xs
xsm
sm
md
lg

“สุพัฒนพงษ์”ยันค่าไฟฟ้า-กำลังผลิตเหมาะสม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน อภิปรา่ยฯชี้แจงประเด็นพลังงานเมื่อคืนที่ผ่านมา(18ก.พ.)
จากกรณีน.ส.เบญจา แสงจันทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยอ้างว่าเปิดโอกาสให้เอกชนรายหนึ่งได้รับประโยชน์จากนโยบายด้านพลังงานและสัมปทานจากภาครัฐ ท่ามกลางเศรษฐกิจย่ำแย่ ปล่อยให้กลุ่มทุนแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรของชาติ ซึ่งทำให้ประชาชนต้องใช้ค่าไฟฟ้าแพง

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ได้รับมอบหมายจากพล.อ.ประยุทธ ให้ตอบคำอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ว่า ทำไมกำลังการผลิตไฟฟ้าจึงเหลือ และ ทำไมไฟฟ้าจึงแพง ต้องเข้าใจว่า การออกแบบกำลังการผลิตเป็นไปตามแผน 2018 หรือ ปี 2561 โดยทำกันในปี 2560 วิธีการประเมินความต้องการใช้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย ณ เวลานั้น และ พยากรณ์ออกไปข้างหน้า 20 ปี ตอนนั้น ใช้ตัวเลขจีดีพี ประมาณ 3.8 % ต่อปีต่อเนื่อง ไม่มีใครทราบว่า ปี 2563 จะเกิดเหตุการณ์ การระบาดของโควิด ปริมาณความต้องการไฟฟ้าลดลงจากเดิมไป 10 % เป็นการลดลงที่สำคัญ และเป็นกันทั้งโลก
ส่วนปริมาณ พยากรณ์ตั้งแต่ปี 2560 ที่จะใช้เป็นแผนของการกำหนดกำลังการผลิตนั้น ต้องออกแบบก่อนจึงต้องมีการผลิตเกิดขึน เพราะการผลิต กว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง นาน จำเป็นจะต้องตัดสินใจ ผูกพัน และลงทุน เป็นการล่วงหน้า เพื่อให้เกิดการผลิตตรงกับ หรือทันกับความต้องการที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต

ในปี 2560 เศรษฐกิจโตปีละ 3.8 โดยยังรักษากำลังการผลิตสำรองไว้ประมาณ 15-20 % เป็นปกติที่จะต้องรักษาความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยไว้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศไทยมาโดยตลอด ตรงนี้คือ การออกแบบ เป็นวิธีการ และกระบวนการ

ที่บอกว่าไปกำหนดความต้องการ เพื่อสร้างกำลังการผลิตเพื่อไปเอื้อใคร กระบวนการตรงนี้เขาใช้ตัวเลขของสภาพัฒน์ แล้วก็มีการสอบถามสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า มีการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อให้มั่นใจว่า เป็นการพยากรณ์ที่มีความเหมาะสม และ เป็นความพอใจและยอมรับได้ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาประเทศไทย ที่จะอาศัยการใช้ไฟฟ้า เป็นตัวจักรสำคัญ
ความเชื่อมั่นในระบบ เกิดขึ้นด้วยวิธีนี้มาโดยตลอด ประเทศไทยจึงได้รับการยกย่องว่า เป็นประเทศที่มีระบบไฟฟ้าที่ดีที่สุด ระดับโลก

ดังนั้น จากสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น แน่นอนว่า กำลังผลิตเหลือ สำรองจึงเพิ่มขึ้น

ส่วน เรื่องไฟฟ้าแพง ประเทศไทยค่าไฟฟ้า 3 บาท 66 สตางค์ มาเลเซีย 3 บาท 11 สตางค์ พม่า 2 บาทกว่า นั้น ต้องเข้าใจที่มาก่อนว่า ไฟฟ้าที่อื่นเขาถูกเพราะอะไร เขามีสัดส่วนของถ่านหินและน้ำสูง สูงกว่าประเทศไทย ซึ่งการผลิตไฟฟ้าหรือต้นทุนไฟฟ้าที่ถูกที่สุดมาจากถ่านหินกับน้ำ หรือเขื่อน ซึ่งประเทศไทยเรารู้อยู่แล้วว่า เราใช้น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านหรือมีโอกาสแต่ไม่ได้สร้าง เราจึงใช้แก๊สธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ซึ่งต้นทุนสูงกว่า และ ที่แพงมากกว่านั้นคือ เรามีพลังงานทดแทนเป็นสัดส่วนสำคัญ ต่าก็เพื่อใคร ก็เพื่อเกษตรกร เพื่อชุมชนต่างๆได้มีโอกาสที่จะทำโครงการประเภทชีวมวล ซึ่งแพง ก็มาเฉลี่ยแล้ว จึงแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

เพราะฉะนั้น สองข้อนี้ ในรัฐบาลนี้ ตอบได้ว่า ทำไมไฟฟ้าจึงเกิน ทำไมค่าไฟฟ้าจึงแพง เราไม่มีนโยบายผูกขาดให้ใคร ไม่มีกำลังผลิตอะไรใหม่ๆในขณะนี้ จะมีแค่โรงไฟฟ้าชุมชน ขนาด 150 เมกะวัตต์ที่จะเกิดขึ้น ก็เพื่อวิสาหกิจชุมชนต่างๆ ที่สนใจอยากจะทำโรงฟ้าชุมชน อันนี้ก็จะเป็นกำลังผลิตใหม่ที่จะเกิดขึ้น นี่คือวิธีคิดของรัฐบาลในเรื่องนโยบายพลังงาน

“ในส่วนของ การประมูล พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ท่าเรือเอฟ ผมก็ไม่ทราบว่า ท่านไปทราบได้อย่างไรว่าเขามีข้อเสนอเชิงพาณิชย์เท่าไร แต่ว่า ข้อมูลที่ได้มาก็คือ พิจารณาแล้ว สมาชิกแต่ละรายของผู้เข้าประมูลอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้ลงนาม ไม่ได้ลงนามนะครับ ไม่ใช่ลงนามผิดช่องนะครับ ไม่ได้ลงนามเพื่อยืนยันความผูกพันในการร่วมกันยื่นข้อเสนอเข้าร่วมลงทุน ในแบบฟอร์ม สัญญากิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ แล้วเขาก็ฟ้องศาลปกครองด้วย ศาลปกครองก็ชี้ออกมาแล้วว่า สิ่งที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการคัดเลือกทำ ก็ชอบแล้ว และซองข้อเสนอทางพาณิชย์ยังไม่ไดถูกเปิดเลย ก็ไม่ทราบว่า ท่านสมาชิกสภาแทนราษฎร ท่านเบญจา ไปได้ข้อมูลมาจากที่ใด และผลหรือ จิตนาการที่บอกว่า ใครไปสั่งให้ลด ให้เพิ่มค่าตอบแทน อย่างไร มาอย่างไร แล้ววันนี้ การพิจารณาตัดสินเรื่องนี้ก็ยังไม่เรียบร้อย ไม่สมบูรณ์ ยังอยุ่ในขั้นตอนพิจารณาอยู่” รองนายกฯกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น