xs
xsm
sm
md
lg

วิกฤติคริปโต 2018 vs 2022 ต่างกันอย่างไร?? / ณพวีร์ พุกกะมาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ตลอดระยะสิบกว่าปีที่ Bitcoin เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ได้ผ่านทั้งวัฏจักรขาขึ้นและขาลงมาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งจะมีทั้งความเหมือนและความต่างกันทั้งในแง่ของสาเหตุของการเกิดตลาดหมีรวมถึงระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น เราลองไปย้อนดูอดีตกันว่าวิกฤตขาลงของ Bitcoin แต่ละครั้งเกิดอะไรขึ้น และขาลงในรอบปัจจุบันต่างหรือเหมือนจากในอดีตอย่างไร

ตลาดหมีครั้งแรกของ Bitcoin เกิดขึ้นในปี 2011 โดยราคาปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด 29 ดอลลาร์มาอยู่ที่ 2.10 ดอลลาร์ หรือลดลงกว่า -93% ภายในระยะเวลา 4 เดือนเท่านั้น ส่วนตลาดหมีรอบที่สองของ Bitcoin เกิดขึ้นในปี 2014 โดยปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด -85% ภายในระยะเวลาหนึ่งปี

สาเหตุที่ทำให้เกิดตลาดหมีครั้งที่สองเนื่องจากเวบไซต์ Silk Road ซึ่งนำ Bitcoin มาใช้ในการซื้อขายของที่ผิดกฎหมายรวมถึง Exchange รายใหญ่ของโลกในตอนนั้นอย่าง Mt.Gox ต้องปิดตัวลง สะท้อนว่าในอดีต Bitcoin ถูกใช้งานเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น

มาถึงตลาดหมีในปี 2018 ก่อนหน้านั้นในปี 2017 ราคา Bitcoin ปรับตัวขึ้นอย่าร้อนแรงตลอดทั้งปีจากระดับเพียงแค่ 2,000 ดอลลาร์ ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ระดับ 19,640 ดอลลาร์ ก่อนจะปรับตัวลงตลอดทั้งปีกว่า 85% ลงมาทำจุดต่ำสุดที่ 3,500 ดอลลาร์ ก่อนที่จะผันผวน Sideway ตลอดทั้งปี 2019 และเริ่มกลับมาเป็นขาขึ้นในปี 2020 หลังเหตุการณ์ Black Thursday

ต้นเหตุของขาลงในรอบนั้นมาจากการแตกของฟองสบู่ไอซีโอ (ICO Bubble) โดยมีการเก็งกำไรในราคาเหรียญที่มีการเสนอขายกับนักลงทุนเป็นจำนวนมากแต่โปรเจกต์ส่วนใหญ่กลับไม่สามารถใช้งานได้จริงจนสุดท้ายเกิดฟองสบู่แตกประกอบกับการที่ประเทศจีนแบน Cryptocurrency ทั้งหมด กดราคา Bitcoin เป็นขาลงยาวนานเกือบสองปีหรือที่เรียกกันว่า Crypto Winter

มาถึงตลาดหมีรอบล่าสุดในปัจจุบัน ราคา Bitcoin ขึ้นไปทำจุดสูงสุด 69,000 ดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน 2021 หลังจากนั้นราคาปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนมิถุนายนปี 2022 โดยลงมาทำจุดต่ำสุดที่ราคา 20,500 ดอลลาร์ (ราคา ณ วันที่ 15 มิถุนายน) โดยเป็นการปรับตัวลดลง -70% จากจุดสูงสุด

ความแตกต่างและระหว่างวิกฤตในปี 2018 และ 2022 คือในปี 2018 ตลาดขาลงมาจากการหมดความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี แต่ปี 2022 เกิดจากความวิตกกัวลของนักลงทุนที่มีต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯทำให้ต้องมีการขายสินทรัพย์ที่ได้เคยได้ประโยชน์จากนโยบายการเงินผ่อนคลายหรือคิวอีทั้ง Bitcoin และหุ้นเทคโนโลยีออกมา

แต่พื้นฐานของ Bitcoin ไม่ได้เปลี่ยนไปในแนวทางที่แย่ลงแต่อย่างไร ขณะที่เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในช่วงขาขึ้นปี 2020-2021 อย่าง DeFi,GameFi และ NFT แม้ว่าจะยังมีข้อบกพร่องอยุ่มากแต่ถือได้ว่าพัฒนาขึ้นมาจากยุค ICO Bubble อย่างมาก

ถ้าหากความกังวลของนักลงทุนต่อนโยบายของ FED เริ่มลดลง ยังมีความเชื่อว่าตลาดคริปโตและ Bicoin ยังมีโอกาสที่จะฟื้นกลับขึ้นมาได้ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นอย่างเร็วในไตรมาสสี่ปีนี้หรือต้นปีหน้า

ยกเว้นแต่เกิดการล่มสลายของโปรเจกต์คริปโตต่างๆแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับ LUNA และ UST ขึ้นอย่างต่อเนื่องตลาดอาจจะซึมต่อไปและเข้าสู่ Crypto Winter ขึ้นอีกครั้งซึ่งตลาดหมีอาจจะกินเวลาไปอีกหนึ่งปีจนกว่าจะถึง Bitcoin Halving รอบต่อไป

"อย่างไรก็ตามสิ่งที่เหมือนกันของตลาดหมี Bitcoin ก็คือภาวะฟองสบู่แตกจากกระแสความนิยมในคริปโตที่เฟื่องฟูก่อนหน้านี้ เมื่อใดที่กระแสนิยมหดหายไป เราอาจจะได้เห็นการกลับมาฟื้นตัวเป็นตลาดขาขึ้นรอบใหม่ก็เป็นได้ซึ่งจะเป็นโอกาสของ Smart Money ที่มองการลงทุนระยะยาวและให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานมากกว่าการเก็งกำไรครับ"

บทความโดย : ณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS)


กำลังโหลดความคิดเห็น