xs
xsm
sm
md
lg

“โฮปเวลล์"จ่อฟ้องอาญา”นักการเมือง-บิ๊กรฟท.”ยื้อคดีทำค่าเสียหายเพิ่ม 2.7หมื่นล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


แฟ้มภาพ
ผู้บริหารโฮปเวลล์ตั้งโต๊ะแถลงทวง"คมนาคม-รฟท." คืนเงิน 1.18 หมื่นล้าน วอนหยุดใช้กฎหมาย ยื้อคดี ชี้คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ถึงที่สุดแล้ว กระทบความเชื่อมั่นลงทุน จ่อฟ้องอาญาทุจริต”นักการเมือง-บิ๊กรฟท.”ยื้อคดี เผยหนี้เพิ่ม 2.7หมื่น
วันนี้ (21 มิ.ย.2565) นายคอลลิน เวียร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วยนายสุภัทร ติระชูศักดิ์ ฝ่ายกฎหมาย บริษัท โฮปเวลล์ และนายวัฒนชัย คุ้มสิน วิศวกร บริษัท โฮปเวลล์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวทวงถามความเป็นธรรมจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเคยเป็นคู่สัญญาในสัญญาสัมปทานโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Elevated Road and Train System-BERTS) มูลค่า 80,000 ล้านบาท

นายคอลลิน เวียร์ กล่าวว่า นับจากรัฐบาลไทย โดยกระทรวงคมนาคมและ รฟท. ได้บอกเลิกสัญญาเมื่อปี 2541 และบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะอนุญาโตตุลาการ โดยขอให้คณะอนุญาโตตุลาการ มีคำวินิจฉัยให้คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายคือ รฟท. และบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัดคืนสู่สถานะเดิม พร้อมกับคืนเงินตอบแทน และเงินลงทุนที่ได้ลงทุนไปแล้ว ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดตามที่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ร้องขอออกมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 แต่ทั้งกระทรวงคมนาคม และ รฟท. กลับยังมิได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

“สาระสำคัญในคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 ระบุให้คืนสถานะเดิมแก่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และให้ รฟท.คืนเงินตอบแทน เงินลงทุน รวมทั้งหนังสือค้ำประกันสัญญาสัมปทานและค่าธรรมเนียมแก่บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด รวมทั้งสิ้น 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี”

และจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งปี 2562 ให้ดำเนินตามคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการถึงวันนี้ ทั้งกระทรวงคมนาคม และ รฟท. ยังมิได้ดำเนินการใด ๆ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ทั้งที่เป็นคำวินิจฉัยที่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งได้มีการลงนามร่วมกันตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2533 ยิ่งไปกว่านั้นทั้งกระทรวงคมนาคม และ รฟท. ยังแสดงท่าทีที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอย่างชัดเจน โดยพยายามใช้กลไกทางกฎหมาย ประวิงเวลา และไม่เคารพคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่ได้วางบรรทัดฐานการวินิจฉัยคดีในลักษณะเดียวกันมามากกว่า 50 คดี รวมถึงความพยายามทำให้บริษัท โฮปเวลล์  เป็นโมฆะหรือสิ้นสภาพ

“หากชดใช้ค่าเสียหายตั้งแต่ปี 2562 จำนวน 18,888 ล้านบาท แต่ไม่ยอม ถึงวันนี้ เพิ่มเป็น 27,000 ล้านบาท แล้ว และยังมีความพยายามที่จะไม่ต้องคืนเงินให้แก่โฮปเวลล์ฯ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่นการลงทุนของประเทศไทย ต่อนานาชาติ รวมทั้งไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความซื่อสัตย์สุจริตในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ที่พึงต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามคำพิพากษาอย่างเคร่งครัด ”

ส่วนที่มองว่า บริษัทฯสมคบ มาโกงประเทศไทยนั้น ต้องมองว่า บริษัทฯได้เข้ามาลงทุนก่อน จ่ายเงินก่อน โดยรัฐไม่ต้องจ่ายอะไร หากบริษัทฯจะโกง คงไม่จ่ายเงินไปมากขนาดนี้ ซึ่งคำชี้ขาดอนุญาโตฯ ให้ชดใช้บริษัทฯ ยังไม่ครอบคลุมเงินที่บริษัทฯได้จ่ายไปเลย

@เตรียมฟ้องคดีอาญา-ปปช. นักการเมือง ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง
นายสุภัทร ติระชูศักดิ์ ฝ่ายกฎหมาย บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การที่บริษัทฯออกมาแถลงข่าวต่อสื่อ ต้องการให้ประชาชนคนไทยรับทราบ ว่า บริษัท ไม่ได้รับความเป็นธรรม และต้องการเงินที่ได้ลงทุนไปคืน ตามกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ประสงค์ค้าความ แต่หากการดำเนินการของรัฐที่ทำให้บริษัทฯเสียหาย จำเป็นต้องปกป้องสิทธิ์

ที่ประชุมบริษัทฯได้มีการพิจารณา และมีแนวคิดที่จะดำเนินการที่จะฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การร้องเรียนต่อ ปปช.ในเรื่องการกระทำผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่สร้างความไม่เป็นธรรม ความเสียหายต่อบริษัท และทำให้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้น เป็นภาระภาษีของประชาชน ซึ่งทั้งผู้บริหารรฟท. รัฐมนตรีคมนาคม อยู่ในข่ายเกี่ยวข้อง ส่วนจะฟ้องอาญาเมื่อใด บริษัทฯจะพิจารณาตามข้อเท็จจริงเป็นระยะๆ

นายสุภัทรกล่าวว่า ตามคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลากร ปี 2551 ให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท. คืนเงินค่าตอบแทนจำนวน 2,850 ล้านบาท คืนเงินที่บริษัท ฯได้จ่ายไปแล้วบางส่วน จำนวน 9,000 ล้านบาท คืนหนังสือค้ำประกันสัญญา และคืนค่าธรรมเนียมการออกหนังสือค้ำประกัน จำนวน 38,749,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี รวมเป็น 18,888 ล้านบาท ซึ่งนับถึงปัจจุบันค่าเสียหายอยู่ที่ประมาณ 27,000 ล้านบาท แล้ว โดยมีค่าดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 2.4 ล้านบาท

“โครงการโฮปเวลล์มีมูลค่า 8 0,000 ล้านบาท บริษัทฯลงทุนไปแล้วประมาณ 19,000 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างราว 16,000 ล้านบาท เมื่อถูกเลิกสัญญา วงเงินที่นำเข้าเข้าอนุญาโตตุลาการคือ 14,000 ล้านบาท โดยอนุญาโตฯชี้ขาดให้ที่ วงเงิน 9 ,000 ล้านบาท บวกดอกเบี้ย”

ภายหลังศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาเป็นที่สุด เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ให้กระทรวงคมนาคม และรฟท. ปฎิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งหลังจากนั้น บริษัท โฮปเวลล์ ได้มีการเจรจากับ กระทรวงคมนาคมและรฟท.3 ครั้งเพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งขณะนี้วงเงินค่าเสียหายอยู่ที่ 22,000 ล้านบาท โดยบริษัทฯได้เสนอลดค่าเสียหายเหลือ 18,000 ล้านบาท บวกเงื่อนไขค่าดอกเบี้ยเจ้าหนี้ โดย มีกรอบเวลารัฐยืนยัน แต่รัฐไม่ตอบรับ แต่กลับเปิดคดีใหม่ฟ้องร้องบริษัทฯ อีก

ทั้งร้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ,ร้องศาลปกครองเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตฯ ,ร้องผู้ตรวจการแผ่นดินให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ที่ 18/2545 ,ร้องศาลแพ่งเพิกถอนการจัดตั้งบริษัทฯ,ฟ้องศาลปกครองเพิถอนคำสั่งรับจดทะเบียนบริษัทฯ,ร้องกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐและกรรมการบริษัทฯกล่าวหาจัดตั้งบริษัทฯมิชอบ

“บริษัทจดทะเบียนปี 2533 แต่ปี2564 ฝ่ายรัฐบอกบริษัทก่อตั้งไม่ถูกต้อง บริษัทฯไม่มีตัวตน เรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์ยืนยันมาแล้ว แต่ กระทรวงคมนาคม รฟท.ไปฟ้องศาลปกครอง ฟ้องนายทะเบียน ซึ่งศาลยกคำฟ้องทั้งหมด ซึ่งเรื่องจดทะเบียนบริษัทฯ และรฟท.ทีหนังสือยืนยันเมื่อ 24 ตุลาคม 2533 แล้ว แต่ปี 2564 กลับมีการฟ้อง บริษัทฯจึงรับไม่ได้”

@พร้อมเจรจาใหม่ ชี้ค่าเสียหายบาน 2.7 หมื่นล้านบาท

ขณะนี้ หากรัฐต้องการเจรจา สามารถเริ่มต้นกันใหม่ ตัวเลขค่าเสียหายปัจจุบันที่ 27,000 ล้านบาท แม้จะมีคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ระงับการบังคับคดีอนุญาโตฯ แต่ไม่ได้ลบล้างคำชี้ขาดอนุญาโตฯ ดังนั้น ดอกเบี้ยยังคงเพิ่มทุกวัน ยอดค่าเสียหาย จึงเพิ่มไปด้วย

ด้านนายวัฒนชัย คุ้มสิน วิศวกร บริษัท โฮปเวลล์ฯ กล่าวว่า อุปสรรคใหญ่ในการก่อสร้างโครงการ คือ รฟท. ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ เพราะมีการบุกรุกตั้งแต่ยมราช โคลีเซียม ตลอดแนวเส้นทาง

นอกจากนี้ยังมีปัญหาจุดตัดกับโครงการอื่น ที่ทำให้โฮปเวลล์ต้องปรับแบบ เช่น จุดตัดทางด่วนขั้นที่ 2 บริเวณพระราม6 หรือ จุดตัดทางลงดอนเมืองโทลล์เวย์ ที่บางเขน และแจ้งวัฒนะ ซึ่งให้โฮปเวลล์ ต้องปรับแบบ ยกระดับโครงสร้างรถไฟขึ้นอีก1 ระดับจาก รถไฟที่อยู่ชั้น 2 ขึ้นเป็นชั้น 3 เพื่อให้ทางด่วนอยู่ในระดับที่2 เมื่อตัดกัน ซึ่งในแง่เทคนิค มีความยุ่งยาก เพราะรถไฟต้องมีระยะทางในการไต่ระดับ ประกอบกับรฟท. มีการอนุมัติแบบล่าช้า

"เป็นเรื่องแปลกที่โฮปเวลล์ มาก่อน แต่ต้องปรับแบยให้โครงการมาทีหลัง และเป็นการยกของหนกหนีของเบาอีก จนฝ่ายรัฐบอกเลิกสัญญาสัมปทานก็ยังแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไม่หมด บริษัทฯ มีความพร้อมในการก่อสร้าง มีการสำรวนออกแบบและจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด



แฟ้มภาพ


กำลังโหลดความคิดเห็น