจิทัลยังจัดให้มี IBA ได้ และ (7) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการเผยแพร่โฆษณาอยู่ก่อนวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขการโฆษณาดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศภายในโอกาสแรกที่ทำได้ โดยไม่เกิน 30 วันนับจากวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ

เปิดเฮียริ่งคุณสมบัติกรรมการ

นอกจากนี้ ในวันที่ 26 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ขอรับความเห็นชอบการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท (กรรมการผู้มีอำนาจ) และผู้จัดการ รวมถึงการกำหนดโครงสร้างการบริหาร และองค์ประกอบคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ผู้ประกอบธุรกิจ) ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความเสี่ยงในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อขาย และความเชื่อมั่นต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรวม

และในการประชุมครั้งที่ 6/65 เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา จึงได้มีมติเห็นชอบหลักการในการปรับปรุงหลักเกณฑ์คุณสมบัติของกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจ โดยกำหนดให้ต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และมั่นใจได้ว่าจะสามารถบริหารงาน และบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อขาย และความเชื่อมั่นต่อตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรวม

พร้อมกันนี้ ยังเปิดให้ผู้ที่ได้รับคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สามารถขอรับความเห็นชอบเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจได้ เพื่อให้หลักการด้านคุณสมบัติมีความยืดหยุ่น และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

รวมทั้ง กรณีผู้ประกอบธุรกิจที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าตั้งแต่ 2,000 ล้านบาทขึ้นไปเป็นระยะเวลา 5 วันติดต่อกัน แม้ว่ามูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าที่เก็บรักษาไว้ จะปรับลดลงต่ำกว่าจำนวนดังกล่าวในภายหลังก็ตาม

และต้องกำหนดโครงสร้างการบริหาร และองค์ประกอบคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มเติม เช่น มีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด มีกรรมการอิสระอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของกรรมการตรวจสอบทั้งหมด และกรรมการอิสระต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.

เพื่อให้โครงสร้างการบริหาร และองค์ประกอบของคณะกรรมการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับขนาดธุรกิจและความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งเพื่อให้กรรมการทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ดังนั้นภาพรวม แม้การดำเนินงานของก.ล.ต.ต่อตลาดคริปโตเคอร์เรนซีอาจดูช้าหรืออืดอาด แต่หลายฝ่ายต่างมุ่งหวังว่าก.ล.ต.จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆของธุรกินสินทรัพย์ดิจิทัลให้ครอบคลุมถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน และความเสี่ยงต่างๆที่จะมีผลต่อนักลงทุนได้อย่างครบถ้วน เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดกรณีของ Zipmex และ Bitkub ออกมาให้ปวดหัวอย่างต่อเนื่องจนอาจทำให้ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีที่ใครต่อใครเชียร์ว่าดี ว่าคือโอกาส อาจเป็นเพียงแค่บ่อนพนันที่กรรมการไม่เคยตามทันผู้เล่นได้สักที

อ่านข่าวประกอบเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ Zipmex

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> นักเทรดร้องเสียโอกาส Zipmex อ้างตลาดผันผวน แอปล่ม ปิดฝาก-ถอนเงินฝากและคริปโต

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ก.ล.ต.สั่ง "Zipmex" เร่งแจงปมระงับเพิกถอนเงินบาท - คริปโตฯ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> "เอกลาภ" ออกโรงแจงเหตุมีปัญหา ZipUp เจ๊งจาก Celsius ล้มละลาย ทำให้กระทบสภาพคล่อง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> นักวิชาการคาด Zipmex สูญเงินร่วม 5.5 พันล้านบาท หลัง Celsius ล้มละลาย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ส่องถุงเงิน "ZIPMEX" กำไรปี 64 พุ่งแรง 273% คงสินทรัพย์ 178.59 ล้าน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ZIPMEX เปิดตัวเลข ZipUp ที่ลงทุนใน Babel-Celsius กว่า 1.9 พันล้านบาท หลัง ก.ล.ต. สั่งชี้แจง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> "กรณ์" จี้ ก.ล.ต. 'สางปัญหา' Zipmex เหตุนำสินทรัพย์ดิจิทัลลูกค้าไปหาดอกผล-ให้คนอื่นยืม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> Zipmex แจง 5 ประเด็นปัญหา ZipUp เร่งเดินหน้าหาเงินมาคืนลูกค้า

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> "อาคม" สั่ง ก.ล.ต. เร่งตรวจสอบ-ชี้แจงกรณีปัญหา Zipmex กังวลผลกระทบนักลงทุน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> "ซิปเม็กซ์" ตั้งใจมาโกย? แฉรู้ว่าคู่ค้าเจ๊งแต่ยังอัดแคมเปญรับฝาก เอฟเฟกต์ทำลายเชื่อมั่นคริปโตฯตามรอยบิทคับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ก.ล.ต. เปิดบายพาสให้นักลงใน Zipmex แจ้งผลกระทบความเสียหาย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> นักลงทุน ZIPMEX กว่า 700 คนบุกร้อง บช.สอท. เรียกค่าเสียหายร่วม 600 ล้านบาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ก.ล.ต.หารือร่วม DSI - ปอศ. บูรณาการด้านกฎหมายกรณี Zipmex

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ก.ล.ต. สั่ง ZIPMEX เปิดเทรดตาม Trading rules และฝาก-ถอนสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใน 3 วัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ก.ล.ต. สั่ง ซิปเม็กซ์ ชี้แจงกรณียื่นพักชำระหนี้ต่อศาลสิงคโปร์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ออกแถลงการณ์ต่อกรณี Zipmex

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> "เอกลาภ" แจงผ่านเฟสบุ๊ค การยื่นพักชำระหนี้ในส่วนของ Zipmex Asia ไม่มีผลทางกฏหมายเพราะคนละส่วนกับ Zipmex Thailand

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ก.ล.ต. เล็งบังคับใช้กฏหมาย เรียกบอร์ด "ซิปเม็กซ์" ชี้แจงข้อมูลอย่างละเอียด หลังพบข้อมูลที่ขอมีแต่น้ำไม่มีเนื้อ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ก.ล.ต. สั่ง zipmex แจ้งเจ้าหนี้กรณีการพักชำระหนี้ เพื่อช่วยเจ้าหนี้รักษาสิทธิให้ทันเวลา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> ก.ล.ต.จะกล้าหรือ? เครือข่าย Zipmex นามสกุลดังทั้งนั้น เครืองาม-ยิ้มวิไล-ลิ่มพงศ์พันธุ์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม>>> เหยื่อ Zipmex บุก ก.ล.ต. หวังทวงคืนเงินลงทุน หวั่น "นามสกุลดัง" ทำ ก.ล.ต. เข้าเกียร์ว่าง

อ่านข่าวย้อนหลังเกี่ยวกับ SCBX และ บิทคับ

อ่านเพิ่มเติมในตอนที่ 1 >>> ดีล SCBX ฮุบ Bitkub เริ่มเสี่ยง ได้ไม่คุ้มเสีย? (ตอนที่ 1)

อ่านเพิ่มเติมในตอนที่ 2 >>> KUBCOIN เจ้ามือรวย แมลงเม่าม้วยมรณา (ตอนที่ 2)

อ่านเพิ่มเติมในตอนที่ 3 >>> Bitkub ยูนิคอร์น สายพันธุ์อันตราย?! (ตอนที่ 3)

อ่านเพิ่มเติมในตอนที่ 4 >>> ลัทธิ Bitkub ตัวป่วนวงการ! สวน “ธปท.-ก.ล.ต.” คุมเข้ม (ตอนที่ 4)

อ่านเพิ่มเติมในตอนที่ 5 >>> บิทคับ เทียบ ไบแนนซ์ ค่าต๋งแพง-ค่าถอนโหด กับดักแมลงเม่า (ตอนที่ 5)

อ่านเพิ่มเติมตอนพิเศษ >>> แฉบิทคับเดินสายล้างสมองเยาวชน ผู้บริหาร SCBX พยายามปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ (ตอนพิเศษ)

อ่านเพิ่มเติม>>> “SCBX-Bitkub” ส่อแววดีล ล่ม-เลื่อน

อ่านเพิ่มเติม >>> ราคาเหรียญ KUBCoin ร่วงเหวกว่า -70% จากจุดสูงสุดที่ 580 บาท

อ่านเพิ่มเติม >>> ก.ล.ต.ลงดาบปรับ Bitkub และบอร์ดอ่วม 15 ล้านบาท เหตุคัดเลือกเหรียญ KUB เข้ากระดานเทรดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์

อ่านเพิ่มเติม>>> Bitkub ประกาศเดินหน้าเทรดเหรียญ Bitkub Coin ในกระดานต่อ ชี้เป็นเหรียญมีคุณสมบัติตาม Listing Rule

อ่านเพิ่มเติม >>> 10 บาทก็เล่นได้ เดินสายบิ้วเยาวชน ถึงคราว "บิทคับ" จะซื้อ "เมืองทอง"

อ่านเพิ่มเติม >>> ลือกันสะพัด ท๊อป บิทคับ ไม่ได้ใช้เงินสดสนับสนุนสมาคมบอลนะจ๊ะ หากแต่เป็นคับคอยน์ที่กำลังดิ่งสุดๆ นักเตะไทยใจสู้ๆ อย่าแผ่วตามเหรียญไปซะล่ะ

อ่านเพิ่มเติม >>> ระวัง KUBCOIN สิ้นค่าซ้ำรอย LUNA (1) / สุนันท์ ศรีจันทรา

อ่านเพิ่มเติม >>> ระวัง KUBCOIN สิ้นค่าซ้ำรอย LUNA (จบ) / สุนันท์ ศรีจันทรา

อ่านเพิ่มเติม >>> SCBX ยังไม่ตัดสินใจซื้อ "บิทคับ" รอ "ดีลดิลิเจนท์" ต่อรองราคา มิ.ย.นี้ ก่อนจะประกาศ "ไปต่อหรือล้มดีล"

อ่านเพิ่มเติม >>> ข้อความคลิกKUB Coin สองมาตรฐาน รายย่อยตาย Bitkub อุ้มรายใหญ่ทำกำไร ปั่นเหรียญ ก.ล.ต. ว่ายังไง?

อ่านเพิ่มเติม >>> จาก PROEN ถึง TVD "เสี่ยซ้ง" ทุ่มงบ 13 ล้านซื้อ KUBcoin ทำสัญญาประกันความเสี่ยงไว้ที่ 90 บาท

อ่านเพิ่มเติม >>> รายย่อยว่าไง?? PROEN กางสัญญาขอ Bitkub รับประกันราคาซื้อคืน KUBCoin ไม่ต่ำกว่าราคาทุน

อ่านเพิ่มเติม >>> PROEN หัวจะปวดเตรียมแถลงทุ่มงบซื้อ KUB 2.5 แสนเหรียญ ทุนเฉลี่ย 291 บาท ล่าสุด -65.29%

อ่านเพิ่มเติม >>> บ.ใหญ่เริ่มตรึงราคาไม่อยู่ Bitkub อัดโปร ฯ ดองเหรียญ Kubcoin 1 ปีแจกโบนัส KBTC

อ่านเพิ่มเติม >>> มาจากบิทคับ? จับโป๊ะ ตั๋วแมนยู-ลิเวอร์พูลขายไม่ออกล็อตใหญ่ให้ "พิมรี่พาย" เลหลังมาจากไหน?

อ่านเพิ่มเติม >>> ก.ล.ต. ลงดาบ Bitkub ปรับ 24 ล้านบาท เหตุสร้างปริมาณเทียมสินทรัพย์ดิจิทัล ตะเพิดพ้นบอร์ดบริหาร

อ่านเพิ่มเติม >>> ให้คะแนนเหรียญตัวเองสุดเวอร์ ก.ล.ต.ชี้เหรียญ KUB ขาดคุณสมบัติเทรด บี้ "บิทคับ" แก้ไขใน 30 วัน

อ่านเพิ่มเติม >>> ย้อนรอย “บิทคับ” โดน ก.ล.ต.สั่งปรับ 11 ครั้ง เป็นเงินกว่า 43 ล้านบาท

อ่านเพิ่มเติม >>> "บิทคับ"แถให้คะแนนเหรียญเวอร์ ยันคิดตามหลักเกณฑ์ ก.ล.ต.

อ่านเพิ่มเติม >>> ขาลง “บิทคับ” และ "ท๊อป จิรายุส" / สุนันท์ ศรีจันทรา

อ่านเพิ่มเติม >>> เทแบบสุภาพ SCBX แจ้ง ตลท.เลื่อนดีล "บิทคับ" ไม่มีกำหนด

อ่านเพิ่มเติม>>> เบื้องหลัง SCBX เท “บิทคับ”

อ่านเพิ่มเติม >>> 'บิทคับ' ดื้อแพ่ง! เมินคำสั่งก.ล.ต. ไม่แก้คุณสมบัติอวยเหรียญตัวเองเวอร์ อ้าง "KUB" ได้มาตรฐานตั้งแต่แรก


กำลังโหลดความคิดเห็น