xs
xsm
sm
md
lg

“ศักดิ์สยาม” กางแผนเมกะโปรเจกต์ 26 โครงการ 1.12 ล้านล้าน-เร่งลงทุนช่วยขับเคลื่อน ศก.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



“ศักดิ์สยาม” กางแผนเมกะโปรเจกต์ 26 โครงการ วงเงินกว่า 1.12 ล้านล้านบาท ระดมก่อสร้าง 12 โครงการ 6.74 แสนล้านบาท ช่วยขับเคลื่อนเม็ดเงินเข้าระบบ ศก.เร่งเครื่องประมูล 8 โครงการกว่า 3.69 แสนล้านบาท ที่เหลือจ่อชงบอร์ด PPP และ ครม.อนุมัติ ภายในปี 64

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคมว่า การลงทุนโครงการมีทั้งใช้งบประมาณแผ่นดิน ใช้เงินกู้ และร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) ซึ่งในแผนดำเนินงานช่วงปี 2563-2566 มีจำนวน 26 โครงการ วงเงินรวม 1.127 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง โครงการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ โครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน( PPP) และโครงการที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งจะเร่งรัดเสนอขออนุมัติภายในปี

ทั้งนี้ โครงการส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะดำเนินการแล้ว โดยจะมีการประชุมหน่วยงานเพื่อติดตามทุกเดือนเพื่อให้ทุกโครงการดำเนินการไปตามแผนที่วางไว้ และกรณีมีปัญหาอุปสรรคจะได้แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีจำนวน 12 โครงการ วงเงินรวม 6.74 แสนล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา กรมทางหลวง (ทล.) วงเงิน 75,965.24 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,630 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 59,410.24 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 8,425 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและพัฒนาที่พักริมทาง 1,500 ล้านบาท

2. โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 64,107.93 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 17,452 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 38,805.93 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 6,750 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและพัฒนาที่พักริมทาง 1,100 ล้านบาท

3. โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) วงเงิน 2,943.81 ล้านบาท 4. โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) วงเงิน 28,338.86 ล้านบาท 

5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวิทนวงศ์) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 109,135.91 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง 208.90 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,402.77 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 81,777.24 ล้านบาท ค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า 20,747 ล้านบาท 

6. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงิน 50,970.63 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง 34 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,203.63 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธาพร้อมงานระบบ 45,733 ล้านบาท (ไม่รวมกรอบวงเงินสนับสนุนแก้เอกชน 22,500 ล้านบาท) 

7. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 48,125.98 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง 124.02 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,900.01 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธาพร้อมงานระบบ 43,101.95 ล้านบาท (ไม่รวมกรอบวงเงินสนับสนุนแก้เอกชน 25,050 ล้านบาท)

8. โครงการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. วงเงิน 21,975.94 ล้านบาท

9. โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 179,608.81 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,637.85 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 122,100.92 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 51,870.04 ล้านบาท 

10. โครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 84,101.84 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 57,086.13 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 27,015.71 ล้านบาท

11. โครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 5,839.79 บาท (ค่าก่อสร้างงานระบบ) 

12. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (เฉพาะค่าเวนคืนที่ รฟท.ได้รับงบประมาณ วงเงิน 3,570.29 ล้านบาท)

เร่งเครื่องประมูล 8 โครงการใหญ่ มูลค่ากว่า 3.69 แสนล้านบาท

ส่วนโครงการที่ ครม.อนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการมี 8 โครงการ วงเงินรวม 3.69 แสนล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1,357.04 ล้านบาท 2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 124,958.62 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง 167.62 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,945 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 85,167 ล้านบาท ค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า 23,064 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานระบบฯ 615 ล้านบาท

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ วงเงิน 122,067.27 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง จากงบประมาณ 7.55 ล้านบาท จากเงินรายได้ 18.72 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 14,661 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 96,011 ล้านบาท ค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า 11,369 ล้านบาท

4. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 53,489.58 ล้านบาท 5. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต- มธ.ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 300 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 4,073.23 ล้านบาท ค่างานระบบ 2,197.17 ล้านบาท

6. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 7,670.82 ล้านบาท ค่างานระบบ 2,531.36 ล้านบาท 7. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 2,934.53 ล้านบาท ค่างานระบบ 3,710.50 ล้านบาท 8. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และบางซื่อ-หัวหมาก วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 191.92 ล้านบา ค่าก่อสร้างงานโยธา 25,454.22 ล้านบาท ค่างานระบบ 18,511.62 ล้านบาท

จ่อชงบอร์ด PPP เคาะประมูลที่พักริมทางมอเตอร์เวย์ 2 โครงการ

สำหรับ โครงการที่เตรียมเสนอคณะกรรมการ PPP มี 2 โครงการ วงเงินรวม 2,276.75 ล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา บนมอเตอร์เวย์ สาย 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา วงเงิน 1,683.88 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 784.23 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 841.51 ล้านบาท ค่าควบคุมงาน 58.14 ล้านบาท 2. โครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง บนมอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 592 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 132.29 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 436.05 ล้านบาท ค่าควบคุมงาน 24.53 ล้านบาท

ดันดอนเมืองเฟส 3 เข้า ครม.

ทั้งนี้ มีโครงการที่จะนำเสนอ ครม.ในระยะต่อไป จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 81,335.80 ล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว วงเงิน 33,170.89 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,142.50 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธาช่วงบางขนเทียน-เอกชัย 10,480.39 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธาช่วง เอกชัย-บ้านแพ้ว 19,700 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 1,848 ล้านบาท

2. โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 32,292.40 ล้านบาท 3. โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818.51 ล้านบาท 4. โครงการศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภา ของสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) วงเงิน 54 ล้านบาท




กำลังโหลดความคิดเห็น