xs
xsm
sm
md
lg

3 คำสัญญา AIS ในวัย 30 ปี (Cyber Weekend)

เผยแพร่:

สมชัย เลิศสุทธิวงค์
การออกมาประกาศสร้างความยั่งยืนให้แก่สังคมในยุคที่โลกเข้าสู่ดิจิทัลมากขึ้น ผ่านภารกิจลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆในช่วงก้าวสู่ปีที่ 30 ของเอไอเอสที่จะทำให้คนไทยสามารถลดปริมาณ์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ ถ้านำขยะไปกำจัดอย่างถูกวิธี

นอกเหนือไปจากการประกาศภารกิจลดขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วภายในองค์กรเอไอเอส ก็พร้อมที่จะลงทุนเพิ่มเติมในการปรับเปลี่ยนวัสดุ และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้งานทั้งภายในบริษัทและตามศูนย์บริการลูกค้าให้กลายเป็นวัสดุรักษ์โลกประกอบกับภายในบริษัทที่มีพนักงานกว่า 1.5 หมื่นคน ก็ร่วมรณรงค์ลดการใช้งานขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งด้วยการนำแก้วน้ำและหลอดส่วนตัวมาใช้งาน ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการเป็นบริษัทโทรคมนาคมอันดับ 1 ในไทยที่ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย

แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพราะสิ่งที่ เอไอเอสจะทำหลังจากนี้ยังมีอีกมากมายทั้งการเปิดให้บริการ 5G การเดินหน้าสนับสนุนพันธมิตรและคู่ค้าให้สามารถเติบโตไปด้วยกันมาเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรเติบโตได้ต่อไป

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวถึงภารกิจสำคัญของเอไอเอสที่จะเดินหน้าผลักดันต่อไปหลังจากนี้หรือในช่วงที่องค์กรก้าวเข้าสู่ปีที่ 30ว่าจะแบ่งออกเป็น 3 คำมั่นสัญญาด้วยกัน

อย่างแรกเลยคือ 1.การให้สัญญาว่าสินค้าและบริการที่ออกไปหาลูกค้าจะเข้าไปช่วยตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อเปิดให้บริการ 5G รวมถึงการเดินหน้าผลักดันแพลตฟอร์มสำหรับคนไทยให้เกิดขึ้น

'บริการดิจิทัลจะช่วยให้ลูกค้าสะดวกสบายทั้งการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงาน โดยเอไอเอสจะเดินหน้าทำงานร่วมกับพันธมิตรในการนำเสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆให้แก่ลูกค้าร่วมกันต่อไป'

โดยภายในเดือนตุลาคมนี้เอไอเอสจะเปิดให้ลูกค้าสามารถนำ เอไอเอส พอยท์ เพียง 1 คะแนน ไปแลกรับสิทธิพิเศษต่างๆจากพันธมิตรร้านค้าชั้นนำกว่า 1,918 แบรนด์ ที่มีจำนวนสาขารวม 27,155 ร้านทั่วประเทศ โดยเอไอเอส แจกพอยท์ฟรี ให้ลูกค้า AIS และ AIS Fibre ทุกราย ง่ายๆ เพียงกด *550*30# แล้วโทรออก ตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 2562 ยิ่งอยู่นาน ยิ่งได้รับพอยท์มาก คือใช้บริการน้อยกว่า 10 ปี รับ 30 พอยท์ มากกว่า 10 ปี รับ 60 พอยท์ และมากกว่า 20 ปี รับ 90 พอยท์ (ปกติ ลูกค้าจะได้รับพอยท์ จากการใช้งาน 25 บาท เท่ากับ 1 พอยท์)

2.เมื่อเอไอเอส เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมเบอร์ 1 และบริการดิจิทัลที่แข็งแรงแล้ว สิ่งที่จะเดินต่อไปคือการคำนึงถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยเฉพาะการเปลี่ยนวัสดุที่จะมาใช้งานทั้งในศูนย์บริการและภายในองค์กร

'ในการเปลี่ยนวัสดุต่างๆที่ใช้แน่นอนว่าจะทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่อย่าไปคำนึงถึงค่าใช้จ่าย เพราะแม้ว่าจะต้องมีต้นทุนสูงขึ้น แต่ทำให้สังคมดีขึ้นก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ อย่างการเริ่มเปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ แม้จะมีต้นทุนสูงขึ้น แต่เชื่อว่าคุ้มค่ากว่าต้นทุนทางสังคมที่ต้องเสียไป'

อย่างการติดตั้งสถานีฐาน ถ้าต้องเปลี่ยนมาใช้งานโซล่าเซลล์ แม้ว่าจะมีต้นทุนสูงขึ้นก็ต้องทำ ซึ่งหลังจากนี้ภายในศูนย์บริการต่างๆ ก็จะเริ่มปรับมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่นเดียวกับการสนับสนุนโครงการอย่างถังขยะ E-Waste ที่ติดตั้งระบบนับชิ้นขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบเรียลไทม์ ผ่านระบบ IoT เพื่อคำนวนผลและแสดงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ลดลงผ่านหน้าเว็บไซต์ www.ewastethailand.com

ส่วนในอนาคตเอไอเอสยังมีแผนที่จะไปรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้คนไทยถึงที่บ้าน โดยนำขยะที่ได้ไปส่งให้กับพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในการกำจัดขยะเหล่านี้อย่างถูกวิธี และนำเงินที่ได้รับจากการขายขยะไปบริจาคให้กับมูลนิธิ เพื่อให้สามารถลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 1 แสนชิ้น

สุดท้าย 3. การสร้างความผูกพันธ์กับลูกค้ามากขึ้น เริ่มจากการปรับลุคของ 'อุ่นใจ' ให้มีความเฟรนด์ลี่มากขึ้น ทั้งการเพิ่มขนาดลูกตาให้โตขึ้น มีนิ้ว เพื่อสื่อถึงอริยาบทต่างๆในการใช้งานของผู้บริโภคได้มากขึ้น

'อุ่นใจมีมา 3 เวอร์ชันแล้ว ตั้งแต่สีน้ำเงินผม 3 เส้น เปลี่ยนมาเป็นสีเขียวเหลือผม 2 เส้น ในเวอร์ชันใหม่ก็จะถูกนำเสนอไปพร้อมกับเพลงในแนวทางว่าเอไอเอสไม่คิดจะหยุดสิ่งที่ทำดีอยู่แล้วก็จะทำต่อไป และจะทำให้ดียิ่งขึ้น จะผูกพันธ์กับลูกค้ามากขึ้นเพื่อให้ลูกค้าอุ่นใจมากขึ้น'

จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของ เอไอเอสที่จะมุ่งไปข้างหน้าคือการทำทุกอย่างให้ดีกว่าเดิม เพราะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เอไอเอสได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อวางรากฐานไว้อย่างแข็งแรงแล้ว ทั้งการเปลี่ยนจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมสู่การเป็นดิจิทัล ไลฟ์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์มีการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายทั้ง การรุกเข้าไปในธุรกิจไฟแนนซ์เชียล ประกันภัย รวมถึงการดึงซีเอส ล็อกซอินโฟร์เข้ามาเพื่อให้บริการลูกค้าในฝั่งขององค์กรธุรกิจที่จะกลายเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่จะสร้างรายได้ให้แก่เอไอเอส

ขณะที่ในส่วนของภาคสังคม เอไอเอส มีโครงการอย่างสานรัก คนเก่งหัวใจแกร่งที่เข้าไปสนับสนุนสถาบันครอบครัว ด้วยการเข้าไปช่วยเหลือครอบครัว และให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชน ที่ดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 16 ปีแล้ว รวมถึงแคมเปญล่าสุดคือการเข้าไปร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งพัฒนาทักษะทางดิจิทัล เพื่อให้เยาวชนรู้ทันภัยร้ายที่เกิดขึ้นจากโลกออนไลน์ จากแนวคิด 'ถ้าเราทุกคนคือเครือข่าย' และโครงการอุ่นใจไซเบอร์

ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษ ที่ผ่านมา เอไอเอส ใช้เงินลงทุนในประเทศไทยไปแล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโครงข่ายกว่า 4.68 แสนล้านบาท การแบ่งส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานกว่า 2.58 แสนล้านบาท รวมถึงการประมูลคลื่นความถี่อีก 1.61 แสนล้านบาท และเงินภาษีอีกกว่า 1.66 แสนล้านบาท

กำลังโหลดความคิดเห็น