xs
xsm
sm
md
lg

วราธร เจนจรัสสกุล : “รถสปอร์ตคือซิกเนเจอร์ยามาฮ่า”

เผยแพร่:


สัมภาษณ์ วราธร เจนจรัสสกุล ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาดกลุ่มสินค้ารถสปอร์ต บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด เกี่ยวกับตลาดรถจักรยานยนต์สไตล์สปอร์ตคลาส 150 ซีซี ในไทยปัจจุบันมีสถานการณ์อย่างไร การแข่งขันร้อนระอุขนาดไหน และกลยุทธ์ที่ค่ายส้อมเสียงเตรียมไว้ใช้สำหรับรับมือกับคู่แข่ง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการยึดเบอร์หนึ่งในตลาดกลุ่มนี้ต่อไป มีอะไรที่สามารถเปิดเผยได้บ้าง
วราธร เจนจรัสสกุล ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาดกลุ่มสินค้ารถสปอร์ต ไทยยามาฮ่ามอเตอร์

สถานการณ์โดยรวมตลาดรถสปอร์ต 150 ซีซี เป็นอย่างไร


กล่าวถึงสภาพตลาดรถสปอร์ตทุกประเภทของตลาดโดยรวม ในปีที่ผ่านมาตกลงเล็กน้อย ซึ่งสวนทางกับกลุ่ม 150 ซีซี ที่มีอัตราเติบโตขึ้น โดยปี 2561 ตลาดรถสปอร์ตคลาส 150 ซีซี มีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 93,000 คัน ส่วนยามาฮ่ามียอดขายประมาณ 41,000 คัน ครองส่วนแบ่งอยู่ที่ 41 เปอร์เซ็นต์ เราถือเป็นผู้นำในตลาดกลุ่มนี้


ขณะที่ปี 2562 นี้ เราคาดการณ์ว่าตลาดจะโตประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ หรือมีจำนวนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 95,000 คัน โดยเป้าหมายยามาฮ่าต้องการมียอดขายไม่ต่ำกว่า 45,000 คัน หรือคิดเป็นมาร์เก็ตแชร์ 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในปีถัดไปหรือปี 2563 คาดว่าตลาดกลุ่มนี้จะเติบโตต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณ 100,000 คัน

ทริปทดสอบขับขี่ ยามาฮ่า เอ็มที-15 (MT-15) แบบไนท์ไรด์เป็นครั้งแรก

การไปสู่เป้าหมายที่ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง


สำหรับรถสปอร์ตกับยามาฮ่าเราค่อนข้างมั่นใจ ด้วยภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เวลานึกถึงรถสปอร์ต ยามาฮ่าจะโดดเด่นกว่าใครเพื่อน ในอีกมุมหนึ่ง รถสปอร์ตก็คือซิกเนเจอร์ของยามาฮ่า


ดังนั้น กลยุทธ์ต่างๆ ที่เราใช้ จึงเป็นการดึงคุณสมบัติของรถสปอร์ตออกมา เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ยกตัวอย่างในด้านสมรรถนะ ความแรงเร้าใจ รูปโฉมโฉบเฉี่ยวในสไตล์เรซซิ่ง รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของผู้ขับขี่รถประเภทนี้ เขาต้องมีคาร์แรคเตอร์อย่างไร นี่คือสิ่งที่ยามาฮ่าเน้นย้ำมาโดยตลอด


อย่างไรก็ตามการจะสื่อสารความโดดเด่นของเราไปถึงผู้บริโภค นอกจากยึดตัวรถเป็นหลักเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ ในวันที่ 12 มิถุนายนนี้ เรายังเตรียมการรุกตลาดต่อเนื่องในสเต็ปที่สองเพื่อจุดกระแสความสนใจ และสร้างความต้องการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ส่วนจะเป็นอะไรนั้นอยากให้รอติดตามชม (ให้สัมภาษณ์ก่อนเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ “โต้ง TWOPEE” มาช่วยย้ำภาพคาร์แร็คเตอร์ของ MT-15 เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา)

“โต้ง TWOPEE” มาช่วยย้ำภาพคาร์แร็คเตอร์ของ MT-15
ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาดกลุ่มสินค้ารถสปอร์ต ร่วมทริปไนท์ไรด์กับสื่อมวลชน

ภาวะการแข่งขันปัจจุบันเป็นอย่างไร


ถ้าเป็นกลุ่มสปอร์ตเน็กเก็ต เราเปิดตัวโมเดล เอ็ม-สแลซ(M-Slaz)ในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป ช่วงปลายปี 2558 ซึ่งตอนนั้นเราเป็นเจ้าแรกที่บุกเบิกตลาดกลุ่มนี้และได้รับการตอบรับที่ดีมาก มียอดขายเฉลี่ยประมาณ 4 หมื่นกว่าคันต่อปี แต่ปัจจุบันนี้ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้น คู่แข่งส่งตัวเลือกเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งหลากหลายโมเดล จากช่วงแรก 2-3 ปี ในตลาดมีเพียง 8 ตัวเลือก ปัจจุบันจากที่เราทำการสำรวจ ล่าสุด มีมากถึง 18 ตัวเลือกเลยทีเดียว โดยสรุปแล้วการแข่งขันตอนนี้ถือว่ารุนแรงมาก


ในด้านกิจกรรมมีความแตกต่างกับคู่แข่งอย่างไร


อีกสิ่งหนึ่งที่ยามาฮ่าทำได้ดีคือการจัดกิจกรรมให้กับลูกค้า และถือเป็นจุดแข็งของแบรนด์เรา ซึ่งตัวลูกค้าเองก็ยอมรับ หรือแม้กระทั่งแบรนด์คู่แข่งเองก็ยังยอมรับว่าเราทำได้เข้าถึงและโดนใจ อย่างล่าสุด เราเพิ่งจัดทริปทดสอบขับขี่ ยามาฮ่า เอ็มที-15 (MT-15) แบบไนท์ไรด์เป็นครั้งแรก เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา รวมระยะทางกว่า 300 กิโลมเตร


โดยความพิเศษของทริปนี้คือการที่คณะสื่อมวลชนได้สัมผัสประสบการณ์การขับขี่ในแสงสียามค่ำคืน สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ตัวรถ “Born of Darkness” ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการขับขี่รถสไตล์เน็กเก็ต


นอกจากนี้ในหลายๆ กิจกรรม ยามาฮ่ายังเปิดกว้างต้อนรับลูกค้าที่ใช้รถจักรยานยนต์จากแบรนด์อื่นด้วย อย่างกิจกรรมเทสไรด์ ปาร์ตี้ หรือจัดมิตติ้งให้กลุ่มคลับต่างๆ ผู้ที่มาร่วมงานต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อพวกเขาจริงๆ



มีข่าวว่ายามาฮ่าเตรียมเปิดตัวโมเดลใหม่ เร็วๆ นี้


สำหรับประเด็นนี้ผมคงให้ข้อมูลอะไรมากไม่ได้ เพียงแต่อยากแลกเปลี่ยนแนวทางการทำตลาดให้ฟังว่า ในกลุ่มรถสปอร์ตทั้งหมด ยามาฮ่าแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ สปอร์ตฟูลแฟริ่งในตระกูลอาร์ซีรีย์ สปอร์ตเน็กเก็ตในตระกูลเอ็มที


ขณะเดียวกันจะมีอีกกลุ่มจัดอยู่ในสไตล์คลาสสิกเรียกว่า สปอร์ตเฮอร์ริเทจ(Sport Heritage) ถ้ามองตามแนวทางนี้ ในคลาส 150 ซีซี ปัจจุบันสปอร์ตฟูลแฟริ่งเรามี อาร์15(R15) เน็กเก็ตมี เอ็มที-15 และหากจะมีอีกโมเดลมาเพิ่มก็มีโอกาสความเป็นไปได้.

กำลังโหลดความคิดเห็น