xs
xsm
sm
md
lg

น้ำหอมจากขนแพะ ความสำเร็จครั้งแรกนักวิจัยไทย

เผยแพร่:



แพะสัตว์เศรษฐกิจของประเทศไทย ประเทศมีการเลี้ยงแพะจากข้อมูลปัจจุบันกรมปศุสัตว์ได้มีการสำรวจพบว่ามีแพะรวม 832,533 ตัว เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในระยะเวลา 12 ปี เกษตรเลี้ยงแพะเพิ่มจาก 38,653 ครัวเรือน เป็น 65,850 ครัวเรือน และแพะที่ผลิตได้ใช้บริโภคในประเทศประมาณปีละ 377,000 ตัว ส่งออกไปยังตลาดมาเลเชียประมาณ 100,000 ตัว/ปี ที่เหลือส่งออกไปยังตลาดลาวและเวียดนาม เป็นต้น


ล่าสุด ได้เกิดมีมหา’ลัยแพะแห่งแรกของประเทศไทยที่จังหวัดกระบี่ เป็นความร่วมมือของภาครัฐ นำโดยกระทรวง อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กับภาคเอกชน ศรีผ่องฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงแพะ สภาการศึกษา จังหวัดกระบี่ และการเกิดขึ้นของ มหาวิทยาลัยแพะนานาชาติ กระบี่ เป็นจุดเริ่มต้นของ งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้แพะ

สำหรับผลิตภัณฑ์ จากการแปรูปผลผลิตแพะที่ได้ มีความหลากหลาย ซึ่งทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)ได้มีการนำงานวิจัยมาช่วยในการแปรรูปผลผลิตที่ได้จากแพะมากมาย ล่าสุด ผลงานวิจัย การผลิตน้ำหอมจากขนแพะได้เป็นผลสำเร็จ ครั้งแรกของประเทศไทย


ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. กล่าวว่า การขับเคลื่อน Model แพะในจังหวัดกระบี่ และในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เราได้เห็นการขยายผลสำเร็จผ่านงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมแบบยั่งยืนในหลายโครงการ รวมถึง การนำขนแพะมาสกัดเป็นน้ำหอมได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย มาจากการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วย เป็นต้น

สำหรับ ผลงานวิจัยขนแพะมาสกัดน้ำหอม ครั้งนี้ เกิดขึ้นมาจากการลงพื้นที่ของ นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยมี นายชวน ภูเก้าล้วน ประธานกรรมการบริษัท ศรีผ่องพานิช จำกัด ได้ประชุมปรึกษาหารืองานวิจัยด้านแพะและกล่าวถึงการเหลือทิ้งของขนแพะในฟาร์ม และได้ ดร.ขนิษฐา ชวนะนรศรษฐ์ นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรวว. ได้นำขนแพะมาทำการวิจัยและพัฒนา โดยการนำนวัตกรรมการสกัดขนแพะมาพัฒนาน้ำหอมที่มีกลิ่นเฉพาะตัว มีความโดดเด่น ซับซ้อนและลอกเลียนแบบยาก ซึ่งอยู่ระหว่างการวิจัย Male Pheromone ที่มีในขนแพะ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอางในอนาคต


ดร.ขนิษฐา กล่าวถึงงานวิจัยขนแพะ ครั้งนี้ ว่า สำหรับขนแพะ มีคุณสมบัติพิเศษ มีกลิ่นฉุนแรง แต่ในความฉุนนั้นมีกลิ่นที่เฉพาะตัวที่สามารถนำมารังสรรค์เป็นน้ำหอมที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและลอกเลียนแบบยาก จากการสังเกตพบว่าผลิตภัณฑ์น้ำหอมทั่วไป ส่วนใหญ่ได้มีการใช้วัตถุดิบที่มีกลิ่นเฉพาะหลายชนิด ดังนั้น ขนแพะมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่นกัน ทั้งนี้ ทางวว. อยู่ระหว่างการพัฒนาขนแพะที่เหลือจากการสกัด นำไปทำเป็นอุปกรณ์เพื่อเสริมความงาม เช่น ขนแปรงปัดแก้ม ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากเส้นใยขนแพะมาทดแทนการใช้พลาสติกและโพลิเมอร์

ทั้งนี้ การนำขนแพะมาสกัดทำน้ำหอมในครั้งนี้ สามารถทำน้ำหอมกลิ่นผู้หญิงและกลิ่นของผู้ชายได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ด้วย




* *คลิกLikeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *


SMEs manager
กำลังโหลดความคิดเห็น