xs
xsm
sm
md
lg

ธพว. ยันศาลฎีกาสั่งจ่ายค่าเสียหายคดี SCBT ไม่กระทบฐานะการเงิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



“เอ็มดี ธพว.” ยันคำตัดสินศาลฎีกาให้ ธพว.จ่ายค่าเสียหาย SCBT ในคดีทำสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนฯ จะไม่กระทบฐานะการเงินของธนาคารฯ เหตุได้กันเงินสำรองล่วงหน้าไว้แล้วตั้งแต่มีกรณีพิพาท

นางนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) กล่าวถึงกรณีศาลฎีกามีคำพิพากษายืนให้ ธพว. จ่ายเงินตามสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนพื้นฐาน (CCS) และสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบนบัตรเงินฝากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (IRS) ให้แก่ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SCBT มูลค่า 6 พันล้านบาท ว่า ธพว.ได้วางแผนกันเงินสำรองล่วงหน้ามาตั้งแต่ที่มีกรณีพิพาทแล้ว

ดังนั้น การต้องชำระเงินให้แก่ SCBT จะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานภาพการเงินของ ธพว. เนื่องจากเงินทุนสำรองของธนาคารฯ ยังมีอยู่อย่างเพียงพอ อีกทั้งเสถียรภาพทางด้านการเงินก็ยังมีความแข็งแกร่ง มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ เนื่องจาก ธพว. เป็นสถาบันการเงินหลักของรัฐบาลที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรม โดย ธพว. มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เข้าสู่ความรู้คู่เงินทุน

ทั้งนี้ ในปัจจุบันกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น ธพว. ใหญ่ในสัดส่วนถึง 99.1758% ขณะที่สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) จะมีอยู่ราว 10.02% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญต่อ ธพว.

นอกจากนี้ ธพว. ยังได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวและรายงานงบการเงินไว้ในรายงานประจำปีของทุกปีที่ผ่านมาด้วย สำหรับการดำเนินการกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม CCS และ IRS ดังกล่าวนั้น ธพว. ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยได้ลงโทษไล่ออกพนักงาน 4 รายแล้ว รวมถึงยังได้ยื่นเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ป.) หากได้ข้อสรุปประการใดจาก ป.ป.ป. แล้ว ธพว. จะดำเนินการกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น