ในฐานะกรรมการผู้จัดการ Managing Director ของคาวาลลิโน มอเตอร์ ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายซูเปอร์คาร์ม้าผยองเฟอร์รารี่เพียงหนึ่งเดียวในเมืองไทย เป็น MD หญิงเพียงหนึ่งเดียวในเอเชียของเฟอร์รารี่ บิ๋ง-นันทมาลี ภิรมย์ภักดี ผู้หญิงตัวเล็กแต่เก่งรอบด้านคนนนี้นำพาองค์กรคว้ารางวัลอันทรงเกียรติ ของ Southeast Asia และระดับโลกมากมาย ไม่ว่า SEA Dealer of the Year 2014, SEA Dealer of the Year 2015, Global Award Showroom of the year 2015, SEA Sales of the Year 2016, SEA Sales of the Year 2016, SEA Marketing of the Year 2017

ด้านประวัติการศึกษาของบิ๋ง นันทมาลี จบมัธยมศึกษาที่ WESTONBIRT SCHOOL, Gloucestershire, St.Edward’s School ( A Levels ) UK จบปริญญาตรี Bachelor of Arts (BA), History AUCKLAND UNIVERSITY จบปริญญาโท Master of Business Administration ( MBA ) Finance and Marketing Simmons College-Simmons School of Management, Boston, MA สหรัฐอเมริกา
ด้วยความรู้ความสามารถที่มีนำพาให้เธอบริหารองค์กรได้อย่างน่าสนใจ ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา แม้กระทั่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ไม่ว่าระลอกหนึ่ง สอง หรือสาม เธอก็ก้าวนำและพาสมาชิกในองค์กรให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนวิสัยทัศน์ผู้บริหารที่มองการณ์ไกลได้อย่างดี
I Business สัมภาษณ์พิเศษผู้หญิงเก่ง นันทมาลี ภิรมย์ภักดี เพื่อหาคำตอบว่า สิ่งใด ทำให้เธอเผชิญกับความท้าทายในหน้าที่การงานได้อย่างน่าชื่นชม
>>> ความสำเร็จและความท้าทาย
เมื่อถามว่า 10 กว่าปีที่บริหารคาวาลลิโน มอเตอร์มา มีความสำเร็จ และความท้าทายใดบ้าง นันทมาลีตอบว่า ตอนเปิด มีความท้าทายในยุคนั้นที่เด่นชัดคือ มีช่วงเวลาเว้นว่างอยู่สามปี ก่อนที่คาวาลลิโนจะได้รับคัดเลือกจากเฟอร์รารี่
“มีขั้นตอนต่าง ๆ ในช่วงสามปีนั้น ผู้นำเข้าอิสระก็นำรถเข้ามา ก็ทำให้ราคาอาจไม่ได้เสถียร เมื่อเราเข้ามาก็เหมือนเข้ามาปรับราคามาตรฐานของเฟอร์รารี่ให้เป็นไปตามจริง จ่ายภาษีตรง เพราะเรารับตรงจากโรงงานจึงเป็นราคาที่ค่อนข้างเสถียร ถ้าผู้นำเข้าอิสระไม่ได้รับตรงจากโรงงาน ราคาก็ผันผวน นี่คือข้อแรก คือการปรับราคาให้เสถียร ราคาตอนแรกลูกค้าบอกว่าราคาสูง แต่นี่คือราคาจริง ๆ ของรถ ไม่ได้เป็นราคาที่มีการปรับเปลี่ยนตกแต่ง แต่เป็นราคาจริง ๆ ของรถตามใบเสร็จที่มาจากโรงงาน”
นันทมาลีระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า ต้องทำราคาให้คงที่ เป็น motto ของคาวาลลิโนตั้งแต่ต้น “และเป็นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับเฟอร์รารี่ว่าเข้ามาทำธุรกิจนี้ เราจะทำธุรกิจให้โปร่งใส และเป็นพลเมืองดีของภาครัฐ ทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบและสร้างความไว้วางใจให้ลูกค้า ในวันนี้และก็ต่อ ๆ ไป”
อีกส่วนหนึ่ง ที่เป็นความท้าทาย ก็คือ นันทมาลีเป็นผู้หญิงคนแรกในเอเชีย ที่มาทำตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ Managing Director ในยุคนั้น ซึ่งยังไม่มีผู้หญิงเข้ามาบริหารเลย
“ในยุคนี้ในเอเชียก็ยังไม่มีผู้หญิงที่ทำตำแหน่งนี้ บิ๋งจึงต้องแสดงให้เขายอมรับเรา ทั้งในเฟอร์รารี่เอง ในไทยด้วย
ในเฟอร์รารี่เอง ตอนที่บิ๋งต้องไปเทรนนิ่งกับเขาก็มีแต่ผู้ชาย ตำแหน่งบิ๋งที่เป็น กรรมการผู้จัดการ ขณะที่ (GM General Manager) ก็เป็นผู้ชายทั้งหมดเลยจากแต่ละประเทศ เราก็ต้องทำให้เขายอมรับเราด้วย ซึ่งก็ผ่านมาได้ด้วยดีไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะตัวบิ๋งเองก็เคยอยู่โรงเรียนผู้ชายล้วนมาก่อน มีเพื่อนผู้ชายเยอะ เราก็เลยคุ้นชินที่จะวางตัวและเข้ากับผู้ชายได้ ทำงานกับองค์กรต่างประเทศ ไปทำงานเมืองนอกมาเยอะเราก็คุ้นชินกับการที่ต้องปรับตัว กับต่างชาติ ภาษาเราก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักมาแล้วเกินครึ่งชีวิต แล้วตอนที่เปิดคาวาลลิโนจำได้ว่า สื่อยานยนต์โดยเฉพาะ อาจไม่ได้มั่นใจว่าตัวบิ๋งเอง อาจจะไม่มีความรู้หรือเปล่า อาจจะไม่ได้มั่นใจว่าบิ๋งจะทำตำแหน่งนี้ได้ไหม แต่ถึงที่สุด มันก็เป็นความท้าทายที่เราก็ต้องเอาชนะ เอาผลงานมาพิสูจน์ ไม่ต้องพูดเรื่องเพศ พูดเรื่องงานที่เราทำ ซึ่งบิ๋งก็เป็นคนลุยงานอยู่แล้ว มาดูที่ศูนย์ตั้งแต่วันแรก
“ตั้งแต่ก่อสร้าง ทำงานใกล้ชิดกับทางเฟอร์รารี่และนำเสนอผู้บริหารเรา ผู้ลงทุนต่างๆ เรานำเข้าเฟอร์รารี่มา 12 ปี เติบโตและได้รับรางวัลมากมาย ทั้งในภูมิภาคอาเซียน ในเซาท์ อีสต์ เอเชีย เราทำผลงานในระดับประเทศ และในระดับโลกที่ให้การยอมรับ”

นันทมาลีกล่าวว่า เวลาทำงาน เธอทำงานเต็มที่ ไม่มีคำว่า เพศหญิง เพศชายมาเป็นอุปสรรค ถ้าเป็นนักบริหารที่เก่ง บริหารอะไรก็ได้ แต่เมื่อถึงคราวที่เราต้องเรียนรู้ธุรกิจนั้นๆ ก็ต้องเรียนรู้ให้ถ่องแท้ เช่น ถ้าวันนี้จะไปขายแชมพูเราก็ต้องไปเรียนรู้ธุรกิจแชมพู ถ้าเราจะไปขายขนม เราก็จะต้องไปเรียนรู้ธุรกิจขนม เมื่อเราต้องมาขายรถ เราก็ต้องเรียนรู้อยากลึกซึ้ง และแน่นอน ต้อง Put the right man on the right job นี่เป็นสิ่งที่ต้องทำตั้งแต่ต้น และเป็นสิ่งที่เราพัฒนามาตลอด 12 ปี
ความท้าทายต่อมา เมื่อครั้งตอนเปิดบริษัทคาวาลลิโน มอเตอร์ก็คือ ตั้งเป้าไว้ว่าต้องเป็นการเติบโตของเฟอร์รารี่ในประเทศไทย ในแบบที่เป็น Organic Growth หรือเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืน
“ตรงนี้สำคัญ ออร์แกนิกโกรทคือ ค่อย ๆ เติบโต ไม่ใช่ว่าเราลงทุนอย่างมหาศาล แล้วในที่สุดยอดขายไม่ตามมา แต่เราต้องดูว่า ยอดขายต้องค่อย ๆ ตามมา ต้องสร้างความมั่นใจเมื่อเราเปิด ตาม Forecast นี้ เป็นสเต็ปที่ทำให้เราค่อย ๆ เติบโตอย่างเหมาะสม เป็นทีมเล็กก่อน ไม่ใช่เป็น High investment แล้วยอดขายไม่ตามมา แต่เราทำให้บริษัทนี้ก็ค่อยๆ โตไปกับยอดขาย ขยายไปพร้อมกับยอดขาย” นันทมาลีระบุ และกล่าวเพิ่มเติมถึงความสำเร็จของคาวาลลิโนว่า เมื่อเปิดในปี 2009 จากนั้นเปิดตัวตึกใหญ่ที่เป็นไปตาม CI ( Corporate Identity ) ของเฟอร์รารี่ทั่วโลก เสร็จสิ้นในเดือนมกราคมปี 2011
“ปีนั้น เป็นช่วงปีที่เราเริ่มเปิด เราก็สู้กับทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งสิงคโปร์กับอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่ ยอดขายเรายังสู้เขาไม่ได้ ยังต้องคอยสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า กระทั่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง ในปี 2014 เราก็ได้รางวัล Top SEA Dealer Awardบิ๋งก็บอกทีมว่าการที่เราได้รางวัลนี้ เราต้องทำให้ได้อีกปี เพราะปีเดียวอาจจะหมายถึงฟลุ๊คก็ได้ ต้องมีความต่อเนื่อง ดังนั้น จึงเป็นความสำเร็จอีกปีหนึ่ง ปี 2015 เราก็ได้รางวัลอีก ชนะทุกประเทศในอาเซียน 2 ปีซ้อนนี่เป็นความภูมิใจมากว่าไม่ใช่ความบังเอิญ แต่เป็นเพราะว่าเรามีความสามารถจริง ๆ ที่นำพาบริษัทจากประเทศไทยมาอยู่ในจุดนี้
“ในปี 2015 เราได้รับโกลบอลอวอร์ดจากเฟอร์รารี่ เป็นรางวัลอันดับ 2 ของโลก และที่มีโชว์รูมที่สวยที่สุดด้วย หลังจากนั้น ปี 2016-2017 เรายังคงได้รางวัลท็อปเซลล์ ท็อปมาร์เก็ตติ้ง ท็อป PR ที่เราได้พัฒนาต่อเนื่อง” นันทมาลีระบุอย่างภาคภูมิใจถึงสิ่งที่ได้รับการันตีในระดับโลกและอาเซียน
>>> ในฐานะ MD หญิงหนึ่งเดียวของเฟอร์รารี่ในเอเชีย
เมื่อถามถึงการเป็น MD หญิงคนแรกและคนเดียวของเอเชียของเฟอร์รารี่ ต้องเผชิญกับขั้นตอน กระบวนการ หรือแรงกดดันใดบ้าง นันทมาลีบอกเล่าว่า เนื่องจากทางผู้ถือหุ้นหรือทางผู้ใหญ่เล็งเห็น ว่าตนเอง ก็เคยทำงานอยู่ซิตี้แบงค์มา 8 ปี มีประสบการณ์การทำงานกับองค์กรอินเตอร์ แต่นอกเหนือกว่านั้น ตัวเธอเองอยู่เมืองนอกมาเกินครึ่งชีวิต เริ่มนับแต่ติดตามคุณพ่อไปตั้งแต่ในวัยเพียง 9 ขวบ ไปอยู่นิวยอร์ค เนื่องจากในเวลานั้น คุณพ่อของเธอเป็นรองเอกอัครราชทูตไทยที่นั่น
“จากนั้น บิ๋งก็ได้ไปเรียนต่อที่อังกฤษตอนอายุ 14 ไปอยู่ถึงอายุ 19-20 เรียนที่อังกฤษแล้วจากนั้นก็ได้หมั้นกับคุณจ๊ะ วรวุฒิ ภิรมย์ภักดี และไปเรียนด้วยกันที่นิวซีแลนด์ จนจบปริญญาตรี และได้กลับมาเมืองไทย แต่งงานกับคุณจ๊ะจากนั้นก็ไปเรียนต่อเรียนเอ็มบีเอที่ บอสตัน อเมริกา เรียนจบก็ได้ทำงานที่บอสตัน ทำงานด้าน Mutual funds เรียกได้ว่า เราก็ได้เรียนรู้ ทำงานกับฝรั่งหลาย ๆ ประเทศ ในชีวิต ได้ประสบการณ์ ทำให้เราปรับตัวเร็ว มีเพื่อนหลายประเทศ และทำให้เรา Identify ได้ว่า ฝรั่งก็มีคนละสไตล์ แต่ละประเทศ มีมุมมองต่างกัน
“การที่เราได้ย้ายหลายประเทศ เราก็ปรับตัวได้เร็ว ทำให้เราเข้ากับคนตะวันตกได้หลาย ๆ แบบ ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่เราเก็บเกี่ยวมาแล้วได้มาใช้กับการทำงาน อย่างยุโรป อิตาลี ถ้าต้องไปเจอตำแหน่งเดียวกันในการเทรนนิ่งหลายๆ ประเทศ เราก็สามารถเข้ากับเขาได้ เพราะเรามีประสบการณ์ เป็นจุดแข็งของเรา เพราะการทำงานกับเฟอร์รารี่ ยิ่งช่วงเปิดโชว์รูม ถึงทุกวันนี้ต้องคุยกับเขาทุกวัน เพื่อรับนโยบาย แล้วเฟอร์รารี่เป็นแบรนด์ระดับโลก เขามีไบเบิล หรือ CI (Corporate Identity)
“ในการเปิดศูนย์ การบริหาร การทำทุกอย่าง ทุกสิ่งที่เราทำต้องรีพอร์ตให้เขา ไม่ว่าการสร้างโชว์รูม แผนงาน แม้แต่บัญชีบริษัทเราก็ผูกกับเขา มาร์เก็ตติ้งเราก็ผูกกับเขา คือเฟอร์รารี่เป็นแบรนด์ใหญ่ เขามีหน้าที่ควบคุม เรามีหน้าที่รับนโยบายมาสู่บริษัทในประเทศไทย” นันทมาลีระบุถึงประสบการณ์และการทำงานที่ละเอียดละออ ก่อนกล่าวเพิ่มเติมว่าในช่วงที่เปิดคาวาลลิโน มอเตอร์ เธอก็ไปงานของเฟอร์รารี่ทุกครั้ง กระทั่งถึงช่วงโควิดที่บินไม่ได้
“บิ๋งพยายามบินไปงานของเฟอร์รารี่ทุกครั้ง เพื่อไปซึมซับรายละเอียดของรถ ไปซึมซับดีเอ็นเอของเฟอร์รารี่เพื่อนำมาสู่ประเทศไทย เพราะเราเป็นตัวแทน ต้องนำมาสู่คนไทยให้ดีที่สุด บิ๋งพาทีมงานไปด้วย ไปดูเพื่อให้เข้าใจถึงดีเอ็นเอของเฟอร์รารี่ เพราะเราทุกคนคือแบรนด์แอมบาสเดอร์ของเฟอร์รารี่ ต้องนำดีเอ็นเอของเฟอร์รารี่มาสู่ประเทศไทยให้ดีที่สุด”
นันทมาลีระบุอย่างหนักแน่น และเล่าเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมา ยอดจองเพิ่มสูงขึ้นมา 300% จากเริ่มที่เติบโตแบบออร์แกนิค โกรท ส่วนยอดผลิต นันทมาลีกล่าวว่า แต่ละปีที่ขายเฟอร์รารี่ เขากำหนดมาว่าถ้าเรามียอดจองเท่าไหร่จอง ก็อาจจะได้ 80% ของยอดผลิต ซึ่งก็ได้ยอดเพิ่มขึ้น ค่อย ๆ เติบโตเรื่อยมา

>>> มองการณ์ไกล ตั้งการ์ดสูง เอาชนะวิกฤตโควิด-19
เมื่อถามว่าช่วงวิกฤตโควิด ปิดโชว์รูมหรือไม่ ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งในช่วงระลอกแรก ระลอกสอง ระลอกสาม คำตอบจากนันทมาลีนับว่าน่าสนใจไม่น้อย
“ส่วนตัวบิ๋งจะลิสต์รายการที่เราต้องปรับตัวมาก่อนที่จะมีโควิดแล้ว เพราะบิ๋งก็ศึกษามาเยอะเรื่อง Disruption เราก็เป็นคนที่ค่อนข้างจะทันสมัยและปรับตัวไปกับโลก ช่วงนั้นบิ๋งก็มีนโยบายที่จะมูฟทุกอย่างไปเป็นดิจิทอล เช่นในแง่ของการลดการใช้กระดาษลง และเป็นนโยบายที่เราจะปรับตัว ด้วยความที่เราวางแผนไว้ตอนที่เราเปิดเซอร์วิสเซ็นเตอร์ปี 2019 เราสร้างตึกใหม่ ที่ครบวงจร อาทิ ตั้งศูนย์ ถ่วงล้อ และศูนย์ Restore รถคลาสสิค มีโซล่าร์ซิสเต็ม รวมถึงโรงแรมรถเฟอร์รารี่ มีทุกอย่างเพราะเราได้ทำ ISO 14001 และ ISO 18001
“เพราะบิ๋งมองไปในอนาคตว่ารถไฮบริดกำลังจะมา ไฮบริดเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดโลกร้อน ใช้แบตเตอรี่เข้ามาช่วย มีเทคโนโลยีของ EV (Electric Vehicle) เข้ามาช่วยส่วนหนึ่ง ทำให้เราใช้น้ำมันน้อยลง เราก็เลยดีไซน์ศูนย์ให้เป็น ISO 14001 เน้นด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยของช่างที่ทำงานในศูนย์ รวมทั้งความปลอดภัยในเรื่องมลภาวะ รวมทั้งเราไม่ติดแอร์ แต่ใช้พัดลมใหญ่และมีที่ดูดควันออกไป เราก็ทำตามขั้นตอนของไอเอสโอเลย อีกเรื่องเป็นเรื่องสุขภาพ
“ปรากฏว่า ช่วงโควิดมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 เราก็มี Safety Officer พอมีโควิด เราก็มีมาตรการออกตั้งแต่ต้น ก่อนที่กรุงเทพจะล็อคดาวน์ เรามีการสอบถามพนักงานเลย ให้กรอกใบสอบถาม ว่าไปที่ไหน อะไร ยังไง เราให้พนักงาน Quarantine ไป 3-4 คน เพราะเขาเดินทางไปต่างจังหวัด เราทำก่อนที่กรุงเทพจะล็อคดาวน์
“เราปรับกลยุทธ์ด้วยการทำมาตรการเลย มีการแบ่งโซนโชว์รูม เว้นระยะห่าง ให้ความรู้พนักงานในเรื่องนี้ แต่ว่าเราไม่ได้ปิดโชว์รูม เพราะความโชคดีคือเรามี 3 ตึก แต่ละตึกสูงแค่สองชั้น แล้วโซนเซอร์วิสก็เป็นที่โปร่ง มีความถ่ายเท ช่างก็ทำงานแบบเว้นระยะเป็นเมตร การทานข้าวก็ให้เว้นระยะ ทำมาตลอด เพราะตัวบิ๋งเองก็ได้คุยกับคุณหมอ เจ้าของโรงพยาบาลเยอะในช่วงนั้น คุณหมอทำแบบไหน เราก็ทำตามคุณหมอ เว้นระยะห่าง ศึกษาเรื่องโรค โรคนี้เกี่ยวกับสารคัดหลั่ง ถ้าเราเว้นระยะ ใส่แมสก์ตลอด เราก็รอด ตอนนั้น แมสก์แพงมาก 30 บาทต่อชิ้น แต่เราก็หามาให้พนักงาน เราก็จัดสรรหาแมสก์มาให้ทั้งลูกค้าและพนักงาน
“เราทำมาตรการให้ความรู้พนักงาน ปรึกษาคุณหมอ ว่าถ้าเราทำตามนี้ เราก็รอดกัน ปรึกษาว่าที่นี่ต้องสะอาดที่สุด และบิ๋งเข้ามาทำงานทุกวัน แน่นอนทุกคนกังวล ถ้าผู้บริหารไม่มาเขายิ่งกังวล แน่นอนบิ๋งมีสามี มีลูก แต่บิ๋งแสดงให้เขาเห็น ให้เขาเชื่อมั่นว่าบิ๋งมาทุกวัน การประชุมก็ใช้ Zoom เว้นระยะทุกอย่าง
“ในที่สุด เวฟหนึ่งถึงเวฟสาม การ์ดเราไม่เคยตกเลย สำหรับทุกคนที่ทำงานที่นี่ มีเจ้าหน้าที่มาทำการพ่นฆ่าเชื้อตลอด แล้วเราก็พ่นเองทุกวันด้วย ทำมาตลอด การ์ดไม่เคยตก เวฟหนึ่งถึงเวฟสาม การ์ดไม่เคยตก บิ๋งทำงานทุกวัน ให้ความมั่นใจกับลูกค้า กับพนักงานเอง พอเวฟสามเริ่มซีเรียส เราให้แลปมาตรวจโควิดทุกคนทุกเดือน เราก็ภูมิใจว่า 100% เราตรวจทั้งพนักงานและซัพพลายเออร์ ตรวจหมด 100% คนรถ แม่บ้าน ตรวจหมด ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราให้กับพนักงานเราเองและลูกค้า เป็นสิ่งที่เราเสริมขึ้นมาในเฟสสาม สิ่งที่ทำให้เรามั่นใจ และเราให้ความรู้พนักงานเรื่องวัคซีนด้วย ก็เลยภูมิใจว่าในเวฟหนึ่ง เวฟสอง บิ๋งก็ซื้อประกันโควิดให้ทุกคนต่อมาปีที่สองแล้ว
“พอมาปีที่สามถ้าใครไม่ฉีดวัคซีน บิ๋งขอไม่ต่อให้ แต่ถ้าฉีดวัคซีน บิ๋งต่อให้ เพราะว่าวัคซีนการันตีว่าไม่ตาย เราก็อยากให้ทุกคนปลอดภัย ทุกวันนี้ พนักงาน 100% ลงทะเบียนว่าจะฉีดวัคซีน เป็นความน่าภูมิใจ บิ๋งก็ทำให้เขาดูเป็นแบบอย่างลงทะเบียน ให้พ่อ ให้แม่ ให้ตัวเองด้วย ทำให้เขาดูเป็นแบบอย่าง ว่าเราก็ไปฉีดด้วยนะ ทำให้เขามั่นใจด้วยว่าที่นี่สะอาด เราจึงมาที่นี่ทุกวัน ลูกค้าก็มั่นใจว่าที่นี่สะอาด เป็นมาตรการที่บิ๋งเห็นว่าเราในฐานะผู้นำองค์กร เราต้องทำให้เขาดู”
นันทมาลีเล่าอย่างเห็นภาพรายละเอียดในการรับมือกับวิกฤตโควิดได้อย่างน่าสนใจ สะท้อนให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงวิสัยทัศน์ของเธอคนนี้
ด้านประวัติการศึกษาของบิ๋ง นันทมาลี จบมัธยมศึกษาที่ WESTONBIRT SCHOOL, Gloucestershire, St.Edward’s School ( A Levels ) UK จบปริญญาตรี Bachelor of Arts (BA), History AUCKLAND UNIVERSITY จบปริญญาโท Master of Business Administration ( MBA ) Finance and Marketing Simmons College-Simmons School of Management, Boston, MA สหรัฐอเมริกา
ด้วยความรู้ความสามารถที่มีนำพาให้เธอบริหารองค์กรได้อย่างน่าสนใจ ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา แม้กระทั่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ไม่ว่าระลอกหนึ่ง สอง หรือสาม เธอก็ก้าวนำและพาสมาชิกในองค์กรให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนวิสัยทัศน์ผู้บริหารที่มองการณ์ไกลได้อย่างดี
I Business สัมภาษณ์พิเศษผู้หญิงเก่ง นันทมาลี ภิรมย์ภักดี เพื่อหาคำตอบว่า สิ่งใด ทำให้เธอเผชิญกับความท้าทายในหน้าที่การงานได้อย่างน่าชื่นชม
>>> ความสำเร็จและความท้าทาย
เมื่อถามว่า 10 กว่าปีที่บริหารคาวาลลิโน มอเตอร์มา มีความสำเร็จ และความท้าทายใดบ้าง นันทมาลีตอบว่า ตอนเปิด มีความท้าทายในยุคนั้นที่เด่นชัดคือ มีช่วงเวลาเว้นว่างอยู่สามปี ก่อนที่คาวาลลิโนจะได้รับคัดเลือกจากเฟอร์รารี่
“มีขั้นตอนต่าง ๆ ในช่วงสามปีนั้น ผู้นำเข้าอิสระก็นำรถเข้ามา ก็ทำให้ราคาอาจไม่ได้เสถียร เมื่อเราเข้ามาก็เหมือนเข้ามาปรับราคามาตรฐานของเฟอร์รารี่ให้เป็นไปตามจริง จ่ายภาษีตรง เพราะเรารับตรงจากโรงงานจึงเป็นราคาที่ค่อนข้างเสถียร ถ้าผู้นำเข้าอิสระไม่ได้รับตรงจากโรงงาน ราคาก็ผันผวน นี่คือข้อแรก คือการปรับราคาให้เสถียร ราคาตอนแรกลูกค้าบอกว่าราคาสูง แต่นี่คือราคาจริง ๆ ของรถ ไม่ได้เป็นราคาที่มีการปรับเปลี่ยนตกแต่ง แต่เป็นราคาจริง ๆ ของรถตามใบเสร็จที่มาจากโรงงาน”
นันทมาลีระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า ต้องทำราคาให้คงที่ เป็น motto ของคาวาลลิโนตั้งแต่ต้น “และเป็นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับเฟอร์รารี่ว่าเข้ามาทำธุรกิจนี้ เราจะทำธุรกิจให้โปร่งใส และเป็นพลเมืองดีของภาครัฐ ทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบและสร้างความไว้วางใจให้ลูกค้า ในวันนี้และก็ต่อ ๆ ไป”
อีกส่วนหนึ่ง ที่เป็นความท้าทาย ก็คือ นันทมาลีเป็นผู้หญิงคนแรกในเอเชีย ที่มาทำตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ Managing Director ในยุคนั้น ซึ่งยังไม่มีผู้หญิงเข้ามาบริหารเลย
“ในยุคนี้ในเอเชียก็ยังไม่มีผู้หญิงที่ทำตำแหน่งนี้ บิ๋งจึงต้องแสดงให้เขายอมรับเรา ทั้งในเฟอร์รารี่เอง ในไทยด้วย
ในเฟอร์รารี่เอง ตอนที่บิ๋งต้องไปเทรนนิ่งกับเขาก็มีแต่ผู้ชาย ตำแหน่งบิ๋งที่เป็น กรรมการผู้จัดการ ขณะที่ (GM General Manager) ก็เป็นผู้ชายทั้งหมดเลยจากแต่ละประเทศ เราก็ต้องทำให้เขายอมรับเราด้วย ซึ่งก็ผ่านมาได้ด้วยดีไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะตัวบิ๋งเองก็เคยอยู่โรงเรียนผู้ชายล้วนมาก่อน มีเพื่อนผู้ชายเยอะ เราก็เลยคุ้นชินที่จะวางตัวและเข้ากับผู้ชายได้ ทำงานกับองค์กรต่างประเทศ ไปทำงานเมืองนอกมาเยอะเราก็คุ้นชินกับการที่ต้องปรับตัว กับต่างชาติ ภาษาเราก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักมาแล้วเกินครึ่งชีวิต แล้วตอนที่เปิดคาวาลลิโนจำได้ว่า สื่อยานยนต์โดยเฉพาะ อาจไม่ได้มั่นใจว่าตัวบิ๋งเอง อาจจะไม่มีความรู้หรือเปล่า อาจจะไม่ได้มั่นใจว่าบิ๋งจะทำตำแหน่งนี้ได้ไหม แต่ถึงที่สุด มันก็เป็นความท้าทายที่เราก็ต้องเอาชนะ เอาผลงานมาพิสูจน์ ไม่ต้องพูดเรื่องเพศ พูดเรื่องงานที่เราทำ ซึ่งบิ๋งก็เป็นคนลุยงานอยู่แล้ว มาดูที่ศูนย์ตั้งแต่วันแรก
“ตั้งแต่ก่อสร้าง ทำงานใกล้ชิดกับทางเฟอร์รารี่และนำเสนอผู้บริหารเรา ผู้ลงทุนต่างๆ เรานำเข้าเฟอร์รารี่มา 12 ปี เติบโตและได้รับรางวัลมากมาย ทั้งในภูมิภาคอาเซียน ในเซาท์ อีสต์ เอเชีย เราทำผลงานในระดับประเทศ และในระดับโลกที่ให้การยอมรับ”
นันทมาลีกล่าวว่า เวลาทำงาน เธอทำงานเต็มที่ ไม่มีคำว่า เพศหญิง เพศชายมาเป็นอุปสรรค ถ้าเป็นนักบริหารที่เก่ง บริหารอะไรก็ได้ แต่เมื่อถึงคราวที่เราต้องเรียนรู้ธุรกิจนั้นๆ ก็ต้องเรียนรู้ให้ถ่องแท้ เช่น ถ้าวันนี้จะไปขายแชมพูเราก็ต้องไปเรียนรู้ธุรกิจแชมพู ถ้าเราจะไปขายขนม เราก็จะต้องไปเรียนรู้ธุรกิจขนม เมื่อเราต้องมาขายรถ เราก็ต้องเรียนรู้อยากลึกซึ้ง และแน่นอน ต้อง Put the right man on the right job นี่เป็นสิ่งที่ต้องทำตั้งแต่ต้น และเป็นสิ่งที่เราพัฒนามาตลอด 12 ปี
ความท้าทายต่อมา เมื่อครั้งตอนเปิดบริษัทคาวาลลิโน มอเตอร์ก็คือ ตั้งเป้าไว้ว่าต้องเป็นการเติบโตของเฟอร์รารี่ในประเทศไทย ในแบบที่เป็น Organic Growth หรือเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืน
“ตรงนี้สำคัญ ออร์แกนิกโกรทคือ ค่อย ๆ เติบโต ไม่ใช่ว่าเราลงทุนอย่างมหาศาล แล้วในที่สุดยอดขายไม่ตามมา แต่เราต้องดูว่า ยอดขายต้องค่อย ๆ ตามมา ต้องสร้างความมั่นใจเมื่อเราเปิด ตาม Forecast นี้ เป็นสเต็ปที่ทำให้เราค่อย ๆ เติบโตอย่างเหมาะสม เป็นทีมเล็กก่อน ไม่ใช่เป็น High investment แล้วยอดขายไม่ตามมา แต่เราทำให้บริษัทนี้ก็ค่อยๆ โตไปกับยอดขาย ขยายไปพร้อมกับยอดขาย” นันทมาลีระบุ และกล่าวเพิ่มเติมถึงความสำเร็จของคาวาลลิโนว่า เมื่อเปิดในปี 2009 จากนั้นเปิดตัวตึกใหญ่ที่เป็นไปตาม CI ( Corporate Identity ) ของเฟอร์รารี่ทั่วโลก เสร็จสิ้นในเดือนมกราคมปี 2011
“ปีนั้น เป็นช่วงปีที่เราเริ่มเปิด เราก็สู้กับทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งสิงคโปร์กับอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่ ยอดขายเรายังสู้เขาไม่ได้ ยังต้องคอยสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า กระทั่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง ในปี 2014 เราก็ได้รางวัล Top SEA Dealer Awardบิ๋งก็บอกทีมว่าการที่เราได้รางวัลนี้ เราต้องทำให้ได้อีกปี เพราะปีเดียวอาจจะหมายถึงฟลุ๊คก็ได้ ต้องมีความต่อเนื่อง ดังนั้น จึงเป็นความสำเร็จอีกปีหนึ่ง ปี 2015 เราก็ได้รางวัลอีก ชนะทุกประเทศในอาเซียน 2 ปีซ้อนนี่เป็นความภูมิใจมากว่าไม่ใช่ความบังเอิญ แต่เป็นเพราะว่าเรามีความสามารถจริง ๆ ที่นำพาบริษัทจากประเทศไทยมาอยู่ในจุดนี้
“ในปี 2015 เราได้รับโกลบอลอวอร์ดจากเฟอร์รารี่ เป็นรางวัลอันดับ 2 ของโลก และที่มีโชว์รูมที่สวยที่สุดด้วย หลังจากนั้น ปี 2016-2017 เรายังคงได้รางวัลท็อปเซลล์ ท็อปมาร์เก็ตติ้ง ท็อป PR ที่เราได้พัฒนาต่อเนื่อง” นันทมาลีระบุอย่างภาคภูมิใจถึงสิ่งที่ได้รับการันตีในระดับโลกและอาเซียน
>>> ในฐานะ MD หญิงหนึ่งเดียวของเฟอร์รารี่ในเอเชีย
เมื่อถามถึงการเป็น MD หญิงคนแรกและคนเดียวของเอเชียของเฟอร์รารี่ ต้องเผชิญกับขั้นตอน กระบวนการ หรือแรงกดดันใดบ้าง นันทมาลีบอกเล่าว่า เนื่องจากทางผู้ถือหุ้นหรือทางผู้ใหญ่เล็งเห็น ว่าตนเอง ก็เคยทำงานอยู่ซิตี้แบงค์มา 8 ปี มีประสบการณ์การทำงานกับองค์กรอินเตอร์ แต่นอกเหนือกว่านั้น ตัวเธอเองอยู่เมืองนอกมาเกินครึ่งชีวิต เริ่มนับแต่ติดตามคุณพ่อไปตั้งแต่ในวัยเพียง 9 ขวบ ไปอยู่นิวยอร์ค เนื่องจากในเวลานั้น คุณพ่อของเธอเป็นรองเอกอัครราชทูตไทยที่นั่น
“จากนั้น บิ๋งก็ได้ไปเรียนต่อที่อังกฤษตอนอายุ 14 ไปอยู่ถึงอายุ 19-20 เรียนที่อังกฤษแล้วจากนั้นก็ได้หมั้นกับคุณจ๊ะ วรวุฒิ ภิรมย์ภักดี และไปเรียนด้วยกันที่นิวซีแลนด์ จนจบปริญญาตรี และได้กลับมาเมืองไทย แต่งงานกับคุณจ๊ะจากนั้นก็ไปเรียนต่อเรียนเอ็มบีเอที่ บอสตัน อเมริกา เรียนจบก็ได้ทำงานที่บอสตัน ทำงานด้าน Mutual funds เรียกได้ว่า เราก็ได้เรียนรู้ ทำงานกับฝรั่งหลาย ๆ ประเทศ ในชีวิต ได้ประสบการณ์ ทำให้เราปรับตัวเร็ว มีเพื่อนหลายประเทศ และทำให้เรา Identify ได้ว่า ฝรั่งก็มีคนละสไตล์ แต่ละประเทศ มีมุมมองต่างกัน
“การที่เราได้ย้ายหลายประเทศ เราก็ปรับตัวได้เร็ว ทำให้เราเข้ากับคนตะวันตกได้หลาย ๆ แบบ ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่เราเก็บเกี่ยวมาแล้วได้มาใช้กับการทำงาน อย่างยุโรป อิตาลี ถ้าต้องไปเจอตำแหน่งเดียวกันในการเทรนนิ่งหลายๆ ประเทศ เราก็สามารถเข้ากับเขาได้ เพราะเรามีประสบการณ์ เป็นจุดแข็งของเรา เพราะการทำงานกับเฟอร์รารี่ ยิ่งช่วงเปิดโชว์รูม ถึงทุกวันนี้ต้องคุยกับเขาทุกวัน เพื่อรับนโยบาย แล้วเฟอร์รารี่เป็นแบรนด์ระดับโลก เขามีไบเบิล หรือ CI (Corporate Identity)
“ในการเปิดศูนย์ การบริหาร การทำทุกอย่าง ทุกสิ่งที่เราทำต้องรีพอร์ตให้เขา ไม่ว่าการสร้างโชว์รูม แผนงาน แม้แต่บัญชีบริษัทเราก็ผูกกับเขา มาร์เก็ตติ้งเราก็ผูกกับเขา คือเฟอร์รารี่เป็นแบรนด์ใหญ่ เขามีหน้าที่ควบคุม เรามีหน้าที่รับนโยบายมาสู่บริษัทในประเทศไทย” นันทมาลีระบุถึงประสบการณ์และการทำงานที่ละเอียดละออ ก่อนกล่าวเพิ่มเติมว่าในช่วงที่เปิดคาวาลลิโน มอเตอร์ เธอก็ไปงานของเฟอร์รารี่ทุกครั้ง กระทั่งถึงช่วงโควิดที่บินไม่ได้
“บิ๋งพยายามบินไปงานของเฟอร์รารี่ทุกครั้ง เพื่อไปซึมซับรายละเอียดของรถ ไปซึมซับดีเอ็นเอของเฟอร์รารี่เพื่อนำมาสู่ประเทศไทย เพราะเราเป็นตัวแทน ต้องนำมาสู่คนไทยให้ดีที่สุด บิ๋งพาทีมงานไปด้วย ไปดูเพื่อให้เข้าใจถึงดีเอ็นเอของเฟอร์รารี่ เพราะเราทุกคนคือแบรนด์แอมบาสเดอร์ของเฟอร์รารี่ ต้องนำดีเอ็นเอของเฟอร์รารี่มาสู่ประเทศไทยให้ดีที่สุด”
นันทมาลีระบุอย่างหนักแน่น และเล่าเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมา ยอดจองเพิ่มสูงขึ้นมา 300% จากเริ่มที่เติบโตแบบออร์แกนิค โกรท ส่วนยอดผลิต นันทมาลีกล่าวว่า แต่ละปีที่ขายเฟอร์รารี่ เขากำหนดมาว่าถ้าเรามียอดจองเท่าไหร่จอง ก็อาจจะได้ 80% ของยอดผลิต ซึ่งก็ได้ยอดเพิ่มขึ้น ค่อย ๆ เติบโตเรื่อยมา
>>> มองการณ์ไกล ตั้งการ์ดสูง เอาชนะวิกฤตโควิด-19
เมื่อถามว่าช่วงวิกฤตโควิด ปิดโชว์รูมหรือไม่ ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งในช่วงระลอกแรก ระลอกสอง ระลอกสาม คำตอบจากนันทมาลีนับว่าน่าสนใจไม่น้อย
“ส่วนตัวบิ๋งจะลิสต์รายการที่เราต้องปรับตัวมาก่อนที่จะมีโควิดแล้ว เพราะบิ๋งก็ศึกษามาเยอะเรื่อง Disruption เราก็เป็นคนที่ค่อนข้างจะทันสมัยและปรับตัวไปกับโลก ช่วงนั้นบิ๋งก็มีนโยบายที่จะมูฟทุกอย่างไปเป็นดิจิทอล เช่นในแง่ของการลดการใช้กระดาษลง และเป็นนโยบายที่เราจะปรับตัว ด้วยความที่เราวางแผนไว้ตอนที่เราเปิดเซอร์วิสเซ็นเตอร์ปี 2019 เราสร้างตึกใหม่ ที่ครบวงจร อาทิ ตั้งศูนย์ ถ่วงล้อ และศูนย์ Restore รถคลาสสิค มีโซล่าร์ซิสเต็ม รวมถึงโรงแรมรถเฟอร์รารี่ มีทุกอย่างเพราะเราได้ทำ ISO 14001 และ ISO 18001
“เพราะบิ๋งมองไปในอนาคตว่ารถไฮบริดกำลังจะมา ไฮบริดเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดโลกร้อน ใช้แบตเตอรี่เข้ามาช่วย มีเทคโนโลยีของ EV (Electric Vehicle) เข้ามาช่วยส่วนหนึ่ง ทำให้เราใช้น้ำมันน้อยลง เราก็เลยดีไซน์ศูนย์ให้เป็น ISO 14001 เน้นด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยของช่างที่ทำงานในศูนย์ รวมทั้งความปลอดภัยในเรื่องมลภาวะ รวมทั้งเราไม่ติดแอร์ แต่ใช้พัดลมใหญ่และมีที่ดูดควันออกไป เราก็ทำตามขั้นตอนของไอเอสโอเลย อีกเรื่องเป็นเรื่องสุขภาพ
“ปรากฏว่า ช่วงโควิดมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 เราก็มี Safety Officer พอมีโควิด เราก็มีมาตรการออกตั้งแต่ต้น ก่อนที่กรุงเทพจะล็อคดาวน์ เรามีการสอบถามพนักงานเลย ให้กรอกใบสอบถาม ว่าไปที่ไหน อะไร ยังไง เราให้พนักงาน Quarantine ไป 3-4 คน เพราะเขาเดินทางไปต่างจังหวัด เราทำก่อนที่กรุงเทพจะล็อคดาวน์
“เราปรับกลยุทธ์ด้วยการทำมาตรการเลย มีการแบ่งโซนโชว์รูม เว้นระยะห่าง ให้ความรู้พนักงานในเรื่องนี้ แต่ว่าเราไม่ได้ปิดโชว์รูม เพราะความโชคดีคือเรามี 3 ตึก แต่ละตึกสูงแค่สองชั้น แล้วโซนเซอร์วิสก็เป็นที่โปร่ง มีความถ่ายเท ช่างก็ทำงานแบบเว้นระยะเป็นเมตร การทานข้าวก็ให้เว้นระยะ ทำมาตลอด เพราะตัวบิ๋งเองก็ได้คุยกับคุณหมอ เจ้าของโรงพยาบาลเยอะในช่วงนั้น คุณหมอทำแบบไหน เราก็ทำตามคุณหมอ เว้นระยะห่าง ศึกษาเรื่องโรค โรคนี้เกี่ยวกับสารคัดหลั่ง ถ้าเราเว้นระยะ ใส่แมสก์ตลอด เราก็รอด ตอนนั้น แมสก์แพงมาก 30 บาทต่อชิ้น แต่เราก็หามาให้พนักงาน เราก็จัดสรรหาแมสก์มาให้ทั้งลูกค้าและพนักงาน
“เราทำมาตรการให้ความรู้พนักงาน ปรึกษาคุณหมอ ว่าถ้าเราทำตามนี้ เราก็รอดกัน ปรึกษาว่าที่นี่ต้องสะอาดที่สุด และบิ๋งเข้ามาทำงานทุกวัน แน่นอนทุกคนกังวล ถ้าผู้บริหารไม่มาเขายิ่งกังวล แน่นอนบิ๋งมีสามี มีลูก แต่บิ๋งแสดงให้เขาเห็น ให้เขาเชื่อมั่นว่าบิ๋งมาทุกวัน การประชุมก็ใช้ Zoom เว้นระยะทุกอย่าง
“ในที่สุด เวฟหนึ่งถึงเวฟสาม การ์ดเราไม่เคยตกเลย สำหรับทุกคนที่ทำงานที่นี่ มีเจ้าหน้าที่มาทำการพ่นฆ่าเชื้อตลอด แล้วเราก็พ่นเองทุกวันด้วย ทำมาตลอด การ์ดไม่เคยตก เวฟหนึ่งถึงเวฟสาม การ์ดไม่เคยตก บิ๋งทำงานทุกวัน ให้ความมั่นใจกับลูกค้า กับพนักงานเอง พอเวฟสามเริ่มซีเรียส เราให้แลปมาตรวจโควิดทุกคนทุกเดือน เราก็ภูมิใจว่า 100% เราตรวจทั้งพนักงานและซัพพลายเออร์ ตรวจหมด 100% คนรถ แม่บ้าน ตรวจหมด ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราให้กับพนักงานเราเองและลูกค้า เป็นสิ่งที่เราเสริมขึ้นมาในเฟสสาม สิ่งที่ทำให้เรามั่นใจ และเราให้ความรู้พนักงานเรื่องวัคซีนด้วย ก็เลยภูมิใจว่าในเวฟหนึ่ง เวฟสอง บิ๋งก็ซื้อประกันโควิดให้ทุกคนต่อมาปีที่สองแล้ว
“พอมาปีที่สามถ้าใครไม่ฉีดวัคซีน บิ๋งขอไม่ต่อให้ แต่ถ้าฉีดวัคซีน บิ๋งต่อให้ เพราะว่าวัคซีนการันตีว่าไม่ตาย เราก็อยากให้ทุกคนปลอดภัย ทุกวันนี้ พนักงาน 100% ลงทะเบียนว่าจะฉีดวัคซีน เป็นความน่าภูมิใจ บิ๋งก็ทำให้เขาดูเป็นแบบอย่างลงทะเบียน ให้พ่อ ให้แม่ ให้ตัวเองด้วย ทำให้เขาดูเป็นแบบอย่าง ว่าเราก็ไปฉีดด้วยนะ ทำให้เขามั่นใจด้วยว่าที่นี่สะอาด เราจึงมาที่นี่ทุกวัน ลูกค้าก็มั่นใจว่าที่นี่สะอาด เป็นมาตรการที่บิ๋งเห็นว่าเราในฐานะผู้นำองค์กร เราต้องทำให้เขาดู”
นันทมาลีเล่าอย่างเห็นภาพรายละเอียดในการรับมือกับวิกฤตโควิดได้อย่างน่าสนใจ สะท้อนให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงวิสัยทัศน์ของเธอคนนี้