xs
xsm
sm
md
lg

K.S.K Healtec สตาร์ทอัป วัย 20 ปี เริ่มจากศูนย์ระดมทุนจนได้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์

เผยแพร่:

นายธีริทธิ์ ศรีคล้าย (มาร์ค) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ที่ผ่านมา รัฐบาล มีความคาดหวังที่จะเห็นการพัฒนาด้านศักยภาพของเยาวชนไทย ที่จะเป็นอนาคตของประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจสตาร์ทอัป ครั้งนี้ได้มีโอกาส นำเสนอผลงานสตาร์ทอัปของเยาวชน เจ้าของไอเดีย อุปกรณ์เครื่องกายภาพบำบัด ภายใต้แบรนด์ K.S.K Healtec ในวัยเพียง 20 ปี ซึ่งเขาได้ใช้ความสามารถจากการเรียนวิศวะหุ่นยนต์มาต่อยอด สร้างเครื่องมือการแพทย์ใช้ในการทำกายภาพบำบัด สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยในโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ขาดแคลน







ที่มา อุปกรณ์กายภาพบำบัด สานฝันช่วยผู้ป่วยชนบท

นายธีริทธิ์ ศรีคล้าย (มาร์ค) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เล่าว่า ที่มาของแนวคิดในการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วย และผู้สูงอายุในครั้งนี้ เกิดขึ้นมา จากเมื่อสมัยที่ผมเรียน ระดับปวส. ที่วิทยาลัยอาชีวะแห่งหนึ่งที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ลงพื้นที่ เพื่อสำรวจความต้องการของคนในชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลว่าจะเข้าไปช่วยอะไรได้บ้าง และได้พบกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แห่งหนึ่ง มีผู้ป่วยที่มาเข้าคิวรอการทำกายภาพบำบัดจำนวนมาก ในขณะที่เจ้าหน้าที่มีเพียง1- 2 คนเท่านั้น ไม่เพียงพอ และประกอบกับช่วงนั้น ได้เห็นฮีโร่อย่าง “พี่ตูน บอดี้สแลม” ที่วิ่ง เพื่อระดมเงินทุนในการซื้ออุปกรณ์การแพทย์ และ คุณย่า ของผมเองมีอายุมาก ต้องการเครื่องช่วยเดิน เพื่อทำกายภาพบำบัด ครั้งนี้


“ผมก็เลยกลับมาคิดทำอุปกรณ์กายภาพบำบัด ในลักษณะของ ลู่วิ่ง แต่มีความพิเศษ คือเป็นลู่วิ่งที่ให้ผู้ป่วย และผู้สูงอายุมาใช้เดินออกกำลังกายได้ และมีอุปกรณ์ที่ช่วยพยุง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยและไม่รู้สึกเจ็บปวด ระหว่างการใช้งาน และเครื่องนี้ยังสามารถส่งสัญญาณไปยังผู้ดูแลเมื่อ ผู้ป่วยเกิดล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างการใช้งาน ด้วย ซึ่งนักกายบำบัด บอกกับเราว่า ที่ผ่านมาผู้ป่วยไม่ค่อยอยากจะมาออกกำลัง หรือทำกายภาพ เพราะเวลาเขาเดิน หรือ ทำกิจกรรมที่ต้องออกกำลังเขาจะรู้สึกเจ็บปวด แต่พอมีเครื่องนี้ ก็กล้าที่จะออกกกำลัง เพราะจะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด"






อุปกรณ์กายภาพบำบัด ฝืมือคนไทย ราคาถูกกว่านำเข้า 10 เท่า

สำหรับ อุปกรณ์กายภาพบำบัด ผลงานการออกแบบคิดค้นของ “ธีริทธ์” นั้น ปัจจุบันเมืองไทยมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ในราคาที่สูงถึงหลักหลายล้านบาท บางเครื่องที่มีการทำงานแบบ อัตโนมัติที่เป็นแบบโรบอท ราคาหลัก 10 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นแบบกึ่งโรบอท ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับของ “ธีริทธ์” ขายกันในราคาประมาณ 2-3 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์กายภาพบำบัดที่เป็นลักษณะเหมือนหุ่นยนต์ช่วยเดิน เมืองไทย มีการนำเข้ามาใช้ในโรงพยาบาลรัฐ แค่ 2 แห่งที่ โรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาล รามาธิบดี

“ด้วยเหตุนี้เอง “ธีริทธ์” มองว่า ถ้าสามารถผลิตออกมาทดแทน เครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศในราคาสูงได้ น่าจะช่วยผู้ป่วย และผู้สูงอายุในโรงพยาบาลขนาดเล็กในต่างจังหวัดได้ แต่ด้วยทุนที่มีจำกัด ในเบื้องต้นจึงใช้การดัดแปลงจากอุปกรณ์ที่หาได้ และให้มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ซึ่งได้นำความรู้จากการเรียนวิศวะหุ่นยนต์ มาใช้ในการทำงาน ร่วมกับอาจารย์ และได้เพื่อนๆ ได้เครื่องต้นแบบออกมา 1 เครื่อง เมื่อ 3-4 ปีก่อนหน้านี้ ตอนนั้น นำไปโชว์ในงานสิ่งประดิษฐ์ ของอาชีวะที่อยุธยา มีคนสนใจ และซื้อไปบริจาคให้กับโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด เครื่องนั้น ขายไปเพียง 6-7 หมื่นบาท


หลังจากผมเริ่มทำขายได้ เครื่องแรก ผมเริ่มมองเห็นโอกาส ลองทำเครื่องใหม่ขึ้นมา และได้มีโอกาสไปออกในรายการโทรทัศน์ หลายรายการ จนกระทั่ง ผมคิดว่าถ้าทำเป็นธุรกิจ หรือ ทำจริงจัง จะต้องพัฒนาต่อ และคงต้องมีเงินทุน และการหาเงินทุนของสตาร์ทอัป คือ การระดมทุน ผมได้เริ่มวางแผนการพัฒนาตัวต้นแบบตัวใหม่ขึ้นมา โดยการไปดูของจริงว่า ใช้งานอย่างไร และของเราต่างจากของเขาตรงไหน และหลักการทำงานของเครื่องต้องทำอย่างไร และได้ไปขอความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ซึ่งให้ความร่วมมือจากคุณหมอเป็นอย่างดี และท่านมาเป็นที่ปรึกษาให้กับเรามาตลอดจนถึงทุกวัน ที่ได้เครื่องต้นแบบพร้อมใช้งานระดับหนึ่งด้วยเงินทุนที่มีจำกัด แต่ถ้าพัฒนาต่อสมบูรณ์แบบต้องการเงินทุน






สตาร์ทอัปไทยทำได้ แจ้งเกิดด้วยการระดมทุน

ด้วยเหตุนี้ “ธีริทธ์” นำไอเดียนี้ ไปออกล่าเงินรางวัล โดยได้เข้าร่วมประกวดในโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัปหน้าใหม่ของ AIS ร่วม กับ มจพ. ในชื่อ Business brotherhood ได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท และได้รับทุน จาก Depa สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อีก 50,000 บาท พอได้ทุนดังกล่าวมา ทำการพัฒนาต่อ โดยครั้งนี้ ได้อาจารย์จาก มธบ.คอยให้คำปรึกษาและร่วมทำงาน และยังได้ผู้เชียวชาญ ด้านต่างๆ คอยให้คำปรึกษา โดยการทำธุรกิจในครั้งนี้ เราต้องการเงินลงทุน 5 ล้านบาท

โดยเงินทุน 5 ล้านบาท นอกจากใช้ในการผลิตแล้ว ยังต้องนำมาใช้เพื่อดำเนินการขอมาตรฐานด้านความปลอดภัย สำหรับอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย คาดว่าต้องใช้เงินทุนในช่วงนั้น อยู่หลักล้านบาท กว่าจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ ส่วนกลุ่มลูกค้าที่วางไว้ คือ โรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่ง การนำเข้าไปขายโรงพยาบาลรัฐได้ จะต้องได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรม เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ต้องดำเนินการ และถ้าได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมโอกาสที่ขายให้กับโรงพยาบาลชองรัฐทั่วประเทศ ได้ และ อีกกลุ่ม คือ คอนซูเมอร์โปรดักส์ ผู้บริโภคทั่วไป เพราะด้วยราคาที่ไม่สูงมาก และต่อไปประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สุงอายุ สินค้าในลักษณะนี้ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุ ส่วนราคาขาย ที่ตั้งไว้ คือ ประมาณ 4-5 แสนบาท เป็นราคาที่บวกเพิ่มจากต้นทุนประมาณ 300% ถือว่าเป็นราคาที่ถูกมาก เมื่อเทียบกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่ราคาประมาณ 2-3 ล้านบาท


สำหรับแนวทางการระดมทุนในครั้งนี้ “ธีริทธ์” บอกว่า ได้วางไว้ 2 แนวทาง คือ การเข้าไประดมทุน โดยการหาผู้ร่วมลงทุนในรายการ ธุรกิจพิชิตล้าน “Shark Tank Thailand” รายการเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจที่มีต้นแบบลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ และการได้เข้าร่วมในรายการครั้งนี้ ผมไปในฐานะตัวแทนของทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เพราะทางShark Tank Thailand ได้จัดกิจกรรมชื่อว่า ขยายเมล็ดพันธ์ธุรกิจสู่รั้วมหาวิทยาลัย โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอโมเดลและไอเดียธุรกิจเข้ามายังรายการ กิจกรรมนี้มีน้องๆให้ความสนใจร่วมลงสมัครเป็นจำนวนมาก โดยผ่านการคัดเลือกจำนวน 50คน หรือ 18 ทีม โดยท้ายสุดมีเพียง 3 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกจาก Shark Tank Thailand และหนึ่งในนั้น คือ . ทีม K.S.K Healtec เสนอแผนธุรกิจผลิตเครื่องกายภาพบำบัดราคาถูก และอีก 2. ทีม คือ ทีมยันหว่าง ธุรกิจบริการเช่าของเล่นเด็ก และ ทีม Diamond Sky ธุรกิจผลิตเครื่องลดค่าใช้จ่ายการใช้ไฟฟ้า






กิจกรรมนี้ทำให้เราได้รู้ลู่ทางด้านธุรกิจ และเตรียมตัวก่อน Pitching ในรายการได้ดีขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้มีความคิดที่จะส่งผลงานเข้าไปขายไอเดียในรายการนี้ แต่มองว่าการเดินเข้าไปด้วยตนเองจะยาก แต่พอพบโครงการนี้ในมหาวิทยาลัยจึงสมัครเข้าร่วมทันที เพราะมองว่าเป็นโอกาสดีที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราเติบโตได้ในอนาคต”

โดยแผนธุรกิจที่จะนำเสนอShark คือ การผลิตอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งเป็นเครื่องกายภาพบำบัด หรือเครื่องฝึกเดิน โดยปกติในประเทศไทยจะมีอุปกรณ์ที่ฝึกเดินอยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยตอบโจทย์ในการกายภาพเพราะต้องใช้ผู้ดูแลเป็นจำนวนมาก ส่วนอุปกรณ์ที่ทันสมัยซึ่งตอบโจทย์ในไทยยังไม่มีผู้ผลิต การสั่งซื้อต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาค่อนข้างสูง จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ของตนราคาถูกกว่าต่างประเทศถึง 10 เท่า และมีบริการหลังการขาย ทั้งยังใช้วัสดุภายในประเทศอีกด้วย

“ถ้าการออกราย Shark Tank Thailand ในครั้งนี้ ไม่สามารถชนะใจคณะกรรมการและผู้ร่วมลงทุนกับเราได้ มีแผนสำรอง เพราะตอนที่รับทุนจากAIS ครั้งนั้น ทาง AIS สนใจจะร่วมลงทุนกับเรา เพียงแต่เขารอให้สินค้าของเราออกมาสมบูรณ์แบบ และได้มีการทดลองใช้งานได้จริง ก็ยินที่จะออกทุน และร่วมลงทุนไปกับเรา ซึ่งทางAIS เองต้องการที่จะขยายงาน ด้านอื่นๆ กับธุรกิจสตาร์ทอัปอยู่แล้ว และการร่วมกับ AIS ในครั้งนี้ จะได้ระบบซอฟแวร์ ที่AIS พร้อมที่จะซัพพร็อตให้กับเราในครั้งนี้ด้วย

นายธีริทธ์ กล่าวถึงการเป็นสตาร์ทอัป และการต้องมาระดมทุนในครั้งนี้ ว่า การเป็นเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัป ในปัจจุบันไม่ได้ยากเหมือนในอดีต ที่ต้องอาศัยต้นทุนจากครอบครัว แต่วันนี้ เปลี่ยนไปผมสามารถเป็นเข้าของกิจการได้ด้วยวัยเพียง 20 ปี และไม่ต้องรอเก็บสะสมเงิน หรืออาศัยเงินทุนจากครอบครัว เรียกว่าทุกคนก็สามารถเป็นสตาร์ทอัปได้ เพียงแค่คุณมีไอเดีย มีผลิตภัณฑ์พร้อมจะตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และตอบโจทย์ความก้าวหน้าของตนเองและของประเทศ มีผู้ที่เปิดกว้างและพร้อมจะร่วมลงทุนกับกับเรา


“สิ่งสำคัญ คือ ทุกคนต้องมีไอเดีย และพร้อมจะลงทุนทำออกมาให้ดีที่สุด ซึ่งสิ่งที่ผมได้คิดขึ้นมา กว่าจะถึงวันนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมใช้เวลา กว่า 3 -4 ปีกว่าจะถึงวัน ซึ่งมั่นใจว่าสินค้าของเราสามารถตอบโจทย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสังคม ประเทศชาติ และตัวผมเอง ดังนั้น ผมค่อนข้างมั่นใจว่า ถ้าผมทำเครื่องนี้ สำเร็จ และพร้อมจำหน่ายโดยไม่มีอุปสรรค ทำให้ผมก้าวผ่านการเป็นสตาร์ทอัป ขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการตัวจริง ได้ในอนาคต แต่สิ่งที่ผมภูมิใจ คือ การได้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยากไร้ในโรงพยาบาลท้องถิ่น ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง” กล่าวในที่สุด


โทร.09-8251-9133



* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *

SMEs manager


กำลังโหลดความคิดเห็น