xs
xsm
sm
md
lg

สหภาพการบินไทยเตรียมยื่น ก.แรงงานตรวจสอบ ชี้ “ชาญศิลป์” ไม่มีอำนาจเปลี่ยนสภาพจ้างพนักงาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



สหภาพแรงงานการบินไทย ยื่นหนังสือร้อง ก.แรงงาน วินิจฉัย “ชาญศิลป์” ออกคำสั่งเปลี่ยนสภาพการจ้างพนักงานโดยไม่มีอำนาจ ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ชี้เจ้าหนี้ยังไม่รับแผนฟื้นฟู จึงเป็นการกระทำละเมิดสิทธิพนักงาน

รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 5 เม.ย. เวลา 10.00 น. สหภาพแรงงานการบินไทยร่วมใจสัมพันธ์ โดยมีนายศิริพงษ์ ศุกระกาญจนาโชค เป็นประธาน จะเข้ายื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้วินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายและออกคำสั่งทางปกครองให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย

โดยระบุว่า จากประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่องคำสั่งศาลให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาซน) ลูกหนี้ ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2563 และแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2564 หน้าที่ 1, 2, 13, 14, 82, 83, 84. ซึ่งศาลส้มละลายกลางได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 ให้พื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ลูกหนี้ และตั้งบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด ร่วมกับพลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายบุญทักษ์ หวังเจริญ นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันท์ นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล และนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้ทำแผน และ “ผู้ทำแผน” ได้นำส่งแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด เสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564

โดยมีประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการตามแผนพื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ของ “ผู้ทำแผน” โดยนายชาญศิลป์ รีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้ลงนาม ในคำสั่งบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 003/2564 เรื่องโครงสร้างองค์กรบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อ
18 กุมภาพันธ์ 2564 ลงนามในประกาศบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 012/2564 เรื่อง การแสดงความจำนงเข้าสู่กระบวนกลั่นกรองสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ 2564 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564

และลงนามในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2564 และลงนามในข้อกำหนดบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2664 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานไปจากเดิม

สหภาพแรงงานการบินไทยร่วมใจสัมพันธ์ (สร.กบท.สพ.) จึงยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อขอความอนุเคราะห์วินิจฉัยข้อสงสัยประเด็นแรกว่า นายชาญศิลป์ รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2564 หรือไม่อย่างไรในการลงนาม

1. คำสั่งบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 003/2564 เรื่องโครงสร้างองค์กรบริษัท การบินไทย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564

2. ประกาศบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 012/2564 เรื่องการแสดงความจำนงเข้าสู่กระบวนกลั่นกรองสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ 2564 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564

3. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2564

4. ข้อกำหนดบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2564

ประเด็นที่ 2 ในการลงนามในประกาศบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 012/2564 ให้พนักงานแสดงความจำนงเข้าสู่กระบวนกลั่นกรองสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ 2564 นายชาญศิลป์ รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หรือไม่อย่างไร และประเด็นที่ 3 ในการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน นายชาญศิลป์ รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้ปฏิบัติตามพระราขบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือไม่อย่างไร

อนึ่ง หากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้อสงสัยแล้วพบว่า นายชาญศิลป์ รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ดำเนินการออกประกาศ คำสั่งเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานไปจากเดิม โดยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2564 และหรือมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และหรือมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติแรงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สหภาพแรงงานการบินไทยร่วมใจสัมพันธ์ (สร.กบท.สพ.)

ขอความอนุเคราะห์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกคำสั่งทางปกครองให้นายชาญศิลป์รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ และทำตาม พ.ร.บ.ล้มละลายต่อไป

นายนเรศ ผึ้งแย้ม ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานบการบินไทยร่วมใจสัมพันธ์ (สร.กบท.สพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ แผนฟื้นฟู ได้ยื่นต่อศาลไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านการอนุมัติจากเจ้าหนี้ ยังไม่รู้ว่าเจ้าหนี้จะโหวตรับแผนหรือไม่ และศาลจะว่าอย่างไร เท่ากับผู้บริหารแผนฟื้นฟูยังไม่มีอำนาจ จนกว่าแผนฟื้นฟูจะได้รับการอนุมัติ อีกทั้งในแผนฟื้นฟู จะมีการปรับโครงสร้างบริษัท การที่นายชาญศิลป์ รักษาการดีดี มีคำสั่งให้พนักงานสมัครเข้าโครงสร้างใหม่ จึงมีข้อปัญหาว่าเป็นการใช้อำนาจใด เป็นการละเมิดสิทธิพนักงานหรือไม่

โดยจากที่ ได้มีการเปิดให้พนักงานสมัครเข้าโครงสร้างใหม่ และจะประกาศผลในวันที่ 8 เม.ย.นี้ ซึ่งพนักงานที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงสร้างใหม่จะถูกลดเงินเดือน ลดสวัสดิการ หรือสิทธิวัหยุดทางประเพณี จากเดิมจาก 17 วัน เหลือ 13 วัน วันลาพักร้อน เดิมจาก 24 วัน เหลือ 6 วัน เป็นต้น พนักงานถูกตัดสิทธิไป ทั้งๆ ที่โครงสร้างใหม่จริงๆยังไม่มา

เนื่องจากตามแผนฟื้นฟูจะมีการแยกบริษัท เป็น BU เช่น BU ครัวการบิน, BU ช่าง, BU คาร์โก้ ซึ่งต้องรอแผนฟื้นฟูได้รับอนุมัติก่อน ขณะที่ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อแยก BU แล้วมีเอกชนเข้ามาร่วมทุน กลายเป็นนายจ้างใหม่ ซึ่งเป็นกรณีนายจ้างเปลี่ยนนิติบุคคล ซึ่งหากมีการออกระเบียบใหม่ กำหนดเงินเดือนสวัสดิการใหม่ พนักงานที่เข้าร่วมโครงสร้างครั้งนี้ จะไม่มีทางเลือก และ หากจะเข้ากับ BU ใหม่ ก็ต้องสมัครอีกเป็นรอบที่ 2 เป็นผลเสียกับพนักงานอย่างมาก ที่ต้องเสียสิทธิสภาพการจ้างในปัจจุบัน และเห็นว่านายชาญศิลป์ รักษาการดีดี มีคำสั่งให้พนักงานสมัครเข้าโครงสร้างใหม่ ตอนนี้เป็นการใช้อำนาจ ละเมิดสิทธิพนักงานหรือไม่ ซึ่งหากมีการดำเนินการไม่ชอบด้วยแผน และไม่เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายกำหนด สหภาพฯการบินไทยจะดำเนินการยื่นฟ้องขอให้ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยและบังคับให้ปฏิบัติตามแผนต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น