xs
xsm
sm
md
lg

หุ้นชิ้นส่วนอิเล็ก ฯ รับผลน้ำท่วม วัสดุก่อสร้าง-คอนซูเมอร์สดใส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



เปิดโผ หุ้นรับมือความเสี่ยงสถานการณ์น้ำท่วม กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ฯ รับผลกระทบมากน้อยแตกต่างเพราะโรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในนิคม ส่วนค้าปลีกเป็นสินค้าจำเป็นต่อการอุปโภคบริโภค ขณะหุ้นวัสดุก่อสร้างและบริหารบำบัดน้ำล้วนสดใสหลังน้ำ รวมถึงกลุ่มโรงพยาบาลปริมาณผู้ป่วยเพิ่มจากภัยน้ำท่วม ตบท้าย TASCO ช่วงท้ายปีเป็นวัฏจักรขาขึ้น หลังน้ำลดการซ่อมแซมถนนเพียบ แถมมีโรงกลั่นยางมะตอยเป็นของตัวเอง หนุนกำไรพุ่งทะลุพันล้านบาท 

จากสถานการณ์มหาอุทกภัยน้ำท่วม 2564 เพราะเป็นผลพวงจากพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้เกิดฝนตกหนัก ถล่ม 40 จังหวัดทั่วประเทศ ทำให้เกิดน้ำท่วม พื้นที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน สร้างความเดือนร้อนให้กับพี่น้องประชาชนจำนวนมาก แต่ยังมีพื้นที่ที่สามารถรอดพ้นจากภัยวิกฤตเตี้ยนหมู่ในครั้งนี้ได้ ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว สถานการณ์เลวร้ายพอ ๆ หรืออาจมากกว่าปี 54 เสียด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียน (บจ.) 30 แห่งที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม เพราะต้องปิดโรงงานผลิตโดยไม่มีกำหนด และอาจทำให้รายได้ในอนาคตลดลง 50% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็กและมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เพียง 1% ของมาร์เก็ตแคปโดยรวม ซึ่ง ตลท. หารือกับบริษัทที่ได้รับผลกระทบเพื่อช่วยผู้ประกอบการ

โดย บจ.หลายแห่งมีโรงงานผลิตอยู่ในนิคมต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่าง บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA,บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TRT ,บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ AKR และ บริษัท ล่ำสูง จำกัด (มหาชน) หรือ LST,บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ HFT, บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด (มหาชน) หรือ COLOR, บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)หรือ SAT,บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จํากัด (มหาชน) (KCE) เป็นต้น

อนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการ DELTA ประเมินว่าผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมน้อยมาก โดยมองว่าสถานการณ์น้ำท่วมน่าจะดีขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากทางเข้าของบริษัทเป็นลักษณะแอ่งกระทะ จึงทำให้มีปริมาณน้ำท่วมจำนวนมาก ซึ่งบริษัทได้เข้าหารือกับผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หาทางแก้ไขปัญหา และไม่มีผลกระทบต่อยอดการผลิตของบริษัท เนื่องจากสามารถใช้โรงงานอื่นเข้ามาทดแทนได้ และครื่องจักรที่โรงงานในนิคมฯบางปู ก็ไม่ได้รับความเสียหาย

จวง จื้อ เหยา รองประธานกรรมการ HFT เผยว่าน้ำท่วมเพียงที่ลานจอดรถเท่านั้น และในส่วนของโรงงานไม่มีน้ำเข้ามาท่วม ดังนั้นบริษัทยังคงดำเนินงานตามปกติ ขณะที่เครื่องจักรของบริษัทก็ไม่ได้รับความเสียหาย เพราะระดับพื้นโรงงานอยู่ในระดับที่สูง ขณะเดียวกันบริษัทจัดเตรียมได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้พร้อมหากมีน้ำท่วมฉับพลัน

พีรพันธ์ จิวะพรทิพย์ กรรมการผู้จัดการ COLOR เผยว่า โรงงานของบริษัทตั้งอยู่บนพื้นสูงและเตรียมความพร้อมไว้เต็มที่ ขณะนี้ยังคงเดินกำลังการผลิตได้ตามปกติ และสต๊อกสินค้ายังอยู่ดี จึงมั่นใจว่าจะส่งออเดอร์ให้แก่ลูกค้าได้ครบตามกำหนด ดังนั้น แม้น้ำเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปูครั้งนี้ ไม่มีผลต่อผลดำเนินงาน

กูรู เปิดโผ 12 หุ้น รับมือน้ำท่วม

บล.เอเซียพลัส (ASPS) ประเมินถึงเหตุการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดปัจจุบันนี้ รวมถึงการปรับตัวลงของลาดหุ้นไทยที่สวนทางตลาดหุ้นภูมิภาค ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากนักลงทุนกังวลประเด็นน้ำท่วมมีโอกาสเกิดมากขึ้น ประเมินว่าปัจจุบันมีจังหวัดที่เฝ้าระวัง และ ถูกน้ำท่วมไปแล้ว 29 จังหวัด มีสัดส่วน GDP ราว 27.3% ของประเทศ หากย้อนกลับไปดูตลาดหุ้นไทยช่วงที่เกิดวิกฤตน้ำท่วมในปี 2554 พบว่า ภายในระยะเวลา 2 เดือน ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงไปถึง -24.5% แล้วใช้เวลาฟื้นกลับมาถึง 5 เดือน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่หุ้นทุกตัวจะถูกผลกระทบแรงทั้งหมด ดังนั้น ฝ่ายวิจัยจึงทำการวิเคราะห์ และ ค้นหาหุ้นที่เป็นเหมือนถุงยังชีพติดพอร์ต เพื่อหลบ หรือ ลดความเสี่ยงจากกรณีน้ำท่วม

แนะหุ้นโรงพยาบาล - ค้าปลีก - ซ่อมบ้าน

หุ้นปลอดภัยได้กระแสการรักษาโรคจากเหตุน้ำท่วมอย่าง กลุ่มโรงพยาบาล แนะนำ BDMS, BH, BCH เป็นทั้งหุ้นผันผวนต่ำเหมาะกับการหลบความผันผวนของตลาด บวกกับปริมาณผู้ป่วยที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากภัยน้ำท่วม และหุ้นที่จำหน่ายสินค้าจำเป็นเกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค อย่าง กลุ่มค้าปลีก หรือ อาหาร แนะนำ CPALL, BJC, CRC, TU ได้แรงหนุนจากความต้องการสินค้าจำเป็นในการยังชีพมากขึ้น และ หุ้นที่เกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านเรือน และ สถานที่ หลังน้ำท่วม แนะนำ TASCO (ซ่อมแซมถนน), HMPRO, GLOBAL, DCC, DRT(ซ่อมแซมบ้านเรือน)

อย่างไรก็ดี ในทางกลับกัน กลุ่มหุ้นที่อาจได้รับผลกระทบช่วงสั้น คือ หุ้นที่มีโรงงานหรือกิจการส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม อาทิ กลุ่มนิคม, กลุ่มอิเล็กฯ, กลุ่มยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งนักลงทุนต้องคอยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความเสี่ยงพอร์ตช่วงสั้นได้ทันเวลา  สำหรับกลยุทธ์การลงทุนภายใต้สถานการณ์เฝ้าระวังน้ำท่วม แนะนำหุ้นที่เป็นเหมือนถุงยังชีพติดพอร์ตอย่าง CPALL, CRC, และ DOHOME เป็น Toppick

เก็บหุ้นกลุ่มรับผลดีหลังน้ำท่วม

บล. หยวนต้า(ประเทศไทย) ประเมินหุ้นที่ได้รับผลบวกและลบจากการเกิดน้ำท่วมปีนี้ คาดปีนี้น้อยกว่าปี 54 อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามปริมาณน้ำฝนหลังจากนี้ ว่าจะเร่งตัวขึ้นหรือไม่ และจะตกเหนือเขื่อนหรือใต้เขื่อน เพราะจะมีผลกับคาดการณ์ภัยแล้งและน้ำท่วมในปีถัดไป หุ้นได้ประโยชน์หรือมักแกว่ง Outperform ในช่วงน้ำท่วม คือ สื่อสาร ค้าปลีก โรงไฟฟ้าเขื่อน และที่ปรึกษาจัดการน้ำ ส่วนหุ้นที่จะได้ประโยชน์หลังน้ำลดคือ วัสดุก่อสร้าง สินเชื่อส่วนบุคคล เครื่องจักรการเกษตร แนะนำให้ “ซื้อเก็งกำไร” กลุ่มสื่อสาร ค้าปลีก และผู้ที่มีโอกาสได้งานวางระบบน้ำ ADVANC, INTUCH, CPALL, BJC, CRC, STI, TEAMG และค่อยสลับไปกลุ่มวัสดุก่อสร้างและเครื่องจักรการเกษตรหลังน้ำลด SCC, TASCO, DCC, DRT, SAT

ดังนั้น แนะนำหุ้นอย่าง DOHOME แนวโน้ม SSSG ในไตรมาส 3/64 ยังเป็นบวกต่อเนื่องระดับ 14-16% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และคาดทั้งปี 64 จะมี SSG เป็นบวกที่ระดับ 17-20% จากปีก่อน ขณะครึ่งปีหลังปี 64 ยังคงแผนเปิดสาขาใหม่ อมตะนคร จ.ชลบุรี และใน จ.สุราษฎร์ธานี ในปี 65 พร้อมเปิดอีก 5 แห่ง คาดจะยังได้เห็นการเติบโตของกำไรราว 400-450 ล้านบาท คาด SSSG และผลประกอบการจะดีขึ้นในไตรมาส 4/64 เข้าสู่ช่วงฤดูกาลซื้อ และมีซ่อมแซมจากน้ำท่วมเป็นตัวหนุน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 31.20 บาท

ขณะที่ TASCO ได้แรงหนุน ประเมิน Deman ทั้งประเทศและต่างประเทศจากเหตุการณ์น้ำท่วมในจีนซึ่งอาจส่งผลให้ยอดขายยางมะตอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงปี 64 และยังได้ผลดีตากต้นทุนการผลิตที่ต่ำจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับลงและยังอนู่ในระดับค่ำเมีอดทียบกับต้นปี จึงยังคงประมาณการกำไรปกติปี 63-64ที่ 2,024 ล้านบาท. และ 3,008 ล้านบาท ) ปัจจุบัน TAsco มีความสามารถในการรองรับน้ำมันถึง 4.1 ล้านบาร์เรล และมี Capacity สามารถผลิตได้ถึง ไตรมาส1/64 แล้ว ปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 64 ได้ราคา เหมาะสมที่ 31.00 บาทต่อหุ้น อิง PER ที่ 16.4x (+1.OsD) มี Upside gain อีก 25% จึงปรับคำแนะนำ จาก “TRADING” เป็น ซื้อ”

ส่วน DELTA คงคำแนะนำ "ขาย"อิงราคาเหมาะสมที่ 414.00 บาทต่อหุ้น เพราะมองว่า DELTA รับมือการท่วมได้ไม่มีปัญหาและเป็นเพียงปัจจัยรบกวนระยะสั้น แต่มองว่าราคาหุ้นแพงเกินพื้นฐานDELTA มีโรงงานในนิคมบางปู 3 โรง คิดเป็นราว 52% ของ Plant Area ของทั้งกลุ่ม และมี Warehouseสำหรับเก็บสินค้าคงเหลืออีกราว 5-6 ตึก ซึ่งผลกระทบเบื้องต้น โรงงานการผลิตทั้ง 3 โรงจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากพื้นที่ production ของ DELTA จะยกระดับขึ้นมาสูงกว่าพื้นปกติ 1.5-2.0 เมตร เพื่อป้องกันเหตุการณ์วิกฤติอยู่แล้ว และในอดีตที่ผ่านมาภาวะฝนตกหนักไม่เคยทำให้ต้องหยุดสายการผลิต อย่างไรก็ดีอาจมีสะดุดบ้างราว 3-4 วันจากพนักงานไม่สามารถเข้ามาทำงานได้ ขณะที่ Warehouse ได้รับผลกระทบน้อยเช่นกัน เพราะมีการขนย้ายสินค้าได้ทันท่วงที ยกเว้น Segment Automotive ที่กระทบวัตถุดิบทำให้ต้องทำการสั่งซื้อใหม่ อาจกระทบสายการผลิตเฉพาะ Automotive ราว 1-2 อาทิตย์ และกระทบยอดขายของส่วน Automotive ในไตรมาส 3/ 64

วัสดุก่อสร้างรับดีมานด์ฟื้น หลังน้ำท่วมคลาย

บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ จาก บล.เคทีบีเอสที กล่าวถึง อุทกภัยที่เกิดขึ้นปีนี้ว่าใน 14 จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,930 ครัวเรือน และ คาดว่าอุทกภัยครั้งนี้อาจส่งผลกระทบต่อ GLOBAL และ DOHOME ในบางสาขาที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดย DOHOME มีสาขาอยู่ในจังหวัด ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ส่วน GLOBAL มีสาขาอยู่ในจังหวัด ขอนแก่น ชัยภูมิ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี นครราชสีมา สุโขทัย อยุธยา ปทุมธานี

ทั้งนี้ คงมุมมองไตรมาส 3 ปีนี้เป็นจุดต่ำสุดของปี เนื่องจากได้รับผลกระทบทั้งจากมาตรการโควิด-19 ล็อกดาวน์ และจากอุทกภัย คาดว่าดีมานด์จะเริ่มกลับมาหลังน้ำท่วมคลี่คลายซึ่งจะทำให้มีการตกแต่งซ่อมแซมที่พักอาศัยมากขึ้น คงคำแนะนำ “ซื้อ” DOHOME ที่ราคาเป้าหมาย 33.50 บาท อิง 2021E PER ที่ 40.0x และ GLOBAL ที่ราคาเป้าหมาย 26.00 บาท อิง 2021E PER ที่ 37.0x

มองกลุ่มโรงงานในนิคมฯ ไม่กระทบ

บล.เคทีบีเอสที มองว่ากลุ่มโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่น้ำท่วมจะอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ฝั่งขวา และแต่ละนิคมอุตสาหกรรมได้ก่อสร้างสันเขื่อนไว้สูง 5-6 เมตรตั้งแต่เกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2011 ซึ่งทั้งหมดทำให้มั่นใจว่าจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์การน้ำท่วมในจังหวัดอยุธยาซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะนิคมโรจนะ ที่มีค่ายรถยนต์ Honda บริษัทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และบริษัทชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ supply chain ของกลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้

อุต ฯ ชิ้นส่วนอิเล็ก ฯ รับผลกระทบ

บล. เกียรตินาคิน ประเมินว่า ผลกระทบน้ำท่วมในนิคมสหรัตนนครและนิคมโรจนะ จังหวัดบพระนครศรีอยุธยา ประกอบกับหน่วยงานราชการ ประเมินปริมาณน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกช่วงกลางเดือนตุลาคม ทำให้เกิดความกังวลต่อกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากอยุธยาเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กฯ โดยเฉพาะนิคมไฮเทค ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานผลิตของ HANA และKCE รวมทั้งนิคมบางปะอิน ที่ตั้งโรงงานผลิตของ SMT ทั้งนี้ HANA เป็นบริษัทแรกที่ประกาศหยุดผลิตชั่วคราวเมื่อ 7 ตุลาคม จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย ตามมาด้วย KCE ส่วน SMT รอดูสถานการณ์ขณะที่ SVI มีโรงงานผลิตในนิคมบางกระดี่ จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม

หากประเมินสถานการณ์น้ำท่วมเลวร้ายขึ้นทำให้โรงงานทุกนิคมในอยุธยา และปทุมธานี ต้องหยุดการผลิต จะมีผลกระทบโดยตรงต่อHANA, KCE SMT และ SVI โดย SMT และ SVI มีความเสี่ยงจากการหยุดผลิตกระทบยอดขายมากกว่าบริษัทอื่น เนื่องจากมีฐานการผลิตเพียงแห่งเดียว ส่วน HANA และ KCE มีฐานการผลิตกระจายตัว ทั้งนี้ การหยุดผลิตโรงงาน HANA ซึ่งเป็นฐานการผลิต IC มีสัดส่วนยอดขาย 15% ของยอดขายรวมคาดว่าจะเห็นผลกระทบในไตรมาส 4/2554

ส่วน CCET มีโรงงานผลิตในไทยตั้งอยู่ที่มหาชัย จ.สมุทรสาครและจ.เพชรบุรี แม้ปัจจุบันยังไม่ถูกกระทบจากน้ำท่วม แต่ CCET มีลูกค้ารายใหญ่ WD ซึ่งมีโรงงานผลิตอยู่ในนิคม บางปะอิน และนิคมนวนคร ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อม จากการถามถึงผลกระทบน้ำท่วมกับ CCET , DELTA และ SVI ระบุโรงงานยังผลิตตามปกติ โดยไตรมาส 3 ส่วนใหญ่ยังมียอดขายใกล้เคียงกับไตรมาส2 แต่ KCE และ SVI จะมีผลประกอบการในไตรมาส 3 แย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าว่าจะเห็นการฟื้นตัว เนื่องจาก KCE ยังมีปัญหาอัตราของเสียจากการผลิตทำให้ Gross Margin ทรงตัวจากไตรมาส 2

ส่วน SVI มีปัญหาจัดซื้อวัตถุดิบในประเทศ เนื่องจากโรงงานของซัพพลายเออร์ 3 ราย อยู่ในนิคมสหรัตนนคร จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทำให้ Gross Margin จะถูกกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น จึงให้น้ำหนักลงทุน "เท่าตลาด"กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มองว่าราคาหุ้น 5 บริษัท ปรับลงสะท้อนความเสี่ยงต่างๆ ไปพอสมควร

อย่างไรก็ตามราคาหุ้น 4 ใน 5 บริษัท คือ CCET, DELTA , HANA และ KCE นับจากต้นปีถึงปัจจุบันปรับตัวลงแย่กว่าตลาดเฉลี่ย 30%ขณะที่ราคาหุ้น SVI ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวลงแย่กว่าตลาด 15%มองว่าสะท้อนความเสี่ยงต่างๆ ไปพอสมควร คงคำแนะนำ"ถือ" สำหรับCCET, DELTA ,HANA และ KCE รวมทั้งปรับคำแนะนำ SVI จาก"ซื้อ"เป็น"ถือ" เพื่อประเมิน ความเสี่ยงต่อปัจจัยพื้นฐานอีกครั้ง

DELTA กระทบจำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุถึง DELTA ว่าโรงงานไม่ถูกน้ำท่วม เพราะถมที่สูงกว่าระดับถนนในนิคม แต่ถนนในนิคมถูกน้ำท่วม ทำให้พนักงานยังเข้าโรงงานไม่ได้ มองว่า DELTA มีโรงงาน 5 แห่งใน 2 นิคม คือ 3 โรงงานในนิคมบางปู และ 2 โรงงานในนิคมฉะเชิงเทรา ปัจจุบันรายได้จากโรงงานนิคมบางปูมีสัดส่วนมากกว่า 60% ของรายได้รวม โดยที่กระทบมากสุดคือแหล่งเก็บวัตถุดิบ เพื่อผลิตสินค้าของกลุ่มรถยนต์ ซึ่งต้องจัดหาใหม่ คาดจะมีผลกระทบรวม 1.5-2.0% ของยอดขายรวมในไตรมาส 3/2564 แต่อาจจะ กระทบต่อกำไรสุทธิราว 5-10% ในไตรมาส 3/2564 โดยวัตถุดิบอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ในปัจจุบัน อาจถูกน้ำท่วมเสียหาย ซึ่ง DELTA จะจัดการหาหรือสั่งซื้อวัตถุดิบใหม่มาแทน

บล.ทรีนีตี้ ประเมินว่า SAT เป็นหุ้นที่มีศักยภาพที่จะเติบโตสูงในอนาคต แต่เนื่องจากโรงงานของ SAT ตั้งที่ บางพลี ซึ่งปัจจุบันมวลน้ำยังเดินทางมาไม่ถึง ซึ่งยังมีความเสี่ยง ประเมิน ราคาเป้าหมายในปี 2555 เท่ากับ 22 บาท บนฐาน P/E 10 เท่า รวมแล้ว แนะนำ “ซื้อ ”

บล. บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มีมุมมองเชิงบวกต่อ TASCO หลังความต้องการยางมะตอยช่วงสั้นจะเพิ่มสูงขึ้น จากภาวะน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ภาคอีสาน เชื่อว่าทางการต้องเร่งออกงบฯช่วยเหลือฉุกเฉินในการซ่อมแซมถนน เป็นบวกต่อความต้องการใช้ยางมะตอยที่เพิ่มขึ้นมามากกว่าที่คาด โดยให้แนวโน้มปี 2553-2555 เป็นวัฏจักรขาขึ้นของ TASCO รอบใหม่ เหมือนเช่นยุครุ่งเรือง ในการสร้างถนนปี 2534-2540 โดยวัฏจักรขาขึ้นในรอบนี้ได้แรงหนุนจากการมีโรงกลั่นยางมะตอยเป็นของตัวเอง ซึ่งจะทำให้กำไรของ TASCO พุ่งขึ้นเป็น 1,000-1,400 ล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น