xs
xsm
sm
md
lg

ทำความรู้จักร้านทำ “ตาลปัตร - พัดยศ” เครื่องสังฆภัณฑ์มูลค่าหลักพันถึงหลักแสน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


รุ่งทิพย์ บัณฑิตวัฒนกุล เจ้าของกิจการ “ร้าน ศ.สังฆภัณฑ์”  และ พัดยศ ที่นำมาให้ชม
หากใครที่เคยไปวัดเพื่อไหว้พระทำบุญ และเคยร่วมพิธสงฆ์แล้ว ก็คงจะมีโอกาสได้เห็น “ตาลปัตร” หนึ่งในเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ ที่มีลักษณะเหมือนพัดขนาดใหญ่ ปักลายแตกต่างกันออกไปตามวาระต่างๆ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ตาลปัตรที่มีลวดลายและลักษณะที่แตกต่างกันนั้น มีชื่อเรียกและการใช้ที่แตกต่างกันตามวาระ อีกทั้งมูลค่าก็ยังมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนบาท

นางรุ่งทิพย์ บัณฑิตวัฒนกุล
เจ้าของกิจการ “ร้าน ศ.สังฆภัณฑ์” หนึ่งร้านขายสังฆภัณฑ์ “ย่านเสาชิงช้า” แหล่งขายเครื่องสังฆภัณฑ์ขึ้นชื่อใจกลางกรุงเทพมหานคร ได้อธิบายเรื่องตาลปัตรว่า “ตาลปัตร” เป็นหนึ่งในแปดเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ อันได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาติ (ผ้าซ้อน) บาตร มีดโกน เข็ม ประคดเอว ธมกรก (ที่กรองน้ำ) หากใครที่มีโอกาสทำบุญก็คงจะได้เห็นตาลปัตรกันบ่อยๆ ในพิธีสงฆ์วาระต่างๆ ตาลปัตรที่ใช้ในพิธีสงฆ์ทั่วไปเรียกว่า “พัดรอง” ตาลปัตรที่ใช้ในงานราชพิธีเรียกว่า “พัดยศ”

รุ่งทิพย์ บัณฑิตวัฒนกุล เจ้าของกิจการ “ร้าน ศ.สังฆภัณฑ์”
พัดรองคือตาลปัตรที่สามารถเห็นได้บ่อย เช่น ในขณะที่พระสงฆ์ให้ศีลและให้พร เราจะเห็นพระสงฆ์นำมาบังหน้าขณะทำพิธีสงฆ์ แต่ในบางครั้งอาจจะเห็นตาลปัตรบางเล่มตั้งประดับไว้ใกล้ๆ กับที่นั่งของพระสงฆ์ระดับผู้ใหญ่ มีลวดลายงดงามและมีรูปลักษณ์ที่สง่า ดูแตกต่างจากตาลปัตรทั่วๆ ไป ตาลปัตรแบบนี้ เรียกว่า “พัดยศ” ถือเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก เนื่องจากเป็นเครื่องกำหนดสมณศักดิ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแด่พระภิกษุในโอกาสที่ได้รับสมณศักดิ์ และจะนำมาใช้ในงานราชพิธีเท่านั้น ไม่นำมาใช้ในพิธีสงฆ์ปกติ และพระสงฆ์ที่ไม่มีสมณศักดิ์จะไม่สามารถใช้พัดยศได้ จะถือว่าเป็นความผิด

เรื่องการทำพัดยศ – พัดรอง จะไม่เหมือนกัน การทำ “พัดยศ” จะยากกว่าพัดรอง เนื่องจากต้องปักลายด้วยมือเท่านั้น และต้องปักให้เหมือนกันทั้งสองด้าน งานปักจะปราณีตเพราะจะต้องนำดิ้นเงินและดินทองมาปักเป็นลวดลาย ลวดลายแต่ละลวดลายจะแตกต่างกันตามสมณศักดิ์ ยิ่งสมณศักดิ์สูงขึ้น ลวดลายศิลปะเครื่องประดับก็ยิ่งสวยและวิจิตรยิ่งขึ้น พัดยศบางเล่มที่มีสมณศักดิ์สูงก็จะมีการประดับเพชรพลอยหรืองาช้างเข้าไปด้วย แต่ละเล่มจะใช้เวลาปัก 3 เดือน – ครึ่งปี ความยากง่ายขึ้นอยู่กับลวดลาย และราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักหลายพันบาท ไปจึงถึงหลักแสนบาท ตามแต่ความยากง่ายของลวดลายอันวิจิตรบรรจง

พัดยศ ลวดลายงดงาม
เรื่องการทำพัดยศ – พัดรอง จะไม่เหมือนกัน การทำ “พัดยศ” จะยากกว่าพัดรอง เนื่องจากต้องปักลายด้วยมือเท่านั้น และต้องปักให้เหมือนกันทั้งสองด้าน งานปักจะปราณีตเพราะจะต้องนำดิ้นเงินและดินทองมาปักเป็นลวดลาย ลวดลายแต่ละลวดลายจะแตกต่างกันตามสมณศักดิ์ ยิ่งสมณศักดิ์สูงขึ้น ลวดลายศิลปะเครื่องประดับก็ยิ่งสวยและวิจิตรยิ่งขึ้น พัดยศบางเล่มที่มีสมณศักดิ์สูงก็จะมีการประดับเพชรพลอยหรืองาช้างเข้าไปด้วย แต่ละเล่มจะใช้เวลาปัก 3 เดือน – ครึ่งปี ความยากง่ายขึ้นอยู่กับลวดลาย และราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักหลายพันบาท ไปจึงถึงหลักแสนบาท ตามแต่ความยากง่ายของลวดลายอันวิจิตรบรรจง

การทำสั่งทำพัดยศนั้น ส่วนมากจะสั่งทำในวาระที่พระสงฆ์ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ และต้องการเก็บพัดยศอันเดิมไว้เป็นที่ระลึก เพราะหากพระภิกษุรูปใดที่ได้เลื่อนสมณศักดิ์แล้ว ก็จะต้องมอบพัดยศสมณศักดิ์เล่มเดิมคืนสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อรับพัดยศสมณศักดิ์เล่มใหม่ หรือในบางกรณีที่พัดยศชำรุด ก็มีการสั่งทำใหม่ ลูกค้าของทางร้านส่วนมากจะเป็นพระสงฆ์ในวัดต่างจังหวัด ซึ่งจะดูข้อมูลจากทางเว็บไซต์ของร้าน โดยทางร้านจะเป็นผู้รับงานและสั่งทำกับร้านที่ปักพัดยศโดยเฉพาะ พร้อมกับมีการส่งให้ทั่วประเทศ โดยคิดราคาตามตามอัตราน้ำหนัก อีกทั้งทางร้านจะคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ

การปักอย่างปราณีต ด้วยดิ้นเงินและดิ้นทอง
ในส่วนของการทำ “พัดรอง” จะทำง่ายกว่าพัดยศ เพราะปัจจุบันมีเครื่องปักที่ทันสมัย และยังมีเทคโนโลยีการออกแบบลวดลายและตัวอักษรได้ตามที่ลูกค้าต้องการ โดยทางร้านจะมีลายและแบบตัวอักษรให้ลูกค้าได้เลือก พร้อมกับทำตัวอย่างให้ลูกค้าได้ดู ซึ่งพัดรองนั้นจะใช้เวลาทำประมาณ 2 – 3 วัน ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ชิ้นละ 1,600 บาท จนถึงหลักหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลวดลายที่ลูกค้าสั่งทำ

พัดรอง ในวาระต่างๆ
ลูกค้าส่วนมากที่มาสั่งทำนั้น ส่วนมากจะสั่งทำในช่วงเข้าพรรษา เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงที่นิยมจัดงานอุปสมบท หรือที่เรียกกันว่า “บวชนาค” เพราะตาลปัตรเป็น 1 ใน 8 เครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ ที่ต้องใช้ประกอบในพิธีอุปสมบท ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะมีการเลือกสีตามวันเกิด และนิยมปักชื่อของผู้ที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์อีกด้วย

และช่วงทำ “บุญกฐิน” คือช่วงวันออกพรรษา ในช่วงนี้ก็จะมีการสั่งทำกันมาก ทั้งจากหน่วยงานรัฐหรือเอกชน เพื่อไปถวายในวาระต่างๆ เช่น ถวายในวาระที่ได้รับกฐินพระราชทาน เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกแก่พระสงฆ์ หรือลูกค้าบางท่านก็อาจจะสั่งทำ ให้เป็นที่ระลึกในการทำบุญวันเกิดของตัวเอง หรืองานบุญต่างๆ

ลวดลายงดงามของ พัดรอง
ปัจจุบันนี้เรื่องของตาลปัตร มีคนให้ความสนใจเพราะด้วยลวดลายศิลปะ ที่สามารถแสดงสัญลักษณ์ของงานในวาระต่างๆ ทำให้ตาลปัตรมีคุณค่าทางศิลปะเพิ่มขึ้น มีมูลค่าที่มากขึ้นด้วย และสมัยนี้ผู้คนนิยมหันมาเข้าวัดเข้าวา หลีกหนีจากสังคมที่วุ่นวาย เพื่อไหว้พระทำบุญร่วมพิธีสงฆ์ ตลาดการซื้อขายเครื่องสังฆภัณฑ์ก็ยังคึกคัก แม้จะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจเงียบเหงา

ตัวอย่าง พัดยศ ในแต่ละสมณศักดิ์ (ภาพ : ศ.สังฆภัณฑ์)
สนใจติดต่อ
รุ่งทิพย์ บัณฑิตวัฒนกุล
www.s-sangkapan.com
FB : ร้าน ศ.สังฆภัณฑ์ บริการสังฆภัณฑ์ออนไลน์
โทร.085-8322424 , 02-6223173
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *

SMEs manager

กำลังโหลดความคิดเห็น