xs
xsm
sm
md
lg

ปอนด์ต่อปอนด์ ว่าที่ CEO ใหม่ปตท.จะเป็นใคร? วัดใจบอร์ด19ธ.คนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



จบยกสุดท้ายรอรวมคะแนนประกาศผล! เปิดโปรไฟล์ใครเป็นใครใน 6ว่าที่ CEO คนใหม่ปตท. ใครจะได้รับการ"ชูมือ" "ตัวเต็ง-ม้ามืดหรือจะเป็นม้านอกกระแส? หมัดต่อหมัดโอกาส 50:50 เป็นไปได้หมด งานนี้วัดใจบอร์ด 19 ธ.ค.นี้ชี้ขาด

การสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือCEO บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)คนที่ 10 ต่อจากนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ที่จะหมดวาระในวันที่ 12 พ.ค.2563 ได้ผ่านขั้นตอนสำคัญว่าด้วยการแสดงวิสัยทัศน์กันไปแล้วเมื่อวันศุกร์(13ธ.ค) ใครจะฝันหวานต้องอยู่ที่เงื่อนไข"คะแนน" และ "ความเห็น"ของคณะกรรมการซึ่งคาดว่า ภายในวันที 19 ธ.ค.นี้จะได้

**เปิดเงื่อนไขและสเปคว่าที่CEO

ก่อนจะถึงวันนั้นมาดูกันว่า โอกาสและความเป็นไปได้ของผู้สมัครชิงชัยกันครั้งนี้ ซึ่ง ว่ากันว่า ทั้ง 6 คนซึ่งเป็นผู้บริหารปตท.มาถึงตรงนี้ยังก่ำกึ่งสูสีมีโอกาสพอๆกัน และ เป็นครั้งแรกที่มีผู้บริหารหญิงลงสมัครด้วยถึง2คน คือ

1.นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.น้ำมัน และ การค้าปลีก จำกัด(มหาชน)หรือ OR และ

2.นางสาวเพียงพนอ บุญกล่ำ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักกฎหมาย ปตท.

สองผู้บริหารหญิงจะต้องต่อกรกับ ผู้บริหารชายทั้ง 4 คือ

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท.

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทไทยออยล์ จำกัด(มหาชน)

นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน)

และนายชวชิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน) หรือ GPSC

"กระทรวงพลังงาน จะไม่เข้าไปแทรกแซงการพิจารณาคัดเลือก CEO ปตท.คนใหม่ โดยจะปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการสรรหาฯ ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนอย่างเต็มที่"นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

คณะกรรมการสรรหาชุดนี้ซึ่งประกอบด้วย นายดอน วสันตพฤกษ์ เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานหอการค้าไทย นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม พล.อ.ธีรวัฒน์ บถญยะวัฒน์ เสนาธิการทหารบก ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ทั้งหมดเป็นบอร์ดปตท.และ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่องที่การเมืองจะแทรกแซงการสรรหาครั้งนี้นั้นไม่น่าจะกระทำได้ตามที่รมว.พลังงานว่าไว้

ว่ากันว่า การแสดงวิสัยทัศน์ต่อหน้าคณะกรรมการสรรหา ผู้สมัครแต่ละรายต่างนำเสนอแผนงานที่จะบริหารขับเคลื่อน ปตท. อย่างไร ซึ่งค่อนข้างเตรียมข้อมูลกันมาอย่างดี

สำหรับเงื่อนไขการให้คะแนนของคณะกรรมการสรรหา เชื่อว่า จะให้น้ำหนักกับการการขับเคลื่อนปตท.อย่างไรเป็นโจทย์ใหญ่

ต่างทราบกันดีว่า ปตท.จากที่ต้องเผชิญต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว (Disruptive technology) ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจน้ำมัน โรงกลั่น และปิโตรเคมี ที่เป็นฐานธุรกิจสำคัญต่อการเติบโตของ ปตท.ตลอดที่ผ่านมานั่น ปตท.จากนี้ไปจะมีแผนขับเคลื่อนอย่างไร

โจทย์ต่อมา คือ การประสานกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ปตท.จะต้องตอบโจทย์ภาครัฐ การเมืองที่จะขับเคลื่อนพลังงานของประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องสนับสนุนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ เศรษฐกิจฐานราก ในฐานะที่ปตท.เป็นองค์กรที่มีศักยภาพช่วยเหลือสังคมและชุมชนในส่วนนี้ได้ CEO คนใหม่จึงต้องเป็นผู้ที่สามารถประสานงานเชื่อมโยงทุกส่วนข้างต้น นอกจากจะมีความรู้ความสามารถที่จะบริหารองค์กรทำกำไรเพียงอย่างเดียว

ผู้สมัครคนไหนได้คะแนนสูงสุดก็จะได้รับการเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายในที่ประชุมบอร์ด19ธ.ค.นี้

**เปิดโปรไฟล์ 6 ผู้ชิงชัยก่อนจะรู้ผล

ก่อนที่คณะกรรทการจะรวบรวมคะแนนและเสนอชื่อในขั้นตอนสุดท้าย ใครเป็นใคร มีผลงาน ผ่านอะไรมาบ้างมาดูกันให้ชัดๆ

เริ่มจาก"เลดี้เฟิร์ส" ผู้สมัครหญิงทั้งสองคน

1.นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ผู้บริหารหญิงมือฉมังของปตท.เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่อาจมองข้าม สไตล์การทำงานอย่างทุ่มเททำให้เธอก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ที่ดูแลสถานีบริการ และ ธุรกิจอย่าง คาเฟ่อะเมซอน เป็นเครื่องการันตีผลงาน

นางสาวจิราพร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ,ปริญญาโท บัญชีมหาบัณฑิต (การต้นทุน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบริหารการเงิน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งสำเร็จหลักสูตรต่างๆ อาทิ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 12 จากสถาบันวิทยาการพลังงาน ,หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 26/2561 ,หลักสูตร Executive Development Program (EDP) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ,หลักสูตร Director Certification Program Update (DCPU) รุ่น 2/2557, How to Develop a Risk Management Plan (HRP) รุ่น 6/2557, Successful Formulation & Execution of Strategy (SFE) รุ่น 21/2557 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD)

เริ่มทำงานที่ บริษัท ปตท.ในตำแหน่งบัญชี เมื่อปี 2530 ได้รับความไว้วางใจจนก้าวเข้ามาบริหารงานในส่วนงานธุรกิจน้ำมัน ปตท. ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่วางแผนหน่วยธุรกิจน้ำมัน เมื่อปี 2555 และตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก (PTTRM) ในปี 2559 ก่อนจะมาดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท.ในปี 2560-2561

การเข้ามาบริหารบริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก (PTTRM) ทำให้เธอได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการในสถานีบริการน้ำมันอย่างเต็มตัว เนื่องจาก PTTRM เป็นบริษัทที่ดูแลและบริหารสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และร้านค้าสะดวกซื้อจิฟฟี่ จำนวน 149 สาขา พร้อมสถานีบริการเอ็นจีวี (NGV) อีก 1 สาขา รวมถึงธุรกิจทางด้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารจิฟฟี่คิทเช่น บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ หรือ Jiffy Catering รวมถึง ผลิตสินค้าเฮาส์แบรนด์ (House Brand) จิฟฟี่ที่ออกวางจำหน่ายที่สะดวกซื้อจิฟฟี่ทั่วประเทศ กอปรกับประสบการณ์ในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท. ทำให้ต้องเข้ามาดูแลด้านคลังปิโตรเลียมและสถานีเติมน้ำมันอากาศยานที่มีอยู่ รวมถึงธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกของปตท.ที่มีอยู่

เมื่อปตท.มีนโยบายที่จะแยกธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกออกมาเป็นบริษัทย่อย เพื่อนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บอร์ดปตท.จึงได้เสนอชื่อ จิราพร ให้เข้ามารับตำแหน่งเประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2561 เนื่องจากมีความมั่นใจในการทำงานอย่างทุ่มเท และมีวิสัยทัศน์ โดยทีมงานส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่พร้อมแข่งขับและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้เทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้า(EV)ที่นับวันก็มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น

2.นางสาวเพียงพนอ บุญกล่ำ จบการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (น.บ.) (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,ปริญญาโท นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (น.ม.) (กฎหมายธุรกิจ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท Master of Law (LL.M.) Columbia University School of Law, USA รวมทั้งสำเร็จหลักสูตร Director Certificatio

สำหรับ ฝ่ายชาย จำนวน 4 คน ได้แก่

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)(TOP) จบการศึกษาปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นไปศึกษาต่อปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจMBA จาก Pennsylvania State University ประเทศสหรัฐอเมริกา และยังอบรมหลักสูตร
Advance Management Programmeของ INSEAD Business School, Fontainebleau ประเทศฝรั่งเศส และ
Advanced Management Programจาก Harvard Business School ประเทศสหรัฐอเมริกา
เริ่มงานในโรงกลั่นน้ำมันระยอง ในช่วงปี2531-2535 ซึ่งยังเป็นบริษัทในเครือเชลล์ (ประเทศไทย) ก่อนที่จะโลดแล่นในแวดวงวาณิชธนกิจกับสถาบันการเงินหลายแห่งเป็นเวลานาน 12ปี ก่อนที่จะเข้ามาทำงานในตำแหน่งรองกรรมการอำนวยการด้านการเงิน บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)ในปี 2548 เป็นเวลา 8ปี หลังจากนั้นก็ย้ายให้มารับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และในปี 2555 เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรกมารผู้จัดการใหญ่การเงินองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จนถึงปี 2557 ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ในปี 2559 ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) นับเป็นการหวนคืนสู่บริษัทที่เคยทำงานมาครั้งแริ่มแรกเมื่อวันที่ 1 ก.ย.2562

นายวิรัตน์ มีประสบการณ์การทำงานครบแทบครบทุกกลุ่มธุรกิจในเครือฯทั้งโรงกลั่น ,สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (E&P) ก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเคมี รวมทั้งยังมีความเชี่ยวชาญด้านการเงินเป็นอย่างดี
วิรัตน์ เคยสมัครชิงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน)มาก่อนหน้านี้ แต่ต้องพ่ายให้กับนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ซีอีโอคนปัจจุบัน การสมัครคัดเลือกครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) จบการศึกษาปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนศึกษาต่อปริญญาโท พัฒนาการเศรษฐกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รวมทั้งอบรมในหลักสูตรต่างๆอาทิ Director Certification Program (DCP 173/2013) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ,หลักสูตร TLCA Executive Development Program (EDP) รุ่นที่ 1 สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ,Diploma of Petroleum Management, College of Petroleum Studies, Oxford, England (ได้รับทุนการศึกษาจาก British Council) และหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 14 สถาบันพระปกเกล้า ,หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 20 สถาบันวิทยาการตลาดทุน ,NIDA-Wharton Executive Leadership Program 2009, The Wharton School of the University of Pennsylvania, USA ,PTT Executive Leadership, General Electric, GE, New York, USA

โดยในปี 2552 ทำงานตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม เป็นเวลา2 ปีกว่า ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดพาณิชย์และต่างประเทศ ในปี 2554-56 และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดขายปลีก ปตท. ในปี 2556-57 และย้ายไปนั่งตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืนและวิศวกรรมโครงการ ปตท.เมื่อปี 2557-58 ก่อนจะกลับมาดูแลธุรกิจน้ำมันอีกครั้งในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท. เมื่อปี 2558-60

ในเดือนต.ค. ปี 2560 รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย และรักษาการแทนรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย อีกหน้าที่หนึ่ง และปี 2561 -ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย

นายอรรถพล เป็นผู้มีบทบาทสำคัญทำให้ธุรกิจน้ำมัน ปตท.เติบโตก้าวหน้าแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย รวมทั้งส่งเสริมให้สถานีบริการน้ำมันปตท.ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคมชุมชน โดยเป็นศูนย์กลางชุมชนหรือ Living Communityมีการนำสินค้าเกษตรกรรมเข้ามาจำหน่าย และสานต่อนโยบายการแยกธุรกิจน้ำมันออกมาจากปตท.มาเป็น บริษัท ปตท .น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) หรือโออาร์ เพื่อนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้รับการจับตามองว่าเป็นหนึ่งในผู้สมัครที่มีโอกาสได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งซีอีโอ ปตท.
นายนพดล จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อบรมหลักสูตร์ต่างๆ อาทิ หลักสูตร Leadership Development Program III (LDP III), สถาบันพัฒนาผู้นำและการเรียนรู้กลุ่ม ปตท. ,หลักสูตร Breakthrough Program for Senior Executives International Leading Business School (IMD) Lausanne, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
หลักสูตร Assessor Training Program สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ , หลักสูตร Financial Statement for Directors, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ,หลักสูตร Mitsui – HBS Global Management Academy 2015 Japan – USA , G – 20Y Summit 2015 ประเทศฝรั่งเศส ,หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 19 วิทยาลัยการยุติธรรม สถาบันข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมสำนักงานศาลยุติธรรม ,หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 22/2559 สถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (ปริญญาบัตร วปอ.) รุ่นที่ 60 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

นายนพดล เป็นผู้บริหารอีกคนหนึ่งที่มีประสบการณ์ผ่านธุรกิจที่สำคัญของปตท.มาตลอดช่วงเวลา 29ปี ผ่านงานธุรกิจก๊าซธรรมชาติด้านสายงานระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซฯ และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ รวมไปถึงธุรกิจไฟฟ้า ปิโตรเคมีและโรงกลั่นน้ำมัน โดยนายนพดล เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ในปี 2553 ต่อมาในปี 2555 ย้ายมาดูแลธุรกิจก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จนถึงปี 2557 ได้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)(GPSC) เป็นเวลา 1 ปีซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ปตท.เตรียมนำGPSC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

หลังจากนั้นได้โยกย้ายไปรับตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท.ในเดือนตุลาคม 2558 เป็นเวลา 3ปีกว่า และเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2562 ได้รับการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)(GPSC) จบปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (โทรคมนาคม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
มีประสบการณ์การทำงานหลากหลาย ทั้งด้านฝ่ายแผนพัฒนาธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจปิโตรเคมีที่มีส่วนสำคัญในโครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดPBS ที่ปตท.ร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่นตั้งโรงงานในไทยก่อนที่จะไปดูแลธุรกิจเรือธงหลักด้านไฟฟ้าของปตท. ซึ่งการทำงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นายชวลิต รับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการ บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)เมื่อปี 2556 ก่อนที่จะรับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประจำรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารกลยุทธ์ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และปฏิบัติงานในตำแหน่ง President บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัดในปี 2558
หลังจากนั้น ได้รับตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประจำรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปฏิบัติงานในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ – ด้านบริหารศักยภาพองค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)ในปี 2560 ก่อนที่จะก้าวมารั้งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)ในปี 2561

***ตัวเต็ง - ม้ามืด หรือ ม้านอกกระแส วัดใจบอร์ดปตท.

จะเห็นว่า ผู้สมัครว่าที่ CEO คนใหม่ทั้ง 6 คน ความที่เป็นผู้บริหารปตท.อยู่แล้วย่อมรู้จักองค์กรเป็นอย่างดี ความรู้ความสามารถและผลงานที่ผ่านมาก็ถือว่าใกล้เคียงกัน สู้กันสูสี

หากมองในแง่แรงสนับสนุนเสียงเชียร์และกระแสข่าว "ตัวเต็ง" ก็สลับกันขึ้นลง ไม่ว่าจะเป็น นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต หรือ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ด้วยประสบการณ์การทำงานที่ผ่านการทำงานอย่างครอบคลุมและ"ตอบสนอง" ประสานฝ่ายการเมืองได้ดี

แต่"ม้ามืด" ที่ถูกจับตามาเป็นลำดับและว่ากันว่าได้รับการสนับสนุนจากนายชาญศิลป์ CEO ที่กำลังตะอำลาตำแหน่งว่าเป็นคนที่ใช่ของปตท.คือ
นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เพราะ มีประสบการณ์ผ่านธุรกิจหลักใน ปตท.มาครบวงจรเช่นกัน

ทว่า "ม้านอกกระแส" อย่าง จิราพร จาวสวัสดิ์ ก็มองข้ามไม่ได้ หากปตท.จะคิดใหม่ทำใหม่ เปลี่ยนจากผู้บริหารชายสาย"วิศวะ" ที่กุมอำนาจองค์กรมารุ่นต่อรุ่น ลุกขึ้นมาให้ผู้หญิงสายบัญชีบริหารที่เข้าใจ"ความเปลี่ยนแปลง"ของปตท.และ ด้วยสายสัมพันธ์ทางการเมืองก็มีความใกล้ชิดตอบสนองทำงานสอดประสานการเมืองได้ไม่ด้อยไปกว่าตัวเต็ง-ม้ามืดที่ว่ามา

ในขณะที่ผู้บริหารปตท.อีก 2 คน นางสาวเพียงพนอ บุญกล่ำ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกฎหมาย ปตท.และ นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ก็ต้องยอมรับว่า โอกาสยังมี แต่กระแสอาจจะถูกพูดถึงน้อยและด้วยผ่านงานไม่ครอบคลุมเท่า4คนที่ว่ากันเบื้องต้น หรือแม้จะพลาดครั้งนี้หนทางการทำงานในอนาคตใครจะทราบได้

งานนี้นอกจาก "คะแนน" และ"ความเห็น" ต้องวัดใจคณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการ ปตท.ด้วย ว่า สุดท้ายจะ "ชูมือใคร" ตัวเต็ง -ม้ามืด หรือ ม้านอกกระแส

19 ธ.ค.นี้คณะกรรมการ ปตท. ทั่ง14คน โดยมีนายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย เป็นประธานคือ ผู้ที่จะชี้ขาดว่า ใครจะได้เป็น CEO คนใหม่!

CEO ปตท.คนใหม่คนนี้สำคัญมาก จะนำปตท.เข้าสู่ยุคใหม่ได้จริงๆหรือไม่ ...โปรดอย่ากระพริบตา.

////
กำลังโหลดความคิดเห็น