xs
xsm
sm
md
lg

ปตท.สผ.ดึงพันธมิตรลุยโครงการ CCUS ลดการปล่อยคาร์บอนแก้วิกฤตโลกร้อน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หากไม่รีบแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ประเทศไทยจะมากเป็นอันดับ 9 ของโลก ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) ติดลบ 40% เลยทีเดียว

ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานรัฐ เอกชน รวมถึงภาคสังคมที่เข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง และหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้ตามการประกาศเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ที่กำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2608

เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่ม ปตท. ประกอบด้วย บมจ.ปตท. (PTT) บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ.ไทยออยล์ (TOP) บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) และ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ร่วมมือกับพันธมิตรภาคการศึกษาและภาคเอกชน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บมจ.เอสซีจี ซีเมนต์ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด และ บมจ.สหวิริยาสตีล อินดัสตรี ประกาศจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ “CCUS Consortium” ขึ้นมา

โดยมีหน่วยงานภาครัฐและองค์กรสาธารณะเป็นที่ปรึกษา ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดักจับใช้ ประโยชน์ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS) ที่ได้จากภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นับเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือระดับประเทศในการพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพภายใต้ความร่วมมือของภาคเอกชนทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ (Oil & Gas) ซีเมนต์ (Cement) เหล็ก (Steel) เคมี (Chemical) และพลังงาน (Power) ที่ร่วมมือกันผลักดันและพัฒนาเทคโนโลยี CCUS ที่เป็นความหวังทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2608

จ่อปรับเป้าปริมาณขายปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น

มนตรีกล่าวว่า ในเร็วๆ นี้บริษัทเตรียมประกาศตัวเลขเป้าหมายปริมาณการขายปิโตรเลียมในปี 2565 เพิ่มขึ้นอีกจากเดิมที่ตั้งไว้ 4.67 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เนื่องจากบริษัทรับรู้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายก๊าซฯ จากโครงการยาดานา ที่เมียนมาเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นจากเดิม 25.5% ขยับเพิ่มเป็น 37.0842% หลังจากบริษัท TotalEnergies EP Myanmar (TotalEnergies) ของฝรั่งเศสที่ได้ถอนการลงทุนไปจากแรงกดดันด้านสิทธิมนุษยชนมีผลเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 รวมทั้งแหล่งอาทิตย์และแหล่งบงกชก็มีการเร่งผลิตปิโตรเลียมสูงขึ้น เพื่อชดเชยการผลิตจากแหล่งเอราวัณที่มีกำลังการผลิตปิโตรเลียมลดลง รวมทั้งแหล่งปิโตรเลียมอื่นๆ ในต่างประเทศ

ขณะที่ราคาปิโตรเลียมทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของ ปตท.สผ.ในปีนี้ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าในช่วงไตรมาส 3 นี้ราคาน้ำมันค่อนข้างผันผวน แต่ก็ทรงตัวในระดับที่สูง เชื่อว่าในไตรมาส 4/2565 ราคาปิโตรเลียมน่าจะดีดตัวสูงขึ้น เนื่องจากเข้าช่วงฤดูหนาวทำให้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น หากปัจจัยความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนยืดเยื้อต่อไป ทำให้ปี 2565 เป็นปีทองของ ปตท.สผ.อีกปีหนึ่งเลยทีเดียว

ส่วนแหล่งก๊าซเยตากุนที่ถือหุ้นอยู่ 19.31% ทาง ปตท.สผ.ได้แจ้งทางรัฐบาลเมียนมาเพื่อขอถอนการลงทุนในโครงการเยตากุน รวมทั้งยุติการลงทุนในบริษัท ทะนินทะยี ไพพ์ไลน์ จำกัด (TPC) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเยตากุนมายังประเทศไทย เนื่องจากอยู่ในช่วงใกล้สิ้นสุดสัญญาสัมปทานทำให้มีปริมาณการผลิตและจำหน่ายลดลงเรื่อยๆ โดยในปี 2564 แหล่งเยตากุนมีการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติเพียง 17 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 560 บาร์เรลต่อวัน ดังนั้นการถอนการลงทุนจึงแทบไม่มีผลกระทบ

ขณะที่โครงการยาดานา มีปริมาณขายเฉลี่ยอยู่ที่ 770 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นับเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีความสำคัญ เพราะส่งก๊าซธรรมชาติเข้าประเทศไทยประมาณ 550 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าคิดเป็น 17% ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย และ 50% ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประชาชนเมียนมา ทำให้บริษัทต้องยืนหยัดการลงทุนในเมียนมาแม้ว่าจะต้องเผชิญแรงกดดันต่างๆ ในอนาคต เพราะแหล่งยาดานาถือเป็นแหล่งก๊าซที่มีความสำคัญสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ทั้งสองประเทศ


มนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP (ปตท.สผ.) กล่าวว่า บริษัทได้นำองค์ความรู้ และประสบการณ์ทางด้านธรณีวิทยาและวิศวกรรมปิโตรเลียมของการสำรวจและผลิต (E&P) มาต่อยอดในการพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม โดยจะนำคาร์บอนที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียมอัดกลับไปในหลุมผลิตปิโตรเลียมเดิมที่ไม่ได้ผลิตแล้ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่หลายๆ ประเทศประเมินว่าเป็นเทคโนโลยีหลักในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ในปริมาณมากกว่าเทคโนโลยีแบบอื่น

ปตท.สผ.เองก็อยู่ระหว่างการทดลองการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) โดยใช้หลุมผลิตปิโตรเลียมเดิมในแหล่งอาทิตย์ที่บริษัทเป็นเจ้าของสัมปทาน มาใช้กักเก็บคาร์บอนเบื้องต้นประมาณ 4-5 หลุม ตั้งเป้าเฟสแรกจะสามารถกักเก็บคาร์บอนในแหล่งอาทิตย์ได้ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบวิศวกรรมเบื้องต้น (Pre-FEED study) คาดว่าจะเริ่มใช้เทคโนโลยี CCS ในโครงการอาทิตย์ได้ในอีก 4 ปีข้างหน้า

ปตท.สผ.วางงบลงทุนโครงการ CCS ในแหล่งอาทิตย์ 5 ปีนี้ (2565-2569) สูงถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1.1 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว และหากต้องการนำพื้นที่ในอ่าวไทยมาใช้ในการกักเก็บคาร์บอนก็จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเลยทีเดียว

ประเมินว่าในอ่าวไทยสามารถนำหลุมปิโตรเลียมที่ไม่ได้ผลิตแล้วมาใช้ทำการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึงระดับ 40 ล้านตัน แต่ยังติดข้อจำกัดทางกฎหมายในการเข้าใช้พื้นที่ ซึ่งเรื่องนี้รัฐจะต้องดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ไม่มีเจ้าของในอ่าวไทย

ล่าสุดภาครัฐได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาในเรื่องนี้แล้ว ยอมรับว่าหลุมผลิตในแหล่งปิโตรเลียมที่ปตท.สผ.ดำเนินการอยู่ในอ่าวไทยก็มีศักยภาพในการทำโครงการ CCS ไม่ว่าจะเป็นแหล่งบงกชหรือแหล่งเอราวัณ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดความสามารถในการทำโครงการ CCS

มนตรีกล่าวว่า ปตท.สผ.ยังได้ร่วมกับบริษัท อินเป็กซ์ คอร์ปอเรชั่น และเจจีซี โฮลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ในแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม จ.อุดรธานี คาดว่าจะเกิดขึ้นได้เร็วๆ นี้ โดยจะมีการนำคาร์บอนจากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมมาเข้าสู่การกักเก็บด้วย

กอปรกับ ปตท.สผ.ได้ลงนามความร่วมมือกับ 5 บริษัทนานาชาติชั้นนำด้านพลังงานและโลจิสติกส์ ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานต้นแบบผลิตกรีนอีเมทานอล (Green e-methanol) เชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำที่ได้จากการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ชีวภาพที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีที่จะนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ชีวภาพ (Biogenic CO2) และการผลิตกรีนไฮโดรเจน มุ่งเจาะกลุ่มอุตสาหกรรมเดินเรือและการขนส่งของประเทศสิงคโปร์ ที่เป็นศูนย์กลางการเติมเชื้อเพลิงเรือ (Bunkering hubs) ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลก ทำให้มีความต้องการใช้พลังงานที่หลากหลายเพื่อช่วยในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

แม้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยี CCS และ CCUS จะเป็นความหวังในการที่จะช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ภาคอุตสาหกรรมก็ตาม แต่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ยังต้องดำเนินการในหลายด้านควบคู่กัน เช่น การส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า (EV) ทั้งหมด จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเหลือ 160-170 ล้านตันจากที่ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนราว 250 ล้านตัน หักกับโครงการ CCS ในอ่าวไทยอีก 40 ล้านตัน ก็ยังต้องทำ offset อื่นๆ เพิ่มเติมอีก เช่น การปลูกป่า การใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อทำให้ไทยก้าวสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ

สำหรับในด้านองค์กร ปตท.สผ.วางเป้าหมายบริษัทในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593 ผ่านแนวคิด EP Net Zero 2050 ซึ่งหนึ่งในแผนงานที่สำคัญดังกล่าว คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม ด้วยการพัฒนาโครงการ CCS ที่บริษัทได้เริ่มการศึกษาและพัฒนาโครงการ CCS ที่แหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทยเป็นครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2564 รวมทั้งการศึกษาและพัฒนาโครงการ CCS Hub Model ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่ม ปตท. เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมในกลุ่ม ปตท. และอุตสาหกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย หากประสบความสำเร็จจะเป็นอีกธุรกิจใหม่ที่จะสร้างรายได้ให้ ปตท.สผ.อีกช่องทางหนึ่ง


จ่อปรับเป้าปริมาณขายปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น

มนตรีกล่าวว่า ในเร็วๆ นี้บริษัทเตรียมประกาศตัวเลขเป้าหมายปริมาณการขายปิโตรเลียมในปี 2565 เพิ่มขึ้นอีกจากเดิมที่ตั้งไว้ 4.67 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เนื่องจากบริษัทรับรู้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายก๊าซฯ จากโครงการยาดานา ที่เมียนมาเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นจากเดิม 25.5% ขยับเพิ่มเป็น 37.0842% หลังจากบริษัท TotalEnergies EP Myanmar (TotalEnergies) ของฝรั่งเศสที่ได้ถอนการลงทุนไปจากแรงกดดันด้านสิทธิมนุษยชนมีผลเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 รวมทั้งแหล่งอาทิตย์และแหล่งบงกชก็มีการเร่งผลิตปิโตรเลียมสูงขึ้น เพื่อชดเชยการผลิตจากแหล่งเอราวัณที่มีกำลังการผลิตปิโตรเลียมลดลง รวมทั้งแหล่งปิโตรเลียมอื่นๆ ในต่างประเทศ

ขณะที่ราคาปิโตรเลียมทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของ ปตท.สผ.ในปีนี้ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าในช่วงไตรมาส 3 นี้ราคาน้ำมันค่อนข้างผันผวน แต่ก็ทรงตัวในระดับที่สูง เชื่อว่าในไตรมาส 4/2565 ราคาปิโตรเลียมน่าจะดีดตัวสูงขึ้น เนื่องจากเข้าช่วงฤดูหนาวทำให้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น หากปัจจัยความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนยืดเยื้อต่อไป ทำให้ปี 2565 เป็นปีทองของ ปตท.สผ.อีกปีหนึ่งเลยทีเดียว

ส่วนแหล่งก๊าซเยตากุนที่ถือหุ้นอยู่ 19.31% ทาง ปตท.สผ.ได้แจ้งทางรัฐบาลเมียนมา เพื่อขอถอนการลงทุนในโครงการเยตากุน รวมทั้งยุติการลงทุนในบริษัท ทะนินทะยี ไพพ์ไลน์ จำกัด (TPC) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเยตากุนมายังประเทศไทย เนื่องจากอยู่ในช่วงใกล้สิ้นสุดสัญญาสัมปทานทำให้มีปริมาณการผลิตและจำหน่ายลดลงเรื่อยๆ โดยในปี 2564 แหล่งเยตากุนมีการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติเพียง 17 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 560 บาร์เรลต่อวัน ดังนั้นการถอนการลงทุนจึงแทบไม่มีผลกระทบ

ขณะที่โครงการยาดานามีปริมาณขายเฉลี่ยอยู่ที่ 770 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นับเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีความสำคัญ เพราะส่งก๊าซธรรมชาติเข้าประเทศไทยประมาณ 550 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าคิดเป็น 17% ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย และ 50% ของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประชาชนเมียนมา ทำให้บริษัทต้องยืนหยัดการลงทุนในเมียนมาแม้ว่าจะต้องเผชิญแรงกดดันต่างๆ ในอนาคต เพราะแหล่งยาดานาถือเป็นแหล่งก๊าซที่มีความสำคัญสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ทั้งสองประเทศ
กำลังโหลดความคิดเห็น