บันทึกขุมเหมืองทองหมื่นล้าน เปิดเส้นทาง “อัคราไมนิ่ง หรืออัครารีซอร์สเซส” ขุดทองก้อนแรกจนถึงวันโดน ม.44 สั่งปิด รอชี้ชะตาเปิดเดินเครื่องต่อหรือเดินหน้าสู้คำร้องชดใช้ค่าเสียหาย 3 หมื่นล้าน
“อัคราไมนิ่ง” หรือบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด(มหาชน) ร่วมทุนกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด (Kingsgate Consolidated NL) ประเทศออสเตรเลียสำรวจและผลิตและจำหน่ายแร่ทองคำและเงิน ได้อาชญาบัตรพิเศษสำรวจสายแร่ทองคำ นับแต่ปี 2530 และจดทะเบียนก่อตั้ง 13 ส.ค.2536 มีสัมปทานเหมืองแร่ชาตรี บริเวณเขาหม้อ เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ตามใบประทานบัตร 14 แปลง เนื้อที่ประมาณ 110,000 ไร่บริเวณรอยต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก
ซึ่งมีการประเมินว่า มีสินแร่ภูเขาไฟอยู่ 14.5 ล้านตัน ปริมาณทองคำเฉลี่ย 2.6 กรัม และแร่เงิน 13.3 กรัมต่อสินแร่หนัก 1 ตัน สามารถสกัดเป็นโลหะ ทองคำได้ 32 ตัน โลหะเงิน 98 ตัน มูลค่า 10,000 ล้านบาท และ 600 ล้านบาท (ตามลำดับ)
ปี 2538 บริษัทอัคราไมนิ่ง สำรวจพบสายแร่ทองจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ และยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำสำเร็จ กระทั่ง 27 ธันวาคม 2542 ก็ได้ทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามใบอนุญาตประทานบัตรจำนวน 5 แปลง พื้นที่ประมาณ 1,259 ไร่ พร้อมได้ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อการเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ พื้นที่ประมาณ 1,575 ไร่ เพื่อเปิดการผลิตเหมืองแร่ทองคำชาตรี(ใต้)
มิ.ย.2543 บริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด ได้รับใบประทานบัตร ขุดสำรวจ ขุดแร่ ผลิตและจำหน่ายแร่ทองคำ ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร (19 มิ.ย.2543–18 มิ.ย. 2563) ตามโครงการเหมืองทองคำชาตรี จำนวน 5 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1,259 ไร่ เดินสายพานผลิตแร่ทองคำส่งไปสกัดเป็นทองบริสุทธิ์ที่ออสเตรเลีย และนำเข้าเมืองไทยอีกครั้ง
12 ธันวาคม 2544 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปทำพิธีเปิดเหมืองทองคำผลิตทองคำแท่งเชิงพาณิชย์ของเหมืองแร่ทองคำชาตรีใต้ก้อนแรก พร้อมกันนั้นก็ได้ทำทุกวิถีทางกว้านซื้อที่ดินต่อจากชาวบ้าน ทุ่มจ่ายทั้งค่านายหน้า ค่ารื้อถอน เรียกว่า เงินสะพัดไปทั่วพื้นที่รอบๆเหมืองทอง
อย่างไรก็ตาม ด้านหนึ่งการต่อต้านเริ่มปรากฎหนักขึ้น เพราะวิถีชีวิตของชาวบ้านรอบเหมืองเริ่มเปลี่ยน ข้าวปลาอาหาร น้ำอุปโภค-บริโภค-น้ำในการเกษตรเหือดแห้ง ชาวบ้านต้องซื้อน้ำกินน้ำใช้ และเริ่มเจ็บป่วยด้วยอาการแพ้ มีผื่นคันเป็นตุ่มบริเวณผิวหนัง มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆต่อเนื่อง
12 กุมภาพันธ์ 2550 บริษัทอัคราฯ ก็ได้ทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีขอประทานบัตรจำนวนอีก 9 แปลง พื้นที่ประมาณ 2,466 ไร่ ตามโครงการเหมืองแร่ทองคาชาตรีเหนือ และขอจัดตั้งสถานที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทรายนอกเขตเหมืองแร่ พื้นที่ประมาณ 161 ไร่ รวมทั้ง 2แหล่ง อัคราฯ ได้ประทานบัตรจำนวน 14 แปลง พื้นที่ 3,926 ไร่
พฤศจิกายน 2550 เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมด้วยตนเอง เพื่อขอสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทอัคราไมนิ่ง จากัด กระทั่งได้ใบประทานบัตร 9 แปลงในที่สุด และยังขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำจำนวน 44 แปลง พื้นที่ประมาณสี่แสนไร่ที่เพชรบูรณ์ ซึ่งต่อมาคาดว่า เป็นแหล่งแร่ทองคำสุวรรณ และแหล่งทองคำโชคดี
2551 บริษัทอัคราไมนิ่งฯ ได้ขอขยายพื้นที่และโรงงานเหมืองและผลิตโลหกรรมเพิ่มเติม ใช้ชื่อว่า “โครงการเหมืองแร่ทองคาชาตรีเหนือ” ซึ่งอยู่ติดกับพื้นที่เดิม (เหมืองชาตรีใต้) ท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
เนื่องจากเห็นว่าการขอขยายพื้นที่ ไม่มีการจัดทารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ตามมาตรา 46-49 พ.ร.บ.สวล.2535 แต่ก็มีการออกใบอนุญาตให้บริษัทอัคราไมนิ่งฯ ขยายพื้นที่ดังกล่าวได้
ปี 2553 บริษัทอัคราไมนิ่งฯ สร้างบ่อทิ้งเก็บกากแร่แห่งที่ 2 บนพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นที่เก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินตามโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรี (เดิม) ซึ่งส่อผิดวัตถุประสงค์ของการขออนุญาตใช้พื้นที่ รวมทั้ง EIA ก็กำหนดให้บ่อทิ้งเก็บกากแร่แห่งที่ 2 อยู่ห่างจากคลองและชุมชนอย่างน้อย 1 กิโลเมตร นั่นหมายถึงเหมืองต้องซื้อที่ดินและบ้าน บริเวณริมบ่อเก็บกากแร่ที่ 2 ทันที เพราะห่างเพียง 300 เมตร
แต่พฤศิกายน 2551 ก็เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ โครงการเหมืองแร่ทองคาชาตรีเหนือ
10 พฤศจิกายน 2553 ตัวแทนประชาชนหมู่ 9 บ้านเขาหม้อ จำนวน 44 คนยื่นฟ้องศาลปกครองพิษณุโลก กรณีบ่อเก็บเก็บกากแร่แห่งที่ 2 ทับเส้นทางสาธารณประโยชน์สายนาตาหวาย-อ่างหิน เพราะเป็นการก่อสร้างบนโฉนดที่ดินของ บริษัทสวนสักพัฒนา จากัด ซึ่งออกตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 1834 ดำเนินคดีกับ 5 หน่วยงานรัฐ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ คณะกรรมการเหมืองแร่ อธิบดีกรมป่าไม้ และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจ็ดลูก ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่
และขอให้ศาลมีคาสั่งเพิกถอนประทานบัตร 5 แปลงแรกของบริษัทฯ ที่ไม่ได้มีการทำ EHIA และยุติการดำเนินการใด ๆในเขตประทานบัตรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายเป็นการชั่วคราว รวมถึงขอให้เพิกถอนการอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเหมืองแร่ โดยกรมป่าไม้ และเพิกถอนมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจ็ดลูก เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ที่ไม่ได้เปิดให้ประชาชนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงมีส่วนร่วม
ระหว่างระบวนการทางศาล เหมืองทองชาตรีไม่ได้หยุด และมีการขอขยายพื้นที่ทำเหมือง โรงงานทำเหมืองแร่และผลิตโลหะกรรมเพิ่มเติมในแปลงประทานบัตร 9 แปลง นำไปสู่การร้องเรียน-ยื่นฟ้องกรณีผลกระทบเพิ่มขึ้น
กระทั่งธันวาคม 2553 ศาลปกครอง สั่งให้หยุดการทำงานของเครื่องจักรและให้หยุดทำเหมืองทองคำ จนกว่าแก้ไขเสียงดัง จากนั้นได้มีการวัดคุณภาพของน้ำ กระทั่งศาลมีคำพิพากษาให้ถอนประทานบัตรทั้ง 5 แปลง ระบุเพิกถอนมีผลในวันที่ผู้ร้องสอดไม่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเหมืองแร่ทองคำให้เป็นไปประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทาง
ปี 54-56 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ก็ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งศึกษาวิจัย แต่ไม่พบมีการแพร่กระจายของไซยาไนด์ เล็ดลอด
พฤษภาคม 2556 กลุ่มพีมูฟ(ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม)และตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบเหมือง ถูกบริษัทฟ้องกรณีบุกรุกและเข้าไปยังสถานที่เหมือง ทำให้คนคัดค้านเหมืองทองถูกบริษัทอัคราไมนิ่งฯ แจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท
พฤษภาคม 2557 ประชาชนยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังสานักนายกรัฐมนตรี และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยรังสิต ลงพื้นที่ตรวจเจาะเลือด โดยผลการตรวจคนรอบเหมืองทองจานวน 738 คน เด็ก 67 คน มีสารหนูในเลือดสูง และผู้ใหญ่ 664 คน มีสารหนู 104 คน ส่วนผลตรวจจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ระบุว่าประชาชน 200 ราย มี DNA ผิดปกติ ทำให้อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ยุคนั้นออกคำสั่งห้ามทำเหมือง 30 วัน มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2558 เพื่อให้แก้ปัญหา แต่บริษัทอัคราไมนิ่งฯ ได้ยื่นอุทธรณ์คาสั่งดังกล่าว
ธันวาคม 2557 ชาวบ้านจาก 5 จังหวัด (พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี) ประมาณ 40 คน ยื่นหนังสือต่อคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน และพิจารณาเป็นตัวแทนเป็นโจทก์หรือตัวแทนประชาชนผู้ได้รับผลกระทบต่อการทำเหมืองทองคำ ฟ้องร้องเอาผิดต่อ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด(มหาชน)
กันยายน 2558 กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ค้านการทำเหมืองแร่ทองคำ
สิงหาคม-พฤศจิกายน 2558 ดร.สมิทธ ตุงคะสมิทธ ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต รายงานผลการตรวจเลือดของชาวบ้าน 3 จังหวัด คือ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ จำนวน 1,004 คน ว่าพบสารปนเปื้อนในร่างกายเกินมาตรฐาน
ตุลาคม 2558 กลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ (ปปท.) ยื่นหนังสือคัดค้านอีก ขอให้ยุติและเพิกถอนประทานบัตร อาชญาบัตร อาชญาบัตรพิเศษ และให้ระงับการทำเหมืองแร่ทองคำ ต่อสำนักนกยกรัฐมนตรี พร้อมกับเรียกร้องให้ตรวจรักษาสุขภาพคนรอบเหมือง และชดเชยความเสียหายแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม
มี.ค.2559 มีการยืนยันผลสรุปการสุ่มตรวจเลือดของชาวบ้านรอบเหมืองทอง 1,004 คน พบว่า 675 คน มีค่าสารโลหะหนักเกินมาตรฐาน แบ่งเป็นแมงกานีสเกินมาตรฐาน 420 คน หรือร้อยละ 41.83 เพิ่มขึ้นกว่าปี 2557 ที่พบร้อยละ 35.7 ค่าสารหนูเกินค่ามาตรฐาน 196 คน หรือร้อยละ 19.52 ลดลงจากปี 2557 ที่พบเกินค่ามาตรฐานร้อยละ 21.3 และพบมีสารไซยาไนด์เป็นครั้งแรก เกินค่ามาตรฐาน 59 คน หรือร้อยละ 5.88 ขณะที่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 297 คน พบว่า มีแมงกานีสเกินมาตรฐาน 165 คน หรือร้อยละ 55.56 ค่าสารหนูเกินมาตรฐาน 53 คน หรือร้อยละ 17.85 ไซยาไนด์เกินค่ามาตรฐาน 2 คน หรือร้อยละ 0.67
13 ธันวาคม 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยุครัฐบาล คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งที่ 72/2559 เรื่องการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ให้ระงับการอนุญาตและการทำเหมืองแร่ทองคำทั้งหมดในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว สั่งปิดเหมืองทองคำทั่วประเทศไทยร่วมทั้ง จ.พิจิตร ตั้งแต่ 1 มกราคม 60 เพราะมีปัญหากับชาวบ้านในพื้นที่ทำเหมืองมีผลกระทบจากสารโลหะหนัก ปนเปื้อนสารพิษในแหล่งน้ำ และนาข้าว
ซึ่งต่อมาบริษัทคิงเกตส์ฯ ที่เป็นบริษัทแม่ของเหมืองทองอัคราฯ ได้ยื่นเรื่องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เรียกร้องเงินชดใช้จากรัฐบาลไทยราว 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยมีรายงานว่าจะมีการพิจารณาครั้งแรกในวันที่ 18 พฤศจิกายน 62 นี้
อย่างไรก็ตาม แม้เหมืองทองอัคราฯ จะปิดเหมืองตามคำสั่งดังกล่าวมานานร่วม 3 ปี แต่ชาวบ้านรอบๆขอบเหมืองบางส่วน ก็ได้ขออพยพออกจากภูมิลำเนา ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินและขอให้ประกาศพื้นที่การทำเหมืองแร่ทองคำ และโดยรอบเป็นพื้นที่พิบัติภัยขั้นรุนแรงเพื่อเร่งหามาตรการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน
แต่ชุมชนคนรอบเหมืองบางส่วน..ก็ยังคงยืนยันเรียกร้องให้รัฐบาลไทยไฟเขียวเปิดขุมเหมืองต่อเช่นกัน