xs
xsm
sm
md
lg

6 สิ่ง ที่ต้องคำนึงในด้าน Blockchain Trilemma / ปัญญวิทย์ ฉัททันต์รัศมี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า #Blockchain #Trilemma คืออะไร? Blockchain Trilemma คือ 3 ปัจจัยที่ต้องคำนึง: ความกระจายศูนย์ (Decentralization), ความปลอดภัย (Security) และความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability)

กำแพงสำคัญที่ผู้พัฒนาเครือข่ายบล็อกเชนต้องพิจารณาเสมอในการสร้างเครือข่ายบล็อกเชนนั่นก็คือ "Blockchain Trilemma" หรือกำแพงที่ขัดขวางไม่ให้บล็อกเชนสามารถบรรลุทั้งความกระจายศูนย์ (Decentralization) ความปลอดภัย (Security) และความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability) ได้พร้อม ๆ กัน


เครือข่ายบล็อกเชนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum และเครือข่ายอื่น ๆ ไม่สามารถมีคุณสมบัติทั้ง 3 อย่างนี้ได้พร้อม ๆ กัน นักพัฒนาสามารถเลือกที่จะให้บล็อกเชนของตนมีคุณสมบัติได้เต็มที่เพียง 2 ใน 3 และจำเป็นต้องสละอีก 1 คุณสมบัติไป

ในข้อมูลจากเดือน June 2022 ปัจจุบัน มีคนถือครองคริปโตประมาณ 4.4% ของ ประชากรโลก

1. #Wealth Decentralisation (การกระจายศูนย์ ของความมั่งคง)

ตั้งแต่ Bitcoin เปิดตัวขึ้นปี 2009 จะมี ค่าที่เรียกว่า “Gini coefficient” หรือ ค่าการกระจายศูนย์ ของความมั่งคง ผู้ที่ถือครอง #บิตคอยน์ … ค่าเหล่านี้ มีอัตราการเติบโตลดลง แสดงว่า กระจายศูนย์ มีการพัฒนาที่ดีขึ้น

#Bitcoin - 0.48
#Ethereum - 0.63
China - 0.70
U.S. - 0.85


2. #Consensus Decentralisation (การกระจายศูนย์ ของฉันทามติ)

Consensus Mechanisms - แปลแบบยาก " คือ ฉันทามติ ข้อตกลงที่ใช้ร่วมกันระหว่าง node ในการทำให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นชุดเดียวกัน"

ขอแปลง่าย+อธิบายเพิ่มนิดหน่อย คือ การที่เราส่งข้อมูลไป เรารู้ได้ยังไงว่า ข้อมูลถูกต้อง? คนส่ง ข้อความ "สวัสดี" คนรับได้ "ลาก่อน" หรือเปล่า? แต่ถ้ามี 10คน 100 คน ช่วยตรวจทาน (validator) และระหว่างทาง ก็จะทำให้ชุดข้อมูลที่ส่ง มั่นใจมากขึ้นมากๆ ว่าส่งถูกต้อง ฉันทามติ คือช่วยให้มีการตรวจทานเสมอว่า ข้อมูลถูกต้อง 100%

ปัจจุบัน เหมืองขุด #BTC ที่ชื่อว่า Foundry USA มี hashrate (จำนวนพลังที่ใช้ในการขุดเหรียญ) ที่สูงถึง 22.7% ในเดือน Jun 2022

สำหรับ เหมืองขุด #ETH ประมาณ 45% ของ Node ทั้งหมดอยู่ที่ อเมริกา และ อันดับที่ 2 คือ เยอรมัน ประมาณ 129%

Node คืออะไร? อาจจะเข้าเทคนิคคอลไป ผมขอสรุปให้เข้าใจว่า มันคือ หนึ่งในผู้ช่วยผู้แล ว่าธุรกรรม ถูกต้อง โปร่งใส ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ กระจายศูนย์


3.#Developer Decentralisation (การกระจายศูนย์ ของผู้พัฒนา)

โดยทั่วไป เมื่อมีผู้เข้าร่วมในระบบ บล็อกเชน เพิ่มขึ้น จะแปลว่า การกระจายศูนย์ ดีขึ้น

สำหรับ #บิทคอยน์ นั้น กลุ่มนักพัฒนาที่ดังคือ ก็หนีไม่พ้น ทีม “Bitcoin Core” นั่นเอง และ ETH ทีมจะเป็น Geth (Go Ethereum)


4.Scalability solutions are either Layer 1 or 2 (การ Scale ของ platform จะขึ้นอยู่กับ Layer 1 หรือ Layer 2)

คำศัพท์เพียบ ขอลงทีละคำ:

Scalability = ความสามารถของกระบวนการ ระบบปฏิบัติการ > ให้บล็อกเชนทำงานไวขึ้น 10 เท่า 100 เท่า

Layer 1 & Layer 2 = กึ่งว่า ระบบบล็อกเชน อย่าง Ethereum / BSC / Solana / สามารถทำงาน platform ที่ สร้างให้มากกว่า เงินสกุลดิจิตอล โดยใช้ Smart Contract & dApps สร้างเสริมกัน

Alt L1's - Layer 1 platform ที่ส่วนใหญ่ fork (ลอกการบ้าน) มาจาก Ethereum นั่นละ หรือ บางตัวก็สร้างใหม่ ก็มี
platform เหล่านี้ มองว่า Ethereum ทั้งเก่า ทั้งช้า ทั้งแพง ก็จะอยากเป็น เทคฯ ที่เหนือชั้นกว่า โดยมาแก้ปัญหา scalability trilemma (ไว้ค่อยอธิบายเพิ่มนะครับ คำนี้คืออะไร)

ส่วนบทความ: บทวิเคราะห์ คาดการณ์ว่า การทำงานบล็อกเชน สามารถนำมาใช้ในโลกจริงได้หลายอย่าง เช่น Payment Channel หรือ ทำ Gateway ให้ P2P

การที่จะเลือกว่า ธุรกรรม/ธุรกิจ แบบไหนควรใช้ Solution อะไร เป็นสิ่งที่ต้องคำนงอย่างยิ่ง (ยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพคือ เช่น รถกระบะไว้ขนลูกโป่งเป่าแล้ว ก็คงไม่คุ้มค่า หรือ รถมอเตอร์ไซค์ เอาไปแบกปูน 1 ตัน ก็คงไม่ไหว)


5.#L2 solutions mainly focus on Rollups and Sidechains (Layer 2 จะมุ่งไปยัง Rollups และ Sidechains มากขึ้น)

ปัจจุบัน เทคโนโลยี อย่าง Optimistic Rollup ถือว่า โด่งดังที่สุด และมีการใช้งานเยอะสุดแล้ว (เช่นในกลุ่มคนไทย ไปสร้าง NFT มากมาย) และ มี TVL (Total Value Lock) มูลค่าสินทรัพย์ภายใน platform อยู่ประมาณ $2.7 พันล้านดอลลาร์


6.#Security - The major L1 blockchains cover: (ความปลอดภัยของบล็อกเชน Layer ทั้งหลาย)

ทางหลายๆ บล็อกเชน ได้มีการทำการพัฒนาให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น สร้างเกราะให้โดนโจมตีได้ยาก และ ค้นหาพาร์ทเนอร์ที่ช่วยดูแลในเรื่องความปลอดภัย/การออดิท ให้เหมือนมีภูมิคุ้มกัน ที่ดี


บทความนี้ เป็นเพียงแค่การเกริ่นน้ำจิ้มของ Blockchain Technology เท่านั้น ที่ยังมีปัจจัยอีกมากที่ต้องคำนึงถึง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Crypto.com Research & Insights


ปล. บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุนครับ #NFA !!

#EarthDeFIRE รายงาน

บทความโดย : ปัญญวิทย์ ฉัททันต์รัศมี นักลงทุนรุ่นใหม่ เจ้าของเพจให้ความรู้ด้านตลาดคริปโตฯ Earth DeFIRE


กำลังโหลดความคิดเห็น