xs
xsm
sm
md
lg

จากนักหนังสือพิมพ์ สู่ สตาร์ทอัป “ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง” เอเยนซีอยู่เบื้องหลังแบรนด์ดัง ช่องทางออนไลน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



Tipping Point Solution บริษัท ทิปปิ้ง พ้อยท์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทเอเยนซี ที่ให้บริการด้าน ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง โดยให้บริการดูแลด้านการตลาดให้กับบริษัทชั้นนำต่างๆ บนช่องทางออนไลน์ ทั้งบนเวบไซต์ และโซเชียล และได้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จแบรนด์ดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเครื่องดื่มบำรุงกำลัง อย่าง กระทิงแดง หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โตชิบา และ ล้อยางรถยนต์ TOYO TIRES เป็นต้น


เอเยนซี ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง รับอานิสงส์โควิด ฟันรายได้ร้อยล้าน

นายฐิติวัฒน์ บรรจงกาลกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท Tipping Point Solution เล่าว่า เริ่มต้น ธุรกิจเอเยนซี ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเทคโนโลยี มาได้เกือบ 10 ปี ซึ่งหลังจากเรียนจบด้านสิ่งพิมพ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตนเองได้มาทำงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ที่นิตยสารแห่งหนึ่ง และได้มาทำบริษัทด้านเอเยนซี และได้รับดูแลงานในส่วน ดิจิทัลมาร์เก็ต จากประสบการณ์ตรงนี้ ทำให้เรามีความรู้ด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งอยู่บ้าง และได้ลาออกจากการเป็นพนักงานประจำมาลุยกิจการของตัวเอง ครั้งแรกเริ่มทำกับเพื่อนก่อน และมีปัญหากับหุ้นส่วน ก็เลยเลิกรากันไป

“ผมได้มาเริ่มกิจการของตัวเอง เริ่มจากเล็กๆทำคนเดียว รับน้องฝึกงานได้น้องมาช่วย ใน 3 ปีแรก รายได้หลักหมื่น หลักแสน จนผ่านมาปีที่ 3 ถึงได้แตะเงินล้าน หลังจากนั้นเติบโตทุกปี จนมีรายได้หลักสิบล้าน และหลายสิบล้าน ปัจจุบันมีรายได้ 90-100 ล้านบาท

ทั้งนี้ จากสถานการณ์โควิด ทำให้กระแสการทำ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง มาแรง หลายกิจการต่างก็มุ่งมาทำตลาดผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น จากเดิมลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นลูกค้าของเรา ต้องการเพียงสร้างการรับรู้ทางช่องทางออนไลน์ แต่พอสถานการณ์โควิด ความต้องการของลูกค้าจะหันมาให้ความสำคัญกับ การสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งเป็นความท้าท้ายใหม่ ที่บริษัทก็ต้องเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น


ตลาดดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี

นายฐิติวัฒน์ กล่าวถึง การทำตลาดผ่านช่องทางดิจิทัล เทคโนโลยี กลายเป็นสิ่งจำเป็นหลายกิจการหันมาทุ่มงบกับการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น บางบริษัทใช้งบกับการทำตลาดออนไลน์ มากกว่า ช่องทางออฟไลน์เสียอีก เอเจนซี่ หลายบริษัทก็ต้องเพิ่มการให้บริการ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เข้ามา การแข่งขันในกลุ่มเอเจนซี่ด้วยกันมีสูงกว่าในอดีตมาก แต่มูลค่าตลาดก็สูงมากเช่นกัน จากการเติบโตแบบก้าวกระโดด การแย่งตัวพนักงานที่มีความสามารถด้านนี้ ค่อนข้างรุนแรงเช่นกัน

สำหรับการทำตลาดดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา “ฐิติวัฒน์” บอกว่า ไม่ได้มีตำราสอน ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็ว ผมเองก็เรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา เพื่อจะได้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ทัน และปัจจุบันลูกค้าเองก็มีความรู้มากขึ้น เราในฐานะผู้ให้บริการเราก็ต้องรู้มากกว่าลูกค้าอีกหนึ่งสเต็ป เพื่อจะได้สร้างความน่าเชื่อ เพื่อจะได้เลือกใช้บริการกับบริษัทของเรา

ในส่วนของอัตราค่าบริการ สำหรับในส่วนเอเยนซี ทำดิจิทัลมาร์เก็ตมีการปรับราคาขึ้นทุกปี ผู้ประกอบการเอง ก็จำเป็นที่ต้องจ่ายค่าการตลาดในช่องทางดิจิทัลสูงขึ้น เขาก็ต้องคาดหวังผลสัมฤทธิ์ที่ได้มากขึ้นด้วย โดยลูกค้าของเราส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่ทำด้วยกันมาหลายปี ส่วนลูกค้าใหม่ก็จะมีเข้ามาบ้าง แต่เราอาศัยรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้มากกว่า การขยายฐานลูกค้าใหม่


ภาพรวมดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง โตไม่ต่ำกว่า 20%

ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าการเติบโตในช่วงสถานการณ์โควิดไว้ค่อนข้างสูง เพราะจากสถานการณ์โควิด ทำให้คนออกจากบ้านน้อยลง การซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ จึงมีการเติบโตสูงมาก และลูกค้าของเราส่วนใหญ่ จึงทุ่มงบการตลาดมาใช้สำหรับช่องทางออนไลน์ มากกว่าออฟไลน์ โดยตั้งเป้าไว้ว่าบริษัทจะมีรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2564 ประมาณ 70-80 ล้านบาท

สำหรับโดยภาพรวมการเติบโต ของ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เติบโตไม่ต่ำกว่า 20-30% ค่าใช้จ่ายของเอเจนซี่ เองในการซื้อสื่อโฆษณาทางออนไลน์ โดยเฉพาะช่องทางโซเชียลฯ เพิ่มสูงขึ้นทุกปีเช่นกัน แต่ละปีเพิ่มไม่ต่ำกว่า 20-30% และช่องทางโซเชียลฯ ก็ยังคงเป็นสื่อหลักที่บริษัทจะต้องเลือกใช้บริการ มากกว่า เวบไซต์

โดยในส่วนของผู้ประกอบการ เดิมที่ไม่ให้ความสำคัญกับ ช่องทางตลาดดิจิทัลออนไลน์ เพราะประสบกับสถานการณ์โควิด ต่างก็หันมาให้ความสำคัญกับช่องทางนี้มากขึ้น เช่น บริษัทประกันภัยต่างๆ สถาบันการเงิน ธนาคารต่างๆ เกือบทุกค่ายต่างทุ่มงบอย่างหนักกับการทำตลาดช่องทางดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งในปีนี้ บริษัทเริ่มมีลูกค้ากลุ่มนี้ เรียกเข้าไปใช้บริการมากขึ้น


ความยากง่ายของสินค้าช่องทางดิจิทัล

นายฐิติวัฒน์ กล่าวว่า บริษัทเองมีผู้ประกอบการในเกือบทุกหมวดสินค้า ความยากง่ายในการทำตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ ต่างกันออกไป แต่ในส่วนของผลิตภัณฑ์ ที่ทำตลาดในช่องทางดิจิทัลค่อนข้างยากสำหรับบริษัทเอเยนซี จะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ความสวยความงาม ซึ่งที่ผ่านมาแบรนด์ใหญ่ ก็ไม่ได้ลงมาเล่นตลาดนี้ แต่ด้วยการเติบโตของสินค้าในกลุ่มนี้

ปัจจุบัน แบรนด์ใหญ่เริ่มสนใจกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และลงมาเล่นในตลาดนี้มากขึ้น ความยากในการตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางออนไลน์ คงเป็นเรื่องของข้อจำกัดในการทำโฆษณา เพราะติดเรื่องข้อกฎหมายองค์การอาหารและยา ในการกล่าวถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ซึ่งเอเยนซี ส่วนใหญ่ไม่กล้าแลกกับปัญหาและชื่อเสียงที่นำไปแลก ต่างจาก รายเล็กจะกล้าเสี่ยงมากกว่า ทำให้เขาพูดได้มากกว่าเรา ผู้บริโภคเลือกจะรับข้อมูลผ่านช่องทางเหล่านั้นมากกว่า ลูกค้าเองก็อาจจะต้องตัดสินใจแทนที่จะเลือกเอเยนซี ก็ไปเลือกใช้เน็ตไอดอล หรือ อินฟูลเซอร์เหล่านั้นแทน


มารู้จักกับ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง คืออะไร

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการหลายราย อาจจะยังไม่รู้จัก กับ คำว่า ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ครั้งนี้ มาทำความรู้จักกับ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง Digital Marketing คือ การทำตลาดบนระบบดิจิทัล ซึ่งคือ ทุกอย่างที่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และต้องรับรู้ได้ผ่านสื่อ หรือ อุปกรณ์อิเลกทริอนิกส์ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือ ทีวี (หากรับชมผ่านอินเตอร์เน็ต ก็นับเป็นเครื่องมือ ของ Digital Marketing)

สำหรับเครื่องมือในการทำตลาดดิจิทัล ได้แก่ เวบไซต์ โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน Streaming รวมไปถึงแพลตฟอร์มต่าง เช่น Google ซึ่งก็คือ เครื่องมือ Digital Marketing ให้เราเลือกใช้ ทั้ง SEO , SEM,YouTube หรือ Facebook ก็ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับการยอมรับว่า มีการกำหนดเป้าหมายได้อย่างแม่นยำที่สุด ณ ปัจจุบัน เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือช่วยให้เราทำการตลาดดิจิทัลได้

ติดต่อ เฟซบุ๊ก : Tipping Point Solution

คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
SMEs manager

กำลังโหลดความคิดเห็น